40 ส.ว. ค้านแหลกที่มา ส.ว.รวบอำนาจ-หนุนสภาผัวเมีย

 

เมื่อเวลา 13. 00 น. ใวันที่ 16 ส.ค. ที่รัฐสภา คณะกรรมมาธิการศึกษาตรวจสอบ เรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง  เป็นประธาน ได้จัดเสวนาเรื่อง “แก้รัฐธรรมนูญที่มาส.ว. : แผนเผด็จการรัฐสภาควบคุมองค์กรศาลและองค์กอิสระ" โดยนายคำนูณ  สิทธิสมาน  สว.สรรหา กล่าวว่า   การเร่งพิจารณาร่างฉบับดังกล่าว  เพราะเกรงว่าจะไม่ทันการเพราะ ส.ว.ชุดปัจจุบันจะหมดอายุในต้นเดือน มี.ค.2557 เป็นร่างที่มีการขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำ หากร่างนี้ผ่านก็จะทำให้สภาผัวเมียกลับมา ส่วนผู้ที่เป็นส.ส.หรือรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งสามารถลงสมัคร ส.ว.ได้ทันที โดยไม่ต้องเว้นวรรคอีก ทำให้วุฒิสภามีความใกล้ชิดทางการเมืองสูง รัฐธรรมนูญปี 2550 วุฒิสภามีหน้าที่กลั่นกรองตรวจสอบการทำงานรัฐบาล ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ก็มีสภาเดียวดีกว่า ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะหลอกลวง 3 ประเด็นคือ1 .หลอกลวงว่าเป็นประชาธิปไตย 2. หลอกลวงเป็นสภากลั่นกรอง และ3. หลอกลวงว่ามีองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญลักษณะนี้จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองครอบครองพื้นที่สภาสูง ทำให้ฝ่ายการเมืองส่งคนของตนมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ จึงขอให้ประชาชนจับตาดูต่อไป

น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจะทำให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเพิ่มขึ้น เกรงว่าอำนาจในการตรวจสอบลดลง ตนเห็นว่า ส.ว.ควรมีที่มาแตกต่างจากส.ส. เพราะถ้ามีที่มาเช่นเดียวกันจะทำให้ ส.ว.ถูกรวบอำนาจ และทำให้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่จะนำไปสู่การครอบครองทั้ง 2 สภา จะเป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นคือเป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จภายใต้เสื้อคลุมที่เรียกว่าอำนาจอธิปไตย ดังนั้นหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภา ตนจะเป็นผู้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาเรื่องนี้

พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหากล่าวว่า การออกรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผิดตำรารัฐศาสตร์ รัฐบาลพยายามทำให้ ส.ว.และ ส.ส.มีการเลือกตั้งที่เหมือนกันทั้งที่ตามหลักสากลที่มาของส.ส.และส.ว.ต้องมีที่มาต่างกัน จึงมองว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องสภาผัวเมียนั้นชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นใครที่รับหลักการเรื่องนี้ขอให้เตรียมตัวขึ้นศาลได้เลย 

นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เราจะต้องมาต่อสู้อย่างถึงที่สุด โดยจะยื่นเรื่องนี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงศาลอื่น ๆ ทุกศาลอย่างแน่นอน.

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...