สมาร์ทโฟน-ทีวี เปลี่ยนชีวิตสมถะของชาวภูฏาน

 

 

 

 

 

ภูฏาน ประเทศเล็กๆ แถบหิมาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความสุข

 

        “ภูฏาน” ที่หลายคนเรียกดินแดนแห่งนี้ว่าเป็น “สวรรค์แห่งสุดท้าย”

เมืองแห่งความสุขที่ซ่อนตัวอย่างสงบเงียบอยู่ท่ามกลางขุนเขาหิมาลัย

เป็นสวรรค์ที่นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยอยากมีโอกาสเข้าไปสัมผัสสักครั้งหนึ่งในชีวิต

โลกรู้จักภูฏานในฐานะประเทศเล็กๆ แถบเทือกเขาหิมาลัยที่มีพรมแดนติดกับจีนและอินเดีย

รุ่มรวยด้วยธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง และวัฒนธรรมพุทธวัชรยานที่ยังคงหยั่งรากลึกอยู่ในจิตใจของผู้คน

สายธงมนต์ที่ปลิวสะบัดเป็นภาพที่เห็นกันจนชินตาตามหมู่บ้านและวัดวาอาราม ร

วมถึงภาพเขียน “ลึงค์” ขนาดใหญ่ตามกำแพงบ้าน ซึ่งชาวภูฏานเชื่อว่าจะช่วยขับไล่สิ่งอัปมงคลต่างๆ
       
การปกป้องพระพุทธศาสนาถือเป็นหลักสำคัญในทฤษฎี “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) ของภูฏาน

ซึ่งมุ่งสร้างสมดุลระหว่างความสุขทางจิตใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
   ****    
พระเคนโช เชอริง พระลามะรูปหนึ่งซึ่งเคยบำเพ็ญสมาธิอยู่นานถึง 3 ปี 3 เดือน กับอีก 3 วัน ยอมรับว่า ศรัทธาที่เข้มแข็งของชาวพุทธภูฏานกำลังเปลี่ยนไป หลังจากที่ “โทรทัศน์” เริ่มแพร่หลายเข้ามาในปี 1999 โดยภูฏานถือเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่เปิดรับสื่อชนิดนี้
       
       “ภูฏานก้าวมาถึงยุคเปลี่ยนแปลงแล้ว วัดวาอารามไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนสมัยก่อน

แม้แต่พระอาวุโสก็ไม่ได้รับความเคารพนับถือจากคนในเมืองมากนัก”
 

ธงมนต์ 5 สีปลิวสะบัดตามสายลม เป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปในภูฏาน

 

       การ์มา พุนโช อดีตพระลามะผู้แต่งหนังสือ The History of Bhutan ชี้ว่า การศึกษาแบบสมัยใหม่ที่เริ่มมีในภูฏานเมื่อทศวรรษ 1960

ทำให้โลกทัศน์ของชาวภูฏานเปลี่ยนแปลงไป วัดที่เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาสำหรับเยาวชนก็เสื่อมความนิยมลงเป็นลำดับ
       
       “คนภูฏานกลัวเทพเจ้ากันน้อยลง เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติน้อยลง...

พิธีกรรมที่เคยถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ก็ไม่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่”
       
           
        อำนาจของสถาบันศาสนาลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

หลังจากภูฏานเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย พระสงฆ์, ชี และนักบวชกึ่งฆราวาส

ไม่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการออกเสียง

ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า ศาสนาและการเมืองจะถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
       
       ชาวภูฏานบางคนมองว่า ความเสื่อมของวัดมีต้นเหตุมาจากพระสงฆ์เองที่ฝักใฝ่ “วัตถุนิยม” มากเกินไป

พุทธศาสนาแบบภูฏานอนุญาตให้พระมีทรัพย์สินได้หลายอย่าง “บางรูปมีรถยนต์หรูเป็นของตัวเองด้วยซ้ำ”

แดมเบอร์ เค. นิโรลา จิตแพทย์ในกรุงทิมพู ให้สัมภาษณ์
 

ลามะหนุ่ม 2 รูปกำลังเพลิดเพลินกับน้ำอัดลมจากตะวันตก

 

       วัดภูฏานยังคงมีบทบาทด้านสังคมที่สำคัญยิ่ง คือเป็น “บ้าน” สำหรับเด็กๆหลายพันคนที่พ่อแม่เสียชีวิต หรือไม่สามารถที่จะส่งเสียเลี้ยงดูบุตรหลานได้
       
       ท่านเชอริง เล่าว่า โรงเรียนเดเชนโพดรังที่เขาเป็นอาจารย์ใหญ่ต้องดูแลนักเรียนราว 260 คน เด็กบางคนอายุแค่ 6 ขวบ พอตกค่ำก็ต้องให้เด็กๆนอนเรียงกันบนพื้นห้องเรียนเนื่องจากไม่มีสถานที่ แต่ปัญหาสำคัญที่สุดก็คือค่าใช้จ่าย เพราะทางโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐไม่ถึง 1 ดอลลาร์ต่อวันต่อนักเรียน 1 คน
       
       การ์มา ปันจอร์ เลขานุการคณะกรรมการกิจการศาสนาแห่งภูฏาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีพระลามะที่ขึ้นทะเบียนกับองค์กรกลางราว 7,000 รูป แต่ในความเป็นจริงน่าจะมีมากถึง 9,000-11,000 รูปทั่วประเทศ
       
       “ทางวัดไม่สามารถปฏิเสธเด็กๆ ได้ เพราะวัดเป็นสถาบันที่ต้องให้การศึกษาแก่กลุ่มพลเมืองที่ยากจนที่สุดในภูฏาน”
       
        วัดในภูฏานเองก็เช่นเดียวกับองค์กรศาสนาในประเทศอื่นที่ยากจะหนีพ้น “ข่าวอื้อฉาว” เมื่อไม่นานนี้ นิตยสาร เดอะ ราเวน ของภูฏานได้เปิดโปงกรณีเด็กหนุ่ม 2 คนที่หนีออกจากวัดเพราะถูกพระลามะล่วงละเมิดทางเพศ คณะกรรมการเพื่อเด็กและสตรีแห่งชาติภูฏานยืนยันกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เจ้าหน้าที่ได้แก้ไขปัญหานี้เป็นการภายใน และมีพระลามะถูกจับสึกไป 1 รูป
       
       รายจากจากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เมื่อปีที่แล้ว ก็เอ่ยถึงพฤติกรรมสำเร็จความใคร่โดยไม่มีการสอดใส่ระหว่างพระลามะหนุ่มๆ ในภูฏาน
 

ชาวภูฏานเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงพระลามะ

 

       นพ. นิโรลา เล่าว่า พระลามะจำนวนไม่น้อยป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งบางกรณีก็เกิดจากการไป “มั่วสีกา” นอกวัด
       
       เด็กวัยรุ่นภูฏานบางคนยังป่วยเป็นโรคเครียด เพราะถูกสังคมบีบให้ต้องใช้ชีวิตที่เคร่งครัดเกินไป
       
       “เด็กๆ เหล่านั้นอยากลงไปเที่ยวในเมือง อยากเล่นสมาร์ทโฟน พอไม่ได้รับอนุญาตก็เกิดความเครียด” นพ.นิโรลา กล่าว
       
       เดือนพฤษภาคมปีนี้ คณะกรรมการกิจการศาสนาแห่งภูฏานได้เปิดสำนักงานคุ้มครองเยาวชน เพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพระลามะวัยรุ่น และทำให้พวกเขาได้ตระหนักถึงสิทธิที่ตนเองมี แต่ ปันจอร์ ชี้ว่า “การจัดเวิร์คช็อปเพื่อสร้างความเข้าใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หากขาดการสนับสนุนเชิงโครงสร้าง การละเมิดสิทธิก็จะเกิดขึ้นอีก”

พระลามะบางรูปยอมเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อดึงเงินสนับสนุนเข้าวัด เช่น วัดพาโจดิง ซึ่งต้องใช้เวลาเดินเท้าขึ้นเขาประมาณ 3 ชั่วโมงจากถนนที่ใกล้ที่สุด หันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ข่าวกิจกรรมของวัดและระดมเงินบริจาค โดยมีการอัพเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอทั้งในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก

 พุนโช ชี้ว่า การจะฟื้นฟูองค์กรพระพุทธศาสนาในภูฏานนั้นจำเป็นต้องมีมากกว่าการโฆษณา สิ่งที่จะช่วยได้มากที่สุดคือ ปฏิรูปและยกระดับการศึกษาศาสนาพุทธให้เข้ากับยุคสมัยใหม่มากขึ้น

“นี่เป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับวัดในภูฏาน พวกเขาจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองโดยด่วน แต่คงไม่ยุติธรรมนักที่จะคาดหวังอะไร ในเมื่อวัดเองก็ยังไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้”
 

เด็กหนุ่มชาวภูฏานบางคนเริ่มทิ้งชุด “โก” ซึ่งเป็นชุดประจำชาติ และหันไปรับวัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตก

 

ปล.

ผมเองยังไม่มีโอกาสไปประเทศภูฏาน แต่ก็เสียดายสิ่งดีงามข้างต้นต้องเสื่อมด้วยความเจริญของวัตถุครับ


Credit: http://men.postjung.com/699449.html
18 ส.ค. 56 เวลา 17:28 2,343 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...