ย้อนอดีต บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ
ภาพภ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 : ซากปรักหักพังของวัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้ต้องโทษหนักถูกจำตรวน สมัยรัชกาลที่ 5
นายวอลท์ ดิสนีย์ ถวายธงมิคกี้เม้าส์ แด่เจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ฯ และเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม 2503
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา หลังจากการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับการเฉลิมพระนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2477 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 8 พรรษา และยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
อนุสาวรีย์เจ้าพระยานคร (น้อย) ราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ณ นคร ตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าตากสินมหาราช
มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านคร (หนู) ทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาว (ปราง) มาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านคร จึงนำธิดา(ปราง)คนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย
ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านคร (หนู) เสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิต ก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านคร (หนู) ให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านคร (หนู) ไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธน ตรัสว่า “ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ” เมื่อท้าวนาง พาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์ อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (ปริก)
ซึ่งทารกที่ติดครรภ์เจ้าจอมปรางมา เมื่อคลอดออกมาแล้ว เป็นชายชื่อน้อยก็คือพระโอรส ของพระเจ้าตากสิน ต่อมาได้ขึ้นเป็นเจ้าพระยานคร (น้อย) ต่อจากเจ้าพระยานคร(พัฒน์) ซึ่งเจ้าพระยานคร(น้อย) ผู้นี้นี่เองที่เป็นต้นสายตระกูล ณ นคร