แปลกแต่จริง!ปลาก็ทำศัลยกรรม

 


ไม่เฉพาะแต่คนเท่านั้นที่จะทำศัลยกรรมเสริมความงาม ในวงการปลาสวยงามก็มีการทำศัลยกรรม เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้ปลาเช่นกัน โดยเปิดให้ชมความอะเมซซิ่งอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกใ นงาน "ประมงน้อมใจ ไทยทั่วหล้า ครั้งที่ 9" ตั้งแต่วันนี้ถึง 21 มี.ค. 2553 ที่ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 4 ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ...


ในฐานะนักวิชา การประมง "สิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์" เปิดเผยถึงความเป็นมาและขั้นตอนการทำศัลยกรรมปลาอันน ่าทึ่งว่า การทำศัลยกรรมปลาในเมืองไทยเริ่มมีมาสักพักแล้ว แต่จะรู้จักกันในวงแคบเฉพาะคนที่เลี้ยงปลาตะพัดหรือป ลาอะโรวาน่าเท่านั้น ทั้งที่แท้จริงแล้วปลาชนิดอื่นๆก็สามารถทำศัลยกรรมได ้ แต่มูลค่าอาจไม่คุ้มกับการลงทุนเท่าปลาอะโรวาน่า คนจึงไม่นิยมเอามาทำกัน


ถ้าย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้น จะพบว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นแหล่งกำเนิดของการทำศัล ยกรรมปลา โดยมีเป้าหมายหลักคือ เพื่อเพิ่มความสวยงามและช่วยให้การดำรงชีวิตของปลาดี ขึ้น การทำศัลยกรรมปลาสามารถทำได้หลายจุด เช่น หนวด, ตา, เหงือก, ครีบ และเกล็ด กรณีที่ปลากินอาหาร หรือเวลาเลี้ยงอยู่ในตู้ แล้วกระโดดไปชนขอบตู้หรือคานตู้ จนทำให้ครีบและหางเสียหาย สามารถตัดแต่งทำศัลยกรรมเพื่อให้หางปลางอกใหม่สวยงาม เหมือนเดิม หรือกรณีที่ปลาอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่สู้ดี ค่อนข้างสกปรก ส่งผลให้เหงือกปลาอ้าผิดปกติและหายใจไม่สะดวก ก็สามารถช่วยตัดแต่งเหงือกปลาให้ปิดกลับเข้าที่ ทำให้ปลาหายใจได้สะดวกขึ้น โดยการพักฟื้นของปลาใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปลาจะกลับมาสวยงามเหมือนเดิม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเยอะ รวมถึงการใช้เลเซอร์ทำศัลยกรรมแทนกรรไกร ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมล่าสุด


ด้าน "สัตวแพทย์หญิง สุกัญญา ปุสสะรังสี" ประจำฟาร์ม AF AROWANA FARM ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลายคนคิดว่าการทำศัลยกรรมปลาเป็นการทรมานสัตว์ แต่จริงๆแล้ว การทำศัลยกรรมปลาเป็นการรักษามากกว่า โดยจุดที่นิยมทำกันคือ การทำศัลยกรรมที่หาง และเหงือกอ่อน ซึ่งหากฉีกขาด อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เหงือกรูดติดไปกับตัวปลา ช่วยให้ปลาหายใจได้สะดวกขึ้น


สำหรับขั้นตอนการทำศัลยกรรมปลา เริ่มจากการต้อนปลาในตู้ปลาเข้าถุงพลาสติกหนา 1-2 ชั้น ด้วยความระมัดระวัง โดยใส่น้ำให้ท่วมตัวปลา จากนั้นยกถุงที่ใส่ปลาออกนอกตู้ปลา และพักไว้ในถังหรือกล่องโฟม แล้วจึงหยดยาสลบตามขนาดของปลา โดยห้ามให้ยาสลบถูกตัวปลาเด็ดขาด เมื่อปลาเริ่มอ่อนแรง ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำสะอาดห่อตัวปลาและเริ่มทำศัลยกร รมได้ทันที เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ให้ย้ายปลากลับเข้าตู้ โดยห้ามเทน้ำที่มีส่วนผสมของยาสลบลงในตู้ปลา และให้ใช้หัวทรายหรือเครื่องพ่นอากาศเป่าบริเวณเหงือ กของปลา แล้วประคองตัวปลาไว้ รอจนกระทั่งปลาฟื้นดี แล้วใส่ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย


คนรักปลาไม่น่าพลาดงาน ประมงน้อมใจ ไทยทั่วหล้า ซึ่งคึกคักไปด้วยสายพันธุ์ปลาหาชมยาก รวมถึงสัตว์โลกใต้น้ำมากมายที่มีลวดลายเสือและมีชื่อ เหมือนเสือ เพื่อเป็นไฮไลต์ต้อนรับปีเสือใจดีโดยเฉพาะ อาทิ ซาลามานเดอร์ลายเสือ, ปลาเสือตอ, ปลาบิเชียร์ลายเสือ, ปลาเสือดาว และปลาบู่เสือ...บัตรเข้าชมงานแค่คนละ 30 บาท รายได้จากการจัดงานนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย.
 
17 มี.ค. 53 เวลา 08:51 2,820 22 162
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...