การขอพระราชทานน้ำสังข์

 

 

 

 

การขอพระราชทานให้ทรงประกอบพิธีสมรส

การขอพระราชทานให้ทรงประกอบพิธีสมรส  ที่เรียกว่า "การขอพระราชทานน้ำสังข์" มีอยู่ ๒ แบบ คือ
  ๑. แบบเป็นทางการ
  ๒. แบบส่วนพระองค์ ซึ่งเรียกว่า "น้ำสังข์ข้างที่"



สำหรับหลักเกณฑ์การพระราชทานนั้น ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์เหล่านี้คือ
  ๑. พระราชทานให้แก่ผู้ที่ทรงรู้จัก และคุ้นเคย
  ๒. ทรงรู้จักบิดา และมารดา ของผู้ขอพระราชทาน
  ๓. ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ขอพระราชทานให้ ในกรณีที่เป็นตำรวจ ทหาร หรือพลเรือน ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ตามข้อ ๑ และข้อ ๒
  ๔. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ขอพระราชทานต้องทำหนังสือยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พร้อมทั้งแนบวันเดือนปีเกิดของคู่สมรส และสถานที่ติดต่อมาด้วย
ระเบียบปฏิบัติในงานสมรสซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีพระราชทาน


เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทานแล้ว   คู่สมรสจะต้องติดต่อสำนักพระราชวัง พร้อมทั้งแจ้งรายชื่อสักขีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สักขีจะเป็นจำนวนฝ่ายละเท่าใดก็ได้ รวมทั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองของแต่ละฝ่ายด้วย  

ถ้าคู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนสมรสทางราชการด้วย ก็ให้แจ้งสำนักพระราชวังทราบ เพื่อสำนักพระราชวังจะได้เชิญนายอำเภอท้องถิ่นมารับจดทะเบียนให้  การจดทะเบียนทางราชการนี้     คู่สมรสจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนนอกสถานที่ให้อำเภอในวันจดทะเบียน ๒๐๐ บาท ตามระเบียบ

ที่มา : สำนักพระราชวัง



ตามระเบียบ ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีการจดทะเบียนสมรส ตามระเบียบบอกแต่เพียงว่า
"ถ้าประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกันทางราชการ" เท่านั้น 

ดังนั้น ตามที่เราเข้าใจ คือ การขอพระราชทานให้ทรงประกอบพิธีสมรส นั้น
ไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย

 

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมเพื่อส่งคำขอที่วังสวนจิตรลดา 

1. ข้อมูลผู้ขอพระราชทานพระมหากรุณาให้ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน 
2. คำขอจากต้นสังกัด 
3. คำขอจากบ่าวสาวทำเอง 
4. หนังสือรับรองการทำงานของบ่าวสาว (ออกโดยที่ทำงานของบ่าวสาว เพื่อรับรองว่าทำงานอยู่ ณ ที่นั้นๆจริง)
5. บัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ
6. หนังสือนัดวันรับน้ำสังข์
7. แบบฟอร์มการขอพระราชทานน้ำสังข์

ตามราบละเอียด ข้างบน ไม่มีคำว่า "ทะเบียนสมรส"
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสก็ได้

สรุปลำดับขั้นตอนการขอ  "สมรสพระราชทาน" 

 

1. เขียนคำร้องแจ้งความประสงค์เข้าไปที่ สำนักพระราชวังโดยนำเอกสารแบบฟอร์ม"การขอพระราชทานน้ำสังข์"  จากกองงานฯ มากรอกรายละเอียด เขียนประวัติของคู่บ่าวสาว และความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์  หรือถ้ามีคนในครอบครัวคนใดมีโอกาสได้ถวายงานก็ให้เขียนรายละเอียดลงไปด้วยจะเป็นการดี   และเราสามารถระบุช่วงเวลาที่เราต้องการได้เช่นกลางปี 2557 เป็นต้น  จากนั้นก็รอหมายแจ้งจากทางสำนักพระราชวัง

( ก็อยากแนะนำว่าถ้าต้องการเร็วและรู้จักผู้ใหญ่อยู่บ้างให้คอยถามไถ่ท่านผู้หญิงที่ถวายงานแต่ละพระองค์อยู่  ทางข้างในวังเค้าจะรู้กันว่าท่านผู้หญิงคนไหนที่เป็นคนจัดการเรื่องพวกนี้อยู่คือต้องคอยตามเรื่องนิดหน่อย )  

2. ทางสำนักพระราชวังจะแจ้งหมายกำหนดการวันเวลา และ สถานที่ที่จะทำการเข้าเฝ้าฯ  ช่วงระยะเวลาการรอจะแตกต่างกันไป   ในแต่ละคู่ขึ้นกับจำนวนผู้ที่ทำเรื่องไว้ก่อนแล้ว และความสัมพันธ์ที่มีต่อพระราชวงศ์องค์นั้นๆ 

3. แจ้งรายชื่อผู้ติดตามทั้งหมด  ( บิดา-มารดา และพยานของทั้งสองฝ่ายๆ ละ 4 ท่านโดยรวมคู่บ่าว-สาวเป็นทั้งหมด 10 ท่าน )

4. ถ้าต้องการจดทะเบียนสมรสในวันนั้น ให้เตรียมเอกสารตามที่ระบุ  เช่นทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน  และค่าธรรมเนียม 200 บาท  ให้ทางสำนักพระราชวังก่อนวันเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานน้ำสังข์ 

( ในกรณีที่คู่สมรสได้รับอนุญาตให้รับน้ำสังข์พระราชทานแล้ว  ห้าม !!  ให้มีการรับน้ำสังข์มงคลสมรสจากผู้อื่น (สามัญชน) อีก

ถ้าทางผู้ใหญ่อยากให้มีการเจริญพุทธมนต์ตามความเชื่อของคนไทยก็ควรที่จะจัดเป็น 2 พิธี .. ซึ่งก็คือก่อนหน้าที่จะเข้าเฝ้าฯ ควรจัดเป็นพิธีหมั้นเสียก่อน  แล้วในวันฉลองมงคลสมรสพระราชทานในช่วงเช้าก็อาจทำได้แค่เพียงการทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นศิริมงคลของชีวิตคู่ )  

  

5. ทางสำนักพระราชวังจะกำหนดวันนัดซ้อมก่อนวันเข้าเฝ้าฯ

6. นัดซ้อมอีกครั้งในวันจริงพร้อมกันทั้งหมด  คู่บ่าว-สาว และผู้ติดตาม )  ซึ่งทางสำนักพระราชวังจะนัดให้ไปถึงก่อนฤกษ์ ประมาณ 3 ชั่วโมง  และจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับบอกแก้ไขจุดที่บกพร่องอีกครั้ง  ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดว่าเราต้องทำอะไร  อย่างไรในตอนเข้าเฝ้าฯ  เพราะทางเจ้าหน้าที่เค้าจะคอยฝึกสอนให้

7. การแต่งกาย 

ชาย : ถ้าเป็นข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ  ถ้าเป็นพลเรือนให้ใช้ชุดราชประแตน พร้อมติดเครื่องหมายเข้าเฝ้าที่คอเสื้อ 

หญิง : ใส่ชุดไทยบรมพิมาน ( ไม่กำหนดสีหรือชนิดของผ้า )  แต่ชุดไทยบรมพิมาน ที่ถูกต้องต้องไม่มีผ่าหลังหรือผ่าหน้า 

เพราะจะไม่สุภาพเวลาก้มกราบและหมอบคลาน   ส่วนรองเท้าไม่อนุญาตให้มีสายคาดหรือสายรัดข้อเท้า  ต้องเป็นแบบสวมหุ้มส้นเท่านั้น     เครื่องประดับก็ควรใส่เพียงน้อยชิ้น ไม่ควรมีเป็นระย้าห้อยตุ้งติ้งเพราะต้องมีการก้มกราบหลายครั้ง

ส่วนผู้ติดตามที่เป็นผู้หญิงให้ใช้ ชุดไทยจิตรลดา 

8. แบบผมของผู้หญิงควรเป็นทรงที่เรียบร้อย ไม่รุงรังและไม่ฉีดสเปรย์ใส่ผมมากเกินไป จนเหนียวเหนอะหนะ  เพราะอาจทำให้มีปัญหาในการทัดใบมะตูมได้ 

9. เตรียมพานดอกไม้ธูปเทียนสำหรับวันที่เข้าเฝ้าฯ  ถ้าเกรงว่าจะไม่ถูกต้องตามประเพณีก็สามารถ 

ให้ทางสำนักพระราชวังจัดเตรียมให้โดยให้ไป  ติดต่อแจ้งความจำนงและชำระเงินไว้  

เมื่อถึงเวลา เข้าเฝ้าฯ ของเราทางเจ้าหน้าที่จะเป็นคนจัดการนำมาวางไว้ให้ที่โต๊ะ 

10. เมื่อเสร็จพิธีในส่วนของเราแล้ว  ก็สามารถกลับได้เลยไม่ต้องรอให้ทำพิธีจนครบทุกคู่  

 

ปรกติจะมีประมาณ 6-8 คู่  ซึ่งทางสำนักพระราชวัง จะเป็นคนกำหนดแจ้งลำดับก่อนหลังมาให้

ขอบคุณเจ้าของกระทู้คุ

Credit: http://women.postjung.com/697540.html
#การขอพระราชทานน้ำสังข์
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
9 ส.ค. 56 เวลา 18:15 14,608 1 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...