ที่มาของทางม้าลาย

 

 

 

 

 

ตามที่เรารู้ๆ กัน สัญลักษณ์ของทางลายขาว-ดำ ที่มีไว้สำหรับให้คนข้ามถนน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘ทางม้าลาย’ นั้น แท้จริงแล้วในตอนแรกมันไม่ได้เป็นสีขาวกับดำเหมือนในปัจจุบันนี้หน่ะสิ เอ๊ะ! ชักอยากจะรู้ ที่มาของทางม้าลาย ซะแล้วสิ งั้นตาม teen.mthai ไปดูกัน ^^

ที่มาของทางม้าลาย

เดิมทีแถบสีสัญลักษณ์ของทางคนข้ามนี้เคยเป็น สีน้ำเงินและสีเหลือง มาก่อน โดยมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก (หลังทำการทอดลองใช้แล้ว) ตามท้องถนนของประเทศอังกฤษราว 1,000 จุด เมื่อปี 1949 เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางที่อนุญาตให้คนสามารถข้ามถนนได้

แต่ก่อนนั้น สัญลักษณ์ของทางข้ามนี้จะอยู่คู่กับ ‘เสาโคมไฟสัญญาณบีลิสชา’ ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ปี 1934 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญญาณให้พาหนะที่สัญจรอยู่บนท้องถนนหยุดวิ่งชั่วขณะเพื่อให้คนที่อยู่สองข้างทางได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพาหนะต่างๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อโคมไฟสัญญาณบีลิสชาซึ่งมีสีส้มส่องสว่างขึ้น

ต่อมา เลสลี ฮอร์น บีลิสชา รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแดนผู้ดี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนำโคมไฟสัญญาณดังกล่าวมาติดตั้งก็คิดว่าน่าจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ที่เป็นแถบสีบนพื้นถนนบริเวณที่มีการติดตั้งโคมไฟสัญญาณเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นได้เด่นชัดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ของทางข้ามที่มีแถบสีจึงถือกำเนิดขึ้น

จากนั้นก็ มีการทดลองใช้สีขาว-แดง และสีขาว-ดำ ทาเป็นสัญลักษณ์ แล้วในปี 1951 สัญลักษณ์ของทางข้ามที่เป็นแถบสีขาว-ดำก็ถูกนำมาใช้คู่กับโคมไฟสัญญาณบีลิสชาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พร้อมกับได้รับการขนานนามว่า ‘ทางม้าลาย’ เนื่องจากมีลักษณะเหมือนลายของม้าลายนั่นเอง

ต่อมาอังกฤษได้นำไอเดียดังกล่าวไปใช้กับประเทศอาณานิคมของตัวเอง เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทางม้าลายจึงกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากลไปโดยปริยาย

เรียบเรียง teen.mthai อ้างอิง ASTV

ที่มาของทางม้าลาย

ที่มาของทางม้าลาย : ไอเดียทางม้าลายสร้างสรรค์

รูปภาพทางม้าลาย ไอเดียสร้างสรรค์

 
Credit: http://teen.mthai.com/variety/61611.html
#ที่มาของทางม้าลาย
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
9 ส.ค. 56 เวลา 11:03 1,815 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...