สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมว่า ผลศึกษากระทำโดยนักจิตวิทยามหาวิทยาลัยมิชิแกนของสหรัฐ ระบุว่า การเล่นเฟซบุ๊กบ่อยอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าตัวเองเกี่ยวพันหรือข้องเกี่ยวกับผู้คนมากขึ้น แต่จะส่งผลให้พวกเขามีความหดหู่หรือจิตตกมากเท่านั้น
โดยนักจิตวิทยาของสถาบันดังกล่าวระบุว่า เฟซบุ๊กซึ่งมีผู้ใช้กว่าพันล้านคน เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับดัชนีวัดความผาสุกของผู้คน โดยการสำรวจพบว่า ยิ่งผู้คนใช้เฟซบุ๊กเกินกว่าสองอาทิตย์ พวกเขาก็จะยิ่งรู้สึกจิตตกมากขึ้น แต่หากพวกเขาได้ออกไปพบปะกับเพื่อนฝูง หรือพูดคุยกับเพื่อนฝูงผ่านโทรศัพท์ กลับจะทำให้พวกเขามีความสุขมากกว่าการเล่นเฟซบุ๊ก และว่าโดยผิวเผินแล้ว เฟซบุ๊กได้ทำให้เรามีแหล่งบรรลุความต้องการของเราในการเกี่ยวพันกับสังคมหมู่รวมอย่างประเมินค่าไม่ได้ แต่มันกลับทำลาย และไม่ได้ช่วยยกระดับความผาสุกหรือความสุขของผู้ใช้
ทั้งนี้ กลุ่มได้ทำการศึกษาต่อผู้ใหญ่ 80 รายที่ถูกส่งคำถามผ่านข้อความทางเฟซบุ๊กอย่างสุ่มรวมเฉลี่ย 5 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาสองสัปดาห์ โดยผู้ถูกสำรวจพบว่า พวกเขาพบว่ายิ่งพวกเขาใช้เฟซบุ๊กมากๆ ทำให้พวกเขารู้สึกสูญเสียความสุขของตัวเองมากเท่านั้น นอกจากนี้ กลุ่มยังถูกขอให้จัดระดับความพอใจของชีวิตตั้่งแต่ช่วงแรกและช่วงสุดท้ายก่อนการทดสอบ ผลปรากฏว่า ความพอใจของพวกเขาลดลงยิ่งลดลงเมื่อใช้เฟซบุ๊กมากเท่าใดก็ตาม