ในปัจจุบัน คนไทยเรานอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธปฏิมากรแล้ว ก็ยังมีที่พึ่งทางใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่นอีกด้วย ดั่งเช่น “พระตรีมูรติ” เทพเจ้าแห่งศาสนาพราหมณ์
วันนี้จึงขอนำเรื่อง “พระตรีมูรติ”(Trimurti) มาเล่าสู่กันฟัง
แต่โบราณมา “ศาสนาฮินดู” (Hinduism) ถือกำเนิดโดย “ชาวอารยัน” เมื่อ 1,000 ปี ก่อนพุทธกาล หรือราว 3,500 กว่าปีมาแล้ว “ชาวฮินดู” ได้นำลัทธิพระเวทมาผสมกับคติพื้นเมืองของ “อินเดียโบราณ” ซึ่งเชื่อกันว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและยกย่อง “พราหมณ์” ในฐานะผู้สามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้ให้เป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ด้วยเหตุนี้ศาสนาฮินดูจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ศาสนาพราหมณ์”
โดยเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพสูงสุดมี 3 องค์ คือ
1. พระพรหม (the god Brahma) นามอื่นที่ใช้กันมาก คือ ธาดา (ผู้ทรงไว้) โลเกศ (จอมโลก) และ ปรเมษฐ์ (เป็นใหญ่ในสวรรค์) ทรงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ได้สร้างสิ่งทั้งปวงขึ้นจากความว่างเปล่า เมื่อทรงหว่านพืชลงในน้ำ ก็บังเกิดไข่ทองขึ้น พอไข่ทองแตกก็ปรากฏองค์พระพรหมอยู่ภายใน มเหสีของพระองค์คือ พระสรัสวดี
พระพรหมทรงมีวรกายสีแดง มีสี่พักตร์ แปดกรรณ (หู) สี่กร (บ้างว่า 8 กร) ถือธารพระกร ช้อน (สำหรับหยอดเนยในไฟ) หม้อน้ำ คัมภีร์ มีประคำคล้องศอ ถือธนู มีหงส์เป็นพาหนะ
พระพรหมทรงกอปรไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทางพระพุทธศาสนาจึงเรียกว่า พรหมวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
3. พระนารายณ์ (the god Siva) นามอื่นๆ คือ วิษณุ พิษณุหริ (ผู้สงวน) อนันตไศยน (นอนบนอนันตนาค) ตำนานกำเนิดของพระนารายณ์ มีว่า หลังจากพระอิศวรทรงบังเกิดขึ้นจากพระเวทพระธรรมแล้ว ก็ทรงสร้างผู้ช่วยขึ้น โดยเอาพระหัตถ์ ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวา ปรากฏเป็นองค์พระนารายณ์ขึ้น และไปประทับอยู่ในเกษียรสมุทร ยามใดที่ทุรยุคพระนารายณ์ก็มีหน้าที่ไปปราบระงับทุกข์ เรียกว่า อวตาร ทรงมีพระมเหสีนามว่า พระลักษมี และมีครุฑเป็นพาหนะ
รูปโฉมของพระนารายณ์ที่จิตรกรนิยมเขียน จะเป็นบุรุษหนุ่ม กายสีนิลแก่ อาภรณ์อย่างกษัตริย์ เสื้อทรงสีเหลือง มีสี่กร ทรงตรีคทา จักร สังข์ บ้างว่าทรงธนู ดอกบัว หรือพระขรรค์
เทพเจ้าทั้งสามองค์ คือ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ รวมเรียกว่า “พระตรีมูรติ” (Trimurti)
ในระหว่างนั้น นางศีลวตี ซึ่งเป็นภรรยาที่ ซื่อสัตย์ต่อสามีอย่างยิ่ง เดินทางผ่านมาทางนั้นโดยให้สามีชื่อ อุครศรวัส (อุค-คระ-ศระ-วัส) ขี่คอ เพื่อไปยังบ้านของหญิงแพศยา ขณะที่ฝนตกทำให้ ทางเดินลำบาก อุครศรวัสได้ด่าทอฤาษีหาว่าเป็นตัวการทำให้ฝนตก ฤาษีโกรธจึงสาปให้ศีรษะของอุครศรวัสแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ศีลวตีได้ยินคำสาป นางมีความซื่อสัตย์ต่อสามีมาก จึงตั้งจิตอธิษฐานไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งคำอธิษฐานก็ได้ผล
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นตามปกติ เทพตรีมูรติมีความยินดีจึงให้นางอนุสู ยาขอพร นางจึงขอพรให้เทพทั้งสามมาเกิดเป็นลูกของนาง เทพตรีมูรติจึงให้ พรตามที่ขอ พระวิษณุจึงเกิดจากนางเป็นพระทัตตาเตรยะ พระศิวะเป็น ทุรวาสัส และพระพรหมเป็นพระจันทร์
พระทัตตาเตรยะ บำเพ็ญตบะตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และได้เป็นฤาษีทัตตาเตรยะ
โดยเหตุนี้คนโบราณจึงนิยมสร้างรูปปั้นหรือรูปหล่อของ “พระตรีมูรติ” เพื่อเป็นการแสดงออกทางรูปธรรมที่ ประชาชนทั่วไปมีต่อสิ่งสูงสุด ทั้งนี้ เชื่อกันว่าหากบูชา “พระตรีมูรติ” ก็จะได้รับความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในชีวิต ความรัก และการงาน เพราะเทพทั้ง 3 เป็นผู้บันดาลความเป็นไปของมวลมนุษย์ในโลก คือ
องค์พรหม-เป็นผู้ให้กำเนิดกำหนดชีวิตแต่ละคนขึ้นมา
องค์วิษณุนารายณ์-เป็นผู้คอยปกป้องดูแลความเป็นไปในโลก
องค์ศิวะ-เป็นผู้กำหนดโชคชะตามนุษย์
นอกจากนี้ยังมีตำนานที่เกี่ยวข้อง กับเทพตรีมูรติอีกว่า แต่เดิมนั้นเทพกับอสูรเป็นอริต่อกัน แต่การต่อสู้กับเหล่าอสูรซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มาก เทวดาทั้งหลายพากันวิตกว่าจะพ่ายแพ้ จึงนำเรื่องไปปรึกษาพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม เทพทั้ง 3 องค์ จึงตกลงกันทำ “พิธีกวนเกษียรสมุทร” เพื่อให้ได้น้ำอมฤตซึ่งใครดื่มจะไม่ตาย และชวนอสูรให้มาร่วมด้วย โดยสัญญาว่า จะให้ดื่มน้ำอมฤต
พิธีกวนเกษียรสมุทรจึงเริ่มขึ้น โดยใช้เขาพระสุเมรุเป็นไม้กวนทะเล เกษียรสมุทร และมีพระยาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือกพันรอบเขาพระสุเมรุ และเหล่าเทวดา-อสูร ต่างก็รวมใจกันเข้าชักสายเชือก โดยเทวดาวางแผนให้พวกอสูรดึงด้านหัวพญานาค พอฉุดนานเข้าพญานาคเกิด ความร้อนและเหน็ดเหนื่อย จึงพ่นพิษโดนเหล่าอสูรจน ร่างกายมีสีดำ ส่วนเหล่าเทวดาดึงหางพญานาคมีฝนโปรยปรายเย็นชุ่มฉ่ำ
ความศรัทธาใน “ตรีมูรติ” ได้สืบทอดผ่าน ยุคผ่านสมัย ทั้งในอินเดีย เขมร พม่า ลาว และไทย ได้รับการเทิดทูนจนกลาย เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการประทานความรัก และความสมหวัง ให้มวลมนุษย์ ผู้โหยหาความรักไปแล้วในปัจจุบัน แม้กระทั่งใน วันวาเลนไทน์ อันเป็นวันแห่ง ความรักของฝรั่ง ก็ยังมีหนุ่มสาวจำนวนมากไป ขอพรจากรูปเคารพ “ตรีมูรติ”
"โอม" (AUM) เป็นสัญญลักษณ์ของพระตรีมูรติ โดยเป็นการรวมอักษร (อักษรเทวนาครี)
1. อะ หมายถึงพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้ดำรงรักษา
2. อุ หมายถึงพระพรหม เทพเจ้าผู้สร้างโลก
3. มะ หมายถึงพระศิวะเทพ เทพเจ้าผู้ทำลาย
เพื่อรองรับกระแสความศรัทธาและ เพิ่มความสะดวก แก่ประชาชน ที่เดินทางมาสักการะ จากบริเวณเดิมลานหน้าศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นบริเวณลานด้านหน้าห้างสรรพสินค้า อิเซตัน ใกล้ ศาลพระพิฆเนศวร