ทางรถไฟสายมรณะ

 

ทำไมสะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก มิใช่เพราะความ อลังการหรืองดงามตระการตาใดๆ หากแต่คำตอบที่แท้จริงคือความโหด ร้ายทารุณที่เกิดขึ้นในอดีตอันขมขื่น ณ ที่แห่งนั้นต่างหากที่เป็นเสน่ห์ อันเร้าใจไม่มีวันจบสิ้นเคย นับเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ที่สำ คัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "เส้นทางสายมรณะ"

 

เป็นสะพานรางรถไฟที่ใช้ข้ามแม่น้ำแควใหญ่  เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก

อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สาม

องค์เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตันบูซายัด ประเทศพม่า มีความยาวจากสถานีหนอง

ปลาดุกถึงสถานีตันบูซายัดรวม 415 กิโลเมตร อยู่ในเขตไทยประมาณ 303.95 กิโล

เมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร สร้างขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้เวลา

ในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.

2486

 

ทางรถไฟสายมรณะ

 

เชลยศึกและกรรมกรกำลังก่อสร้างสะพานและทางรถไฟ

 

       

 เชลยศึกแบกไม้หมอนมาวางเรียงโดยมีทหารญี่ปุ่นยืนคุม

                 

เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า "ทางรถไฟสายมรณะ" ก็เพราะว่าในสมัยสงครามโลก

ครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเพื่อไปยังประเทศพม่าได้มีการ

สร้างทางรถไฟเพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ไปยังพม่าโดยช่วงแรกได้เกณฑ์แรงงาน

กรรมกรชาวเอเชีย ต่อมาได้ใช้แรงงานเชลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรได้แก่ ออสเตร

เลีย อเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ และฮอลันดา จำนวน 61,700 คน มาก่อสร้างทาง

รถไฟสายยุทธศาสตร์เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธ

ปกรณ์ รวมทั้งกำลังพลที่จะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดน

อาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้าง

สะพานขึ้น

 

      ลักษณะของสะพานที่สร้างขึ้นครั้งแรกทำด้วยไม้         โครงสร้างสะพาน

 

กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเป็นสะพานไม้เป็นส่วนใหญ่เพื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็วไม่เสียเวลา

ในการทำงาน โดยในเขตไทยมีจำนวน 359 สะพาน รวมถึงสะพานไม้ข้ามแม่น้ำแคว

ใหญ่ที่บ้านท่ามะขาม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ "สะพานข้ามแม่น้ำแคว"

 

 

 

การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควกองทัพญี่ปุ่นได้ใช้เชลยศึกสร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราว

ระดับต่ำห่างจากสะพานเหล็กในปัจจุบันไปทางใต้ของลำน้ำประมาณ 100 เมตร ต่อมา

กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเป็นสะพานเหล็กถาวรตอม่อคอนกรีตติดตั้งสะพานเหล็ก 11 ช่วง

 

ตลอดเส้นทางการสร้างทางรถไฟนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก จากเส้นทางป่าเขา

ที่รกชัน โรคภัยไข้เจ็บ ขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค ตลอดจนความทารุณของ

สงครามทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ภายหลังสงครามได้สิ้นสุดลง

เมื่อปี พ.ศ. 2489 กองทัพญี่ปุ่นยอมแพ้เนื่องจากถูกกองทัพอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณู

ที่ฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

 

สะพานไม้และสะพานเหล็ก โดนฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศ

 

สะพานข้ามแม่น้ำแคว อนุสรณ์สถานของทางรถไฟสายมรณะ

 

เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของ

สงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย...

 

Credit: http://allknowledges.tripod.com/deadrailway.html
20 ส.ค. 56 เวลา 01:17 9,514 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...