ผมไม่แน่ใจว่าระหว่างคำว่า “เขี้ยว” ที่ต่อมาขยายคุณศัพท์เป็น “เขี้ยวลากดิน” กับคำว่า “เสือสิงห์กระทิงแรด” นั้นคำไหนมาก่อนกัน แต่เดิมนั้นคำว่าเขี้ยวคงจะหมายถึงคนประเภทรอบจัด คนที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มามาก หรือไม่ก็มีลูกเล่นเยอะจนมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ยาก อย่างไรก็ตามมีแต่สัตว์ประเภทเสือสิงห์เท่านั้นแหละครับที่จะมีเขี้ยวเล็บเป็นอาวุธส่วนกระทิงกับแรดนั้นเป็นคำใส่เข้ามาเพื่อความคล้องจอง แต่ไป ๆ มา ๆ ทั้งคำว่าเขี้ยวและเสือสิงห์กระทิงแรดก็มีความหมายหนักไปในทางลบ
ถ้าถามว่าคนไทยแต่เดิมมีความรู้สึกนึกคิดต่อสัตว์ประเภทนี้อย่างไร ผมคิดว่าคนไทยสมัยก่อนนั้นมีความเข้าใจธรรมชาติและอุปนิสัยของสัตว์เป็นอย่างดี และนำคุณลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องเตือนสติคนด้วยกันเอง อย่าง...็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่มีศักดิ์ศรี ดังโคลงโลกนิติ ที่ว่า “ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวงพ้อง อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์ โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง” สำหรับสิงโตนั้นถือกันว่าเป็นเจ้าป่าหรือราชาแห่งสรรพสัตว์มีราชทินนามสีหราชเดโช สำหรับขุนนางที่มีความชอบในการรบทัพจับศึก ฝรั่งเองก็มีนิทานหลายเรื่องที่กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของสิงโต ส่วนกระทิงก็ได้ชื่อในเรื่องความเป็นนักสู้ที่เข้มแข็งทรงพลัง สุดท้ายก็คือแรดซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความบึกบึนทดทาน
เมื่อเสือสิงห์กระทิงแรดมาพบกัน
คงห้ำหันชิงกับความเป็นใหญ่
คงไมแคล้วสัตว์น้อยจะต้องภัย
ทำอย่างไรจึงจะได้รอดพ้น
...็ใหญ่สิงห์ก็ยิ่งใหญ่กว่า
ใครจะมาใหญ่เท่าพี่ช้างได้
ข้าก็แรดงวงแหลมเจ้าเห็นไหม
จะมีใครกล้าสู้ต่อกรเรา
เรากระทิงเขาใหญ่เจ้ากลัวไหม
จงหลีกไปอย่าขวางทางของข้า
พูดไปแล้วก็แสนหนักในอุรา
ก็ตัวข้าผู้น้อยต้องคอยหนี
ต่างคนต่างยิ่งใหญ่ข้าน้อยกลัว
ใจระรัวสั่นสั่นพล่านพล่านหนี
ใจจะขาดน่ากลัวสิ้นชีวี
จะหลีกหนีให้พ้นไปให้ไกล