รู้จักกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมฯ ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ผิดกฏหมาย

 

 

 

 รู้จักกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมฯ ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้ผิดกฏหมาย

 

 

ช่วงเวลานี้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะ Social network ก็ใช้กันแพร่หลาย ในการติดต่อสื่อสารหาเพื่อนๆ ตลอดจนดาราใช้ติดต่อกับแฟนคลับจำนวนมาก ไม่เว้นแบรนด์เอเจนซี โฆษณาต่างๆ ยังใช้ Social Network ด้วย แต่ก็มีหลายเหตุการณ์ที่คุณอาจไม่ทราบว่า สิ่งที่ทำแบบนี้ อาจทำให้ตนเองทำผิด พรบ คอมพิวเตอร์ ปี 2550 ด้วย ซึ่งตอนนี้มีผลบังคับใช้ในไทยแล้ว ณ เวลานี้

statute-offense-compute-crime-2550 พรบ.คอมพิวเตอร์ปี 50 (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เริ่มบังคับใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2550 จนถึงเวลานี้ก็บังคับใช้มาถึง 6 ปีแล้ว ซึ่งมีหลายมาตรา ที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจถูกดำเนินคดีได้ เช่น

การกระทำ โพสต์ ข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของอดีตเณรคำที่มีการโพสต์ข้อความแสดงอิทธิฤทธิ์อวดอ้างผ่านทางเว็บไซต์ให้คนหลงเชื่อ หรือให้ข้อมูลเท็จ ที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ประชาชนตื่นตระหนก , โพสข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ลามก อนาจาร

ซึ่งกรณีทั้งหมดนี้ ผิด พรบ.คอม มาตรา 14 ระบุไว้ว่า  “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) “

อีกกรณีที่ต้องระวังสำหรับผู้ใช้คอ Social Network โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เจออะไร ขอกดแชร์ หรือส่งต่อ  เช่นได้ข้อความมาใน Line, หรือทาง Facebook, Twitter เจอปุ๊บ share ปั๊บ หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งทาง Line หรือทางอีเมล โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข้อความนั้นจริงหรือเปล่า….? หากเผลอแชร์ทันที ทั้งๆ เป็นข้อมูลเท็จ  การกระทำลักษณะแบบนี้ ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์  ซึ่งหากตรวจสอบว่าผิดจริง ผู้แชร์ก็อาจถูกดำเนินคดีได้ และอาจถึงขั้นจำคุก หรือปรับ

อ.ปริญญา หอมอเนก ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์  ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ก่อนส่งต่อ หรือแชร์ ลองตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเนื้อหานี้จริงหรือไม่  เพราะถ้าคุณส่งข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลลามก อนาจาร ตามข้อมูลที่มีความผิดตาม พรบ. คอมฯ ที่กล่าวไปแล้วนี้…..คุณก็จะมีความผิดในมาตรา 14 วรรค 5 (เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม ข้อมูลเท็จ )      โดนด้วย!….รับโทษเหมือนกัน

อีกเรื่องที่เจอบ่อย คือการตัดต่อภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายแล้ว เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต อันนี้  มีความผิดตามมาตรา 16 ระบุไว้ว่า

“ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

สำหรับผู้ให้บริการ ก็ต้องระวัง หมั่นดูแลข้อมูลต่างๆ ที่คนอื่นโพสต์ทิ้งไว้ในเว็บเราด้วย เช่นพวกเว็บบอร์ด กระทู้ หรือ คาความเห็นต่างๆ เพราะมีคนมาโพสต์ข้อความ โพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือภาพอนาจาร  มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน แล้วคุณเพิกเฉย ปล่อยให้มีการกระทำนั้น คุณก็จะมีความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ในมาตรา 15 ข้อหาสนับสนุน ยินยอมให้คนอื่นเผยแพร่ข้อมูลที่กระทบให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหาย กระทบความมั่นคงของรัฐ และอื่นๆตามที่ พรบ.คอม มาตรา 14 ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่เริ่มใช้ พรบ.คอม ช่วงแแรกๆ ด้วย มีเว็บมาสเตอร์ถูกจำคุกมาแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด แต่ตรวจสอบพบ เนื้อหาที่ผิด พรบ.คอมฯ ก็โดนติดคุกได้เช่นกัน และมีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ให้บริการโฮสด้วย

พรบ.คอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องรู้ และปฏิบัติให้อยู่ในกฎหมายด้วย หากกระทำผิด พรบ. คุณก็จะถูกดำเนินคดี จำคุก และปรับ ได้ ซึ่งคุณอ้างไม่ได้ว่าคุณไม่รู้!!! เพราะคุณคือผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์  

คุณสามารถดาวน์โหลด พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) ได้ในรูปแบบไฟล์ PDF  คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด ฟรี !!!!www.mict.go.th/download/law/20070618_CC_Final.pdf 

 

ที่มา iT24Hrs

Credit: http://variety.teenee.com/index000.htm
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...