ย้อนอดีต บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ

 

 

 

ย้อนอดีต บอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ

 

 

ภาพ : ธรรมเนียมอาเซียน 
ภาพโดย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 
คำบรรยายภาพ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เดินทางมาประชุมในกรุงเทพมหานคร เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 การประชุมคณะรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สองนี้ นำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศสมาชิกให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ด้วยในปีเดียวกันนี้เอง ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน (The Agreement on ASEAN Preferential Trading Arrangements: ASEAN PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษต่างๆ แก่ชาติสมาชิกโดยเฉพาะการลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้า ความตกลงในครั้งนี้ทำให้เกิดโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆตามมาอีกมากมาย อย่างไรก็ตาม แม้ระยะแรกโครงการเหล่านี้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน อันนำไปสู่การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในปัจจุบัน และการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (ASEAN Economic Community: AEC) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ — หทัยภัทร นวปราโมทย์

 

ภาพ : อวกาศบนพื้นโลก 
ภาพโดย : - 
คำบรรยายภาพ : นักบินอวกาศบนภาคพื้นดินที่เห็นในภาพถ่ายจากทศวรรษ 1960 ภาพนี้ กำลังตรวจสอบระบบควบคุมต่างๆ ภายในห้องนักบินของเครื่องจำลองการบินในอวกาศโดยมีคนขับที่เมืองแดลลัส รัฐเทกซัสยานโคจรรอบจำลองแขวนอยู่บนวงแหวนซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิก เพื่อให้พิสัยในการเคลื่อนที่คล้ายคลึงกับยานอวกาศของจริง “ตั้งแต่เชิดหัวขึ้นเต็มที่ไปจนถึงดิ่งลงแบบหัวปักพื้น” คือข้อความในรายงานฉบับหนึ่งที่อธิบายเกี่ยวกับยานลำนี้ ขณะที่จอภาพทรงกลมที่อยู่รอบๆจะฉายภาพโลกหรือดวงจันทร์ และเพื่อเพิ่มประสบการณ์เหมือนจริงมากยิ่งขึ้น เสียงเครื่องยนต์จรวดที่บันทึกไว้จึงแผดสนั่นออกมาจากลำโพง พร้อมๆกับที่ฐานของยานและห้องนั่งนักบินเกิดการสั่นสะเทือน —มาร์กาเร็ต จี. แซ็กโควิตซ์

 

ภาพ : สินในนํ้า 
ภาพโดย : อาร์เทอร์ แพสเตอร์, NATIONAL GEOGRAPHIC STOCK 
คำบรรยายภาพ : "แถบชายฝั่งตอนเหนือ [ของโปรตุเกส] ในชุมชนเล็ก ๆ บางแห่ง เช่น อาปูเลียและเวร์-โอ-มาร์ ชาวบ้านสาละวนกับการเก็บสาหร่ายซาร์แกสซัมและสาหร่ายทะเลอีกหลายชนิดโดยใช้สวิงขนาดใหญ่ การเก็บเกี่ยวนี้ทำกันใกล้ชายฝั่ง เพราะคลื่นลมแรงพัดพาสาหร่ายทะเลปริมาณมหาศาลเข้ามา" คือคำบรรยายภาพถ่ายจากทศวรรษ 1950 ภาพนี้ทุกวันนี้ สาหร่ายทะเลส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อทำปุ๋ยอย่างสาหร่ายทะเลจากโปรตุเกสในภาพ การผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเทศแถบเอเชียโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น ในยุโรป สาหร่ายทะเลส่วนใหญ่เก็บด้วยเครื่องจักร แต่บางส่วนยังเก็บด้วยมือโดยใช้อุปกรณ์อย่างมีด คราด เคียว และตาข่าย โปรตุเกสเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในยุโรปที่ใช้วิธีดำาน้ำเก็บสาหร่ายทะเล —จอห์นนา ริซโซ

 

ภาพ : นักสตัฟฟ์มือทอง 
ภาพโดย : บี. แอนโทนี สจวร์ต, NATIONAL GEOGRAPHIC STOCK 
คำบรรยายภาพ : ผลงานชิ้นแรก ๆ ที่วิลเลียม แอล. บราวน์ ได้รับมอบหมายในฐานะเจ้าหน้าที่สตัฟฟ์สัตว์ (taxidermist) คือ การเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ที่ประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลต์นำกลับมาจากการเดินทางสำารวจแอฟริกาให้สถาบันสมิทโซเนียนเมื่อปี 1909 ตลอดชีวิตการทำงาน 51 ปีของเขาที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. บราวน์ทำางานกับซากสัตว์ เกือบทุกชนิดเท่าที่เราพอจะนึกออก รวมถึงหมาป่าที่เห็นในภาพซึ่งถ่ายเมื่อปี 1947 ภาพนี้ ผลงานบางส่วนของบราวน์ยังคงจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เขาเขียนถึงงานชิ้นโปรดซึ่งเป็นฮิปโปโปเตมัสที่ได้รับการฟอกหนังจนอ่อนนุ่มว่า “ตอนนั้นผมอายุสี่สิบและกำาลังมือขึ้นที่สุดในฐานะเจ้าหน้าที่สตัฟฟ์สัตว์ ผมเป็นคนแรกที่สตัฟฟ์ฮิปโปโปเตมัสได้สำเร็จ และบางทีอาจเป็นคนสุดท้ายด้วย” พอล ไรเมอร์ เจ้าหน้าที่สตัฟฟ์สัตว์คนล่าสุดของพิพิธภัณฑ์ บอกว่า นี่เป็นตัวอย่างสัตว์ที่ได้รับการเก็บรักษาดีที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็น —จอห์นนา ริซโซ

 

ภาพ : ตามรอยประพาสอุทยาน 
ภาพโดย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 
คำบรรยายภาพ : สวนสาธารณะบัวเดอบูลอญ (Bois de Boulogne) ในกรุงปารีสจัดเป็นสวนสาธารณะที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยขนาดพื้นที่ 8.46 ตารางกิโลเมตร สวนสาธารณะแห่งนี้จึงมีขนาดใหญ่กว่าสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์กแห่งมหานคร นิวยอร์กเกือบ 2.5 เท่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนประเทศฝรั่งเศส เพื่อกระชับ สัมพันธไมตรีระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1897 (ตรงกับ พ.ศ. 2440) พระองค์ได้เสด็จประพาสสวนสาธารณะแห่งนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน ในครั้งนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (แถวที่สอง พระองค์ที่สี่จากซ้าย) ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ได้ตามเสด็จด้วย นับตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่สิบแปดเป็นต้นมา ที่ดินบริเวณนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนหลายต่อหลายครั้ง จากป่าที่เต็มไปด้วยต้นโอ๊กโบราณ กลายเป็นพื้นที่สำหรับสร้างวัดวาอาราม เขตล่าสัตว์ป่า และแหล่งซ่องสุมโจร กระทั่งแปรสภาพเป็นสวนสาธารณะในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่สาม ราวปี ค.ศ. 1852 ปัจจุบัน สวนสาธารณะบัวเดอบูลอญเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำาหรับสาธารณชนในช่วงกลางวัน และกลายเป็นแหล่งขายบริการทางเพศยามค่ำคืนอันเลื่องชื่อ —หทัยภัทร นวปราโมทย์

 

ภาพ : อสรพิษสิ้นลาย 
ภาพโดย : NATIONAL GEOGRAPHIC STOCK 
คำบรรยายภาพ : "งูพิษกลายเป็นศพไปแล้ว ส่วนเด็กชายจะรอดชีวิต" คือคำบรรยาย ภาพนี้ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนตุลาคม ปี 1943 “เมืองคะซอลี ในเทือกเขาหิมาลัยเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเซรุ่มต้านพิษงูและโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากทราบคู่กรณีว่าเป็นงูแมวเซา [ผู้เป็นพ่อถืองูที่ตายแล้วอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ] เด็กหนุ่มโชคร้ายคนนี้จึงมีโอกาสรอดชีวิตถึงเก้าต่อหนึ่ง” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สถาบันแห่งนี้ได้รับมอบหมายภารกิจในการผลิตยาแก้พิษสารพัดชนิดปริมาณมากเพื่อให้เพียงพอกับการใช้งานสำหรับทั้งทหารและพลเรือน งูแมวเซาซึ่งพบมากในหลายพื้นที่ของทวีปเอเชียจัดเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่ง —จอห์นนา ริซโซ

 

ภาพ : รำลึก 135 ปี สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ 
ภาพโดย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 
คำบรรยายภาพ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูจิเมื่อวันที่ 27 มิถุายน พ.ศ. 2421 และทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429 หลังจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกตำแหน่ง "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" หรือ "อุปราชวังหน้า" หลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในงานต่าง ๆ อยู่เสมอ แต่แล้วเพียง 8 ปีให้หลัง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ทรงพระประชวรและสวรรคตเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 ขณะมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา — หทัยภัทร นวปราโมทย์

Credit: National Geographic Thailand
13 ส.ค. 56 เวลา 15:09 3,162 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...