ชายหนุ่มคนนี้ชื่อ โคลิน มีความหวังจะเป็นคนที่หน้าตาดีขึ้น จึงพยายามทำหลายๆ ทาง
เพื่อให้หล่อขึ้น ทั้งฉีด ร้อยไหม ผ่า ศัลยกรรม อะไรที่ว่าทันสมัย ว่าดี
ที่จะช่วยให้หน้าของเขาดูดีขึ้น โคลินยอม
แต่หลังทำแล้วโคลินก็จะพบข้อบพร่องใหม่
สร้างความไม่พอใจต้องกลับไปทำการลด / เพิ่มอีก
ส่วนโคลินจะทำอะไรไปมากน้อยแค่ไหน
ผมเองก็จำไม่ได้ ตาลายแล้ว เชิญชมเองนะครับ
(วิดีโอที่สร้างด้วยแอ็พ Socialcam บน iPhone เสียงอาจจะไม่เป๊ะนักนะครับ)
นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์อเมริกันบอร์ดสาขาผิวหนัง เปิดเผยว่า
ประมาณการว่าประชากรทั่วไป 1-2% เป็นโรคบีดีดี Body dysmorphic disorder ย่อว่า BDD
โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ หรือโรคฉันไม่สวย
สถิติบีดีดีกลับสูงขึ้นชัดเจนในกลุ่มคนที่มาพบแพทย์ กล่าวคือ คนไข้ที่มาพบศัลยแพทย์ตกแต่ง 2-7%
พบในกลุ่มบุคคลที่สนใจในรูปร่างของตนเองมาก กลุ่มคนที่เข้างานสังคมบ่อย ๆ
หรือกลุ่มคนที่เป็นที่สนใจจากคนอื่น ๆ และสังคม
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงนี้ได้แก่ ดารา นางแบบ ศิลปินดนตรี
วัยรุ่นเริ่มเป็นในวัยรุ่น คืออายุ 16-17 ปี นักเรียนมัธยม และนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือใคร ๆ ก็ตามที่ต้องทำงานหน้ากล้อง
ถ้าโรคนี้เกิดในผู้ใหญ่ อาจแสดงอาการในรูปของความกลัวแก่อย่างรุนแรง
ที่เรียกว่ากลุ่มอาการ ดอเรียน เกรย์ ซินโดรม (Dorian Gray syndrome)
นพ.นพรัตน์ รัตนวราห ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง แนะนำว่า
"ผมมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เมื่อใครหลายคนอ้างว่าเมื่อคนคนหนึ่งได้ทำศัลยกรรมประเภทหนึ่งแล้ว
จะต้องมีการทำศัลยกรรมครั้งต่อๆไปอีก นั่นอาจเป็นเพราะว่า เมื่อได้ทำศัลยกรรมแล้ว ได้ผลออกมาดี
มีความมั่นใจในการเข้าสังคม เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น จึงติดใจและอยากทำให้ดีๆขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามทุกอย่างย่อมมีความพอดี และอย่าได้คาดหวังมากกับการทำศัลยกรรม
หากตัดสินใจที่จะทำศัลยกรรมแล้ว ควรต้องศึกษาให้ละเอียด
และควรต้องยอมรับภาวะแทรกซ้อนบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้
อย่าลืมนะครับว่าทุกสิ่งอย่างนั้นย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย หากเรารุ้จักความพอดีแล้ว
ย่อมจะได้รับความสวยงามที่เป็นธรรมชาติ
และไม่ตกเป็นเหยื่อของบรรดาหมอเถื่อน ที่ทำให้เราต้องทุกข์ทรมานใจไปตลอดชีวิต"