ฟิล่า บราซิลเลียโร่หนึ่งในสุนัขสายพันธุ์ที่ "ดุ" และ "อันตราย" ที่สุดในโลก
ฟิล่า บราซิลเลียโร่
ฟิล่า คือสุนัขที่จัดอยู่ในกลุ่ม Molossoid breed ขนาดใหญ่ มีหนังย่นมาก และมีความเข้มแข็ง มั่นใจในตัวเองสูง ในโปรตุเกส คำว่า "ฟิล่า" หมายถึง การจับแล้วยึดไว้อย่างมั่นคง นั่นหมายถึง ถ้าฟิล่าได้กดอะไรก็ตามไว้ในปากแล้ว โอกาสที่มันจะปล่อยนั้นยากมาก คือ กัดไม่ปล่อยนั่นเอง
ต้นกำเนิดฟิล่า
ในอดีตฟิล่าไม่ใช่สุนัขสำหรับคนทั่วไป แต่ฟิล่าถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นสุนัขใช้งานขนาดใหญ่และแข็งแรง เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกฝรั่งนักล่าอาณานิคมในประเทศบราซิล ฟิล่ากลุ่มแรกที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ปีค.ศ.1671 ยังไม่มีใครรู้ต้นตอที่แท้จริงของฟิล่าเหล่านี้ อย่างไรก็ตามผู้คนส่วนใหญ่มีการตกลงกันว่า สุนัขสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ เป็นผลมาจากการผสม3สายพันธุ์พื้นฐานได้แก่ โอลด์อิงลิช บลูด๊อก(Ancient Bulldog) มาสทีฟ(Mastifsfs) แ ละ บลัดฮาวน์(Bloodhounds)
โอลด์อิงลิช บลูด๊อก(Ancient Bulldog) หรือ เอ็นเจลเซ่น ด๊อกเก้น(Engelsen Doggen) ถูกนำเข้ามาประเทศบราซิลในช่วงการรุกรานของชาวดัตช์ประมาณปีค.ศ.1630 พวกมันได้ถ่ายทอดลักษณะนิสัยที่ก้าวร้าว ดื้อดึง และหวงแหนอาณาเขตไปสู่ฟิล่า ในด้านลักษณะรูปร่างที่พวกมันได้ถ่ายทอดให้ฟิล่าคือ ลักษณะหูที่เรียกว่า "rose ear" สีขน และลักษณะตะโพกสูงกว่าหลัง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดของฟิล่า
ในอดีตมาสทีฟ(Mastiffs) ถูกใช้ในการสงครามและกีฬาล่าสัตว์ สำหรับอิทธิพลของมาสทีฟที่ถ่ายทอดไปยังฟิล่าอย่างเห็นได้ชัดคือ รูปร่างที่ใหญ่โตมั่นคง ศีรษะ. ใหญ่ คอสั้น และตะโพกโค้ง มาสทีฟและฟิล่ามีสีขนพื้นฐานเหมือนกัน และหน้าดำด้วย
บลัดฮาวน์(Bloodhounds)ถูกนำเข้ าประเทศบราซิลในปีค.ศ.1800 เนื่องจากมันมีชื่อเสียงในด้านการดมกลิ่น ติดตามร่องรอยได้ดีเยี่ยม มันได้ถ่ายทอดความสามารถในการดมกลิ่น หนังย่นมาก ริมฝีปากย้อย และเหนียงคอห้อยให้กับฟิล่า อีกทั้งเสียงร้องของบลัดฮาวน์ก็ถ่ายทอดไปยังฟิล่าด้วย
ยังมีทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวกับต้นกำเนิดฟิล่าได้บันทึกไว้ว่า นักล่าอาณานิคมชาวโปรตุเกสได้นำสุนัขเฝ้าฝูงสัตว์พันธุ์ฟิล่า เทอไซเร็น(Fila Terceirense, ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว) จากเกาะเอโซเรส( Azores Islands) เข้ามายังประเทศบราซิล มันได้ถ่ายทอดความสามารถในการเฝ้าฝูงสัตว์และลักษณะอื่นๆไปสู่ฟิล่า บราซิลเลียโร่ โดยเฉพาะเรื่องหางบิดทำให้ฟิล่าเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะนี้ทำให้บางครั้งฟิล่าถูกเรียกว่า " เจ้าหางงอ(crooked tail or broken tail) ในประเทศบราซิล
ประมาณปีค.ศ.1930 สุนัขพันธุ์เกรทเดนกำลังเป็นที่นิยมมากในประเทศบราซิล แม้ว่าฟิล่าเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วในเวลานั้น แต่ผู้เพาะพันธุ์บางคนพยายามผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเกรทเดนกับฟิล่า การพยายามผสมข้ามสายพันธุ์นี้เป็นการทำลายและทำให้ลักษณะนิสัยของฟิล่าผิดเพ ี้ยนไป
ในปีค.ศ.1968 ดร.เออร์วิน รัทแซม(Dr.Erwin Rathsam) ดร.เปาโล ซานโตส ครูซ(Dr.Paulo Santos Cruz) แ ละ ดร.โจ เอ็บเนอร์(Dr.Joao Ebner) ไ ด้ร่วมมือกันเขียนลักษณะมาตรฐานสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ขึ้นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ และเป็นครั้งแรกที่มีฟิล่าขึ้นประกวดในบราซิลและใช้มาตรฐานนี้ในการตัดสิน แต่ ณ เวลานั้นยังมีฟิล่าอีกมากที่ไม่มีใบพันธุ์ประวัติและถูกใช้งานอยู่ในฟาร์มปศ ุสัตว์เท่านั้น
องค์กร The Federation cynologique Internationale(FCI) ได้ขึ้นทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่อย่างเป็นทางการในปีค.ศ.1968 มาตราฐานสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศแถบยุโรปได้แก่ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และอิตาลี มาตราฐานนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ และแล้วในปีค.ศ.1976 ได้จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับฟิล่าขึ้นเป็นครั้งแรกในบราซิล และได้มีการพิจารณามาตรฐานสายพันธุ์กันใหม่ในการประชุมนี้ ประชากรฟิล่าค่อยขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งปีค.ศ.1982 ฟิล่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศบราซิลและมีฟิล่าที่ขึ้นทะเบียนอย่ างเป็นทางการมากถึง8,087 ตัว
ในปีค.ศ.1983 ได้มีการจัดตั้งสภาแห่งชาติขึ้นในเมืองริโอ เดอ จานีโร( Rio de Janeiro) มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการฝึกฟิล่าและพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานสายพันธุ์ ฟิล่า ทำให้ได้ข้อมูลมาตรฐานเพิ่มมากขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ สำหรับมาตรฐานใหม่นี้ได้กลายเป็นมาตรฐานสากลในวันที่1 มกราคม ค.ศ.1994 และใช้มาจนถึงทุกวันนี้วัตถุประสงค์แรกเริ่มในการเพาะพันธุ์ฟิล่า
เหล่านักล่าอาณานิคมในช่วงแรกต้องการสุนัขเพื่อใช้งานหนักในฟาร์ม ใช้อารักขา ใช้ล่าสัตว์ และเป็นเพื่อนที่จงรักภักดี ลักษณะทั้งหมดนี้สามารถพบได้ในสุนัขพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่ในยุคอาณานิคมของประเทศบราซิลมีการทำไร่อ้อยกันอย่างกว้างขวาง ได้มีการนำพวกทาสชาวแอฟริกันเข้ามาบราซิลประมาณ30,000ค นต่อปี เพื่อเป็นคนงานในไร่อ้อย ฟิล่าถูกใช้เป็นยามเฝ้าทาสเหล่านี้ไม่ให้หลบหนี ถ้าทาสคนใดหลบหนี ฟิล่าจะใช้ในการสะกดรอยตามและจับตัวไว้ คำว่า" ฟิล่า(fila)" เป็นภาษาโปรตุเกสโบราณซึ่งแ ปลว่าการจับกุม ยุคทาสในบราซิลสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1888 แต่ฟิล่ายังคงทำหน้าที่อื่นต่อไป
ฟิล่ายุคแรกเป็นสุนัขล่าสัตว์ ฟิล่าถูกใช้ในการล่าสัตว์ใหญ่มานานหลายศตวรรษเช่น หมีป่าและเสือดาว เป็นต้น ฟิล่ามีปัญหาเล็กน้อยเมื่ออยู่ในป่าทึบของบราซิลเนื่องจากถูกรบกวนจากพวกยุง และแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่า ฟิล่านำความชำนาญในการล่าสัตว์มาใช้ในทุ่งกว้าง ปกป้องฝูงปศุสัตว์และอาณาเขตของเจ้าของ
ในทุ่งกว้างเหล่านี้มีฟิล่าเป็นจำนวนมาก ไม่เพียงแต่ใช้เฝ้าฝูงปศุสัตว์เท่านั้น แต่ยังใช้ควบคุมฝูงสัตว์อีกด้วย สุนัขที่ซื่อสัตย์และกำลังมากมีความจำเป็นที่จะใช้ในการควบคุมฝูงปศุสัตว์ใน พื้นที่เปิดของบราซิล ฟิล่ามีสัญชาตญาณในการต้อนฝูงสัตว์โดยธรรมชาติมากเท่าๆกับความสามารถในการเป ็นสุนัขอารักขา
ตามธรรมชาติแล้วฟิล่าไม่ชอบคนแปลกหน้า ควบคู่ไปกับความเลื่องลือในการจงรักภักดีต่อเจ้าของ ทำให้มันเป็นสุนัขอารักขาสำหรับผู้คนในบราซิล เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนจำนวนมากเริ่มย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ซึ่งฟิล่าก็ตามเจ้าของไปด้วย ความดุร้ายต่อพวกหัวขโมยทำให้มันเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของเจ้าของ
บ้ านในเมืองต่างๆ ปัจจุบันนี้ฟิล่ายังคงแสดงลักษณะนิสัยที่ดุต่อคนแปลกหน้าเหมือนเดิมและเป็น
ส ุนัขอารักขาที่ได้รับความนิยมมากการขยายตัวของฟิล่านอกประเทศบราซิล
.
ประเทศแรกในยุโรปที่สนใจฟิล่าคือประเทศเยอรมัน ในปีค.ศ.1953 เจ้าชายอัลเบ็ท วอน บาเยิร์น ได้ทรงนำเข้าฟิล่าตัวแรกสู่เยอรมัน กล่าวได้ว่าเจ้าชายเริ่มสนใจฟิล่าในช่วงการท่องเที่ยวในบราซิล และต่อมาเจ้าชายทรงนำเข้าฟิล่าเพศเมียอีกหลายตัว ดังนั้นประชากรฟิล่าเริ่มเพิ่มมากขึ้นในเยอรมัน และประเทศอื่นๆเริ่มให้ความสนใจ เมื่อFCI ขึ้นทะเบียนรับรองสุนัขพันธุ์ฟิล่า บราซิลเลียโร่อย่างเป็นทางการในปีค.ศ.1968 มาตรฐานสายพันธุ์ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศอังกฤษ ฮอลแลนด์ และอิตาลี
ในช่วงปี1980-1989 เป็นทศวรรษที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ของฟิล่านอกประเทศบราซิล หนังสือเกี่ยวกับฟิล่าที่ดีมากเล่มหนึ่งถูกเผยแพร่ในปีค.ศ.1981 ชื่อหนังสือคือ "Grande Livre do Fila Brasileiro" เ ขียนโดย Procopio fo Valle ซึ่งมีข้อมูลฟิล่าละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา หนังสือนี้จำนวนครึ่งหนึ่งส่งขายไปยังต่างประเทศ
ในช่วงปี1980-1989 ฟิล่าจำนวนหลายร้อยตัวถูกส่งไปประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึง ไนจีเรีย ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้ด้วย ฟิล่าได้รับความนิยมไปทั่วยุโรป ความสนใจนี้เริ่มขึ้นในเนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส เสปน และฮังการี ตามมาด้วยเบลเยี่ยม และสวีเดน มันเป็นเวลาเดียวกัน(ค.ศ.1979)กับลูกฟิล่าคอกแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอเ มริกา ความนิยมของฟิล่าได้แพร่กระจายไปยังประเทศเหล่านี้และมีผู้หลงใหลเสน่ห์ของฟ ิล่ามากขึ้นเรื่อยๆ
สุนัขฟิล่า ปฏิบัติตัวอย่างไร กับสมาชิกครอบครัว
ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวบางคนที่ไม่ค่อยได้มีปฏิสัมพันธ์กับฟิล่าของคุณเท่าที่ควรแล้วล่ะก็ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ฟิล่า จะมองคน ๆ นั้น เป็นบุคคลแปลกหน้า ไม่ว่าคุณจะรักและไว้ใจสมาชิกในครอบครัวผู้วนั้นมากเพียงใดก็ตาม ฟิล่า ก็ไม่อาจจะรักหรือไวใจคนผู้นั้นได้แม้แต่น้อย
ฟิล่า เข้ากับสัตว์ชนิดอื่นได้หรือไม่
เป็นที่ทราบกันดีว่า สุนัขฟิล่า ไม่ใช่สุนัขที่ก้าวร้าวกับสัตว์อื่น ๆ ถ้าฟิล่าได้รับการเลี้ยงดูมาร่วมกันกับสัตว์หรือสุนัขชนิดอื่น มันก็จะนับสัตว์นั้นว่าเป็นสมาชิกในครอบครัวด้วย และไม่เพียงเท่านั้น มันยังจะให้การปกป้องสัตว์นั้นให้ปลอดภัยจากการถูกรังแกจากผู้อื่นหรือสัตว์อื่นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะปล่อยฟิล่าไว้ตามลำพังกับสัตว์อื่น ก็ควรจะระลึกอยู่เสมอว่า เริ่มแรกนั้น สุนัขฟิล่าถูกเพาะพันธุ์มาสำหรับใช้งานเป็นสุนัขล่าสัตว์ ซึ่งในมุมมองของฟิล่าถือว่า สัตว์ที่ถูกล่านั้นเป็นเหยื่อ เพราะฉะนั้นเราอาจจะเห็นสุนัขฟิล่าบางตัวชอบไล่กัดแมวที่เจ้าของเลี้ยงไว้ในบ้าน และบางครั้งมันก็อาจจะเข้ากัด หรือทำร้ายสุนัขตัวอื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันที่มันไม่รู้สึกชอบหน้าด้วยก็ได้ ดังนั้น เป็นข้อปลีกย่อยที่คุณเองจะต้องคอยสังเกตและป้องกันสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวคุณเอง ก่อนที่จะนำพาไปยังจุดนั้น
ฟิล่า เป็นสุนัขที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ดุร้ายหรือไม่
สุนัขฟิล่า ไม่ใช่สุนัขดุร้าย ที่จ้องคอยแต่จะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของ ฟิล่า เพียงเป็นสุนัขที่มีสัญชาตญาณของการอารักขามาแต่กำเนิด ฟิล่าชอบที่จะอยู่เคียงข้างเจ้าของมันตลอดเวลา และพร้อมที่จะป้องกันคนที่มันรักด้วยชีวิตเสมอในทุก ๆ สถานการณ์
ฟิล่าเป็นสุนัขที่ใช้ในการกัดได้หรือไม่
ข้อนี้อย่าแม้แต่จะคิด ฟิล่า ไม่ใช่สุนัขที่เลี้ยงไว้กัดกัน เพราะมันจะแพ้สุนัขอื่นที่เป็นสุนัขสายกัดอย่างง่ายดาย แบบนกกระจอกไม่ทันได้กินน้ำ สุนัขฟิล่าไม่ใช่สุนัขที่ร้ายกาจ อย่าลืมว่าสุนัขฟิล่านั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเพาะพันธุ์ขึ้นมาเพื่อเอาไว้กัดกันเอง หรือกัดสู้กับสุนัขอื่นตั้งแต่แรกแล้ว
ค่าตัวสุนัขฟิล่า บราซิเรียโร
ค่าตัวของลูกสุนัขจะอยู่ในช่วง 15,000 ถึง 45,000 บาท ขึ้นอยู่กับเกรดของลูกสุนัขที่คุณต้องการ สุนัขพิล่าที่โตเต็มวัย และมีรูปร่าง เชื้อสายที่ดีนั้นราคาอาจจะสูงเป็นแสนบาทเลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะหาซื้อลูกสุนัขในราคาเริ่มตั้งแต่สี่ห้าพันบาทก็ได้ แต่ก็นั่นแหละ มีหลายอย่างที่คุณจะต้องแลกกับราคาที่ถูกแสนถูกนั้น การได้เป็นเจ้าของสุนัขฟิล่าที่สมบูรณ์แบบนั้น เป็นประสบการณ์ที่สุดยอดและยากจะอธิบาย
ฟิล่าบราซิลเลียโร่ โชว์ความดุ
เอกสารอ้างอิง: Fila Brasileiro(Special Limited Edition) by Yvette Uroshevich
ขอขอบคุณคุณพงศ์พันธ์ สุดยอดบรรตที่เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก.......โฮแกนฟิล่า