10 ความหมายชื่อประเทศกลุ่มอาเซียน

ยิ่งใกล้รวมตัวกลุ่มระหว่าง AEC มากขึ้นเท่าไหร่ การเตรียมพร้อมก็มากขึ้น ทีมงาน toptenthailand ก็ไม่พลาดขอเสนอ "10 ความหมายชื่อประเทศกลุ่มอาเซียน"

เครดิต : เรียบเรียงโดย ทีมงาน toptenthailand

แหล่งที่มา : Aseantalk.com

10. อินโดนีเซีย : Indonesia อินโดเนเซีย

ความหมาย มาจากภาษากรีกคำว่า Ινδόνησιά หมายถึงหมู่เกาะอินเดีย เป็นคำที่ถูกคิดขึ้นในสมัยคริสตศวตวรรษที่ 19 เพราะชาวยุโรปก่อนหน้านี้เรียกอินโดนีเซียว่า East Indies คืออินเดียตะวันออก

9. สิงคโปร์: Singapura ซีงาปูรา

ความหมาย มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า สิงหะปุระ (सिंगापोर)แปลว่า เมืองสิงโต เดิมมีซีงาปูราชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ แต่สิ่งที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นที่จริงแล้วมันคือเสือพื้นเมืองต่างหาก ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา ส่วนซีงาปูรา เป็นภาษามาเลย์ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของสิงคโปร์ เรียกประเทศสิงคโปร์

8. เวียดนาม : Việt Nam เหวียตนาม

ความหมาย ชื่อประเทศของชาวเวียด ในช่วงที่เวียดนามเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศสนั้น เวียดนามีชื่อว่าประเทศอันนัม และได้ชื่อประเทศเวียดนามอย่างเป็นทางการเมื่อ ปี ค.ศ. 1945 ชาวเวียดนามชอบท่องคำขวัญสมัยใหม่ว่า เสียดนามเป็นชื่อประเทศ มิใช่สงคราม ในภาษษจีน 越 (ภาษาเวียดนามอ่านออกเสียงว่า เหวียต) หมายถึงไกลออกไป ส่วน 南 (เวียดนามออกเสียงว่านาม) หมายถึงทิศใต้ คงหมายถึง ประเทศที่อยู่ทางใต้ของจีนอย่างเวียดนาม

7. ลาว : ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว

ความหมาย อาจจมาจากคำอินเดียโบราณว่า lava (लव). (Lava เป็นชื่อลูกแฝดชายของพระราม) หรือมาจากคำว่าอาณาจักร “อ้ายลาว"

6. มาเลเซีย : Malaysia มาเลเซีย

ความหมาย คำว่ามลายา มาจากภาษาทมิฬ/ สั นสกฤต மலை/मलै (มาเล/มาลัย) แปลว่าเนินเขา และคำว่า ஊர்/उर् ยู/ยา ที่แปลว่าเมือง มลายาจึงมีความหมายว่าเมืองเนินเขา และนำคำว่า ละติน/กรีก คำว่า เซีย -sia/-σία, หมายถึงแผ่นดิน คำว่ามาเลเซียจึงมีความหมายว่าแผ่นดินของชาวมาเลเซีย ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมาย แม้แต่ชื่อลังกาสุกะ ก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

5. ฟิลิปปินส์ : Pilipinas ปิลิปินัส

ความหมาย ดินแดนของพระเจ้าฟิลิป (พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนครองราชย์ระหว่าง วันที่ 25 กฎกฏาคม ค.ศ. 1554 – 13 กันยายน ค.ศ. 1598 รวม 44 ปี 50 วัน) ซึ่งสเปนเป็นผู้ยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้น และตั้งชื่อเกาะตามพระนามพระเจ้าฟิลิปที่ 2 เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่พระองค์

4. เมียนมาร์ : ปี่เด่าง์ซุ ซามาดา มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ

ความหมาย คำว่ามยะ หมายถึง เร็ว หม่า แปลว่าแข็งแรงทนทาน ส่วนชื่อบะพม่า (พม่า) มาจากภาษาสันกฤษตว่า Brahmadesh (ब्रह्मादेश) แปลว่า ดินแดนของพระพหรม

3. บรูไน : อักษรยาวี : بروني دارالسلام อักษรโรมัน : Brunei Darussalamบรูไนดารุสซาลาม

ความหมาย เป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า Barunah ซึ่งเป็นภาษามาเลย์แปลว่าสุดยอดหรือเยี่ยมยอด หรือ เป็นชื่อที่ถูกเปลี่ยนในสมัยคริสตศวตรวรรษที่ 14 อาจมาจากคำว่า varunai (वरुण) ที่มีความหมายว่า ชาวเรือทะเล ต่อมาก็กลายเป็นบรูไน ส่วนคำว่าเกาะบอร์เนียวก็มาจากสาเหตุของชื่อประเทศบรูไนเหมือนกันกัน (ประเทศบรูไนตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว) ส่วนคำว่าดารุสซาลาม เป็นภาษาอาหรับหมายถึง ที่พำนักของสันติภาพ

2. กัมพูชา: ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย

ความหมาย ชื่อประเทศมาจากภาษาเขมรโบราณ คำว่า Kambuja (Kambujadesa; कम्बोजदेश :"ดินแดนแห่ง Kambuja")

1. ไทย : ราชอาณาจักรไทย

ความหมาย อิสระ ไม่ตกเป็นทาสใคร ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก และเป็น 1 ในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่นเดียวกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก

Credit: http://www.toptenthailand.com/2689-top.html
8 ส.ค. 56 เวลา 11:17 1,720 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...