มีหลายบทความเกี่ยวกับกาแฟขี้ชะมด คาดว่าคงเคยอ่านมาบ้างแล้วนะครับ
แต่ครั้งนี้เกิดคำถามว่ามันคุ้มค่ากันไหมที่เราจ่ายเงินไป 500 - 1,500 บาทกับกาแฟแก้วนี้
อันดับแรก คือ ต้องปลูกกาแฟพันธ์อาราบิก้า ซึ่งถือว่ามีความเข้มข้น หอมหวลเย้ายวนประสาทสัมผัสที่สุด
อันดับสองคือ วิธีการเลี้ยง มีวิธีเลี้ยงกันอยู่ 3 แบบเพื่อผลิตเป็นแบบ
1. เลี้ยงกันแบบตามเวรตามกรรม กล่าวคือเลี้ยงไว้ในบริเวณไร่กาแฟ หรือผูกไว้กับต้นกาแฟ ตัวชะมดเช็ดคล้ายกับแมว มันกินเกือบทุกอย่าง หนอน ไส้เดือน แมลงต่างๆ ไข่นก หรือลูกนก รวมทั้งผลไม้สุกทุกชนิดด้วย (ยกเว้นทุเรียน คิดเอาเอง) ผลกาแฟสุกจะหวานมาก มันก็จะเลือกผลกาแฟที่สุกที่สุด นั่นก็คือมันจะเลือกแต่ผลกาแฟสุกที่มีคุณภาพเท่านั้น....ถ้ามันเลือกได้ นั้นหมายความว่า ถ้าคุณกิน กาแฟขี้ชมดเช็ดจากค่ายที่เลี้ยงแบบนี้ กาแฟอาจอร่อยได้ไม่ซ้ำกันก็ได้ คือเปลี่ยนไปตามปริมาณขี้ของชมดเช็ดว่าปริมาณอะไรมีมากกว่ากัน
2. เลี้ยงแบบมีตารางเวลา การเลี้ยง กล่าวคือจัดเวลาให้มันได้อยู่รวมกันกินอาหารของมันครบหมู่อาหาร (เห็นคนเลี้ยงบอกว่าให้อาหารแมว ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่) ซึ่งต่างประเทศเขาทำกันแบบนี้ เมื่อถึงเวลาถ่ายท้องแล้วจะจับแยกใส่กลงไม่ เมตร คูณ สี่ โดยประมาณนี้ แล้วเอาแต่ผลกาแฟอาราบิก้าสุกให้กินอย่างเดียว พอถ่ายออกมาก็จะได้กาแฟขี้ชมดเช็ดไง..
3. การเลี้ยงแบบอุตสหกรรม ตัวชมดเช็ดมักซวย กล่าวคือเอาตัวชมดเช็ดมาทำเป็นเครื่องผลิต ขี้ไปเลย ทางเหนือของเราปลูกกาแฟอาราบิก้ากันมาก ตัวชะมดเช็ดหาได้มากจากทางแถบเหนือ ปรกติโดนพวกแม้วจับย่างไฟกิน ตอนนี้ตัวชะมดเช็ดมันมีค่าหัวแล้ว จับได้ขายได้หมดราคาดีด้วยแต่เท่าที่เห็นมาจับมาขังไว้ประมาณ 6-10 ตัวแล้วให้กินแต่ผลกาแฟสุกเท่านั้น อาหารอื่นๆ ไม่รู้ว่าให้หรือปล่าว แต่เท่าที่เห็น กาแฟขี้ชมดเช็ดผลิตไม่ทันกันความต้องการ จึงให้มันซดแต่ ผลกาแฟสุกอย่างเดียว ตายก็โยนข้างๆ ลงที่เลี้ยงนั่นเอง มันกินแต่ผลกาแฟสุก ไม่ให้อาหารเสริมอื่นๆ เลย
อันดับสาม กรรมวิธีสกัดกาแฟ โกปิ ลูวะ กาแฟขี้ชะมด ซึ่งขออ้างเฉพาะที่อินโดนีเซียเท่านั้นนะครับ
ซึ่งเกิดจากผลกาแฟที่ถูกตัวลูวัค หรือชะมดพันธุ์ Paradoxurus ที่อาศัยอยู่ในประเทอินโดนีเซีย กินเข้าไป และขับถ่ายมูลออกมา
นายวายัน ดีร่า และนางซารี อาร์ตินี สองสามีภรรยา เลี้ยงชะมดไว้ 9 ตัว เป็นเวลากว่า 2 ปี
ผลกาแฟอยู่ในท้องของตัวชะมดจะผสมกับเอมไซม์และสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการย่อย ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ตัวชะมดจะถ่ายมูลซึ่งเหลือแต่เพียงเมล็ดกาแฟออกมา ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเก็บมูลของมัน
เมล็ดกาแฟที่เก็บได้ซึ่งมีมูลของตัวชะมดติดออกมาด้วยเล็กน้อย จะถูกนำมาตากแห้ง ก่อนที่จะนำไปล้างให้สะอาด และนำไปคั่วเพียงเล็กน้อย
หลังจากที่มันเริ่มได้รับความนิยม แต่ละครัวเรือนก็จะผลิตอุปกรณ์ขึ้นเองในครัวเรือน และผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
นายวายันกำลังตรวจสอบเมล็ดกาแฟ"โกปิ ลูวะ" ซึ่งผ่านการคั่วเพียงเล็กน้อย ต่างจากกาแฟทั่วไปที่ต้องทำการคั่วเป็นเวลานาน เพื่อให้ได้สีน้ำตาลอ่อนหรือเข้มกว่าเพียงเล็กน้อย เพื่อคงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์
กาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วจะถูกนำมาผึ่งไว้บนพื้น
เม็ดกาแฟกำลังผ่านเครื่องบด
หลังจากนั้นจึงนำมาบรรจุในห่อ