เรื่องน่ารู้ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ถ้าพูดถึงสงครามโลกก็ต้องนึกถึง สหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็เยอรมัน ญี่ปุ่น

แต่จะมีซักกี่คนที่จะคิดถึงประเทศของเรานั้นก็คือประเทศไทย ประเทศ

เราก็มีบทบาทไม่น้อยในมหาสงครามครั้งนี้ เชิญตามไปรับชมเรื่องน่ารู้

ของไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 กันเลยค่ะ

 

 

...สหรัฐไทยเดิม...

 

 

ประเทศไทยก่อตั้งสหรัฐไทยเดิมโดยรวมดินแดนที่ส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย

ทรัพยากรจำนวนมากได้แก่แคว้นรัฐฉาน (เชียงตุง เมืองพาน), รัฐกะยา รวมไปถึงเมืองตองยีและ

ครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย ผลจากสงครามทำให้สถานการณ์รุนแรง

ภายในของไทยถึงขนาดมีการปลุกระดมให้เกิดลัทธิคลั่งชาติอย่างรุนแรง ถึงปลูกฝังความคิดชาติ

นิยม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังได้เริ่มกำหนดนโยบายรัฐศาสนาขึ้นกำหนดให้พุทธศาสนาเป็น

ศาสนาประจำชาติ พูดถึงความยิ่งใหญ่ของชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมเหนือชาติใดๆ

ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีเป้าหมายขจัดอิทธิพลของชาติตะวันตกร่วมกับจักร

วรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้มีการปลุกระดมการรักชาติในด้านการศึกษาแก่เยาวชน เพื่อจะได้ได้ร่วมกัน

เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติให้ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับสมัยเมืองพระมหานครสุโขทัยและ

อยุธยาในอดีต

 

...เสรีไทย...

 

 

เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม

โลกครั้งที่ 2 ในช่วง พ.ศ. 2484 - 2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักร

วรรดิญี่ปุ่นรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทยขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวา

คม พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านทิศตะวันออกและยกพลขึ้นบกจากอ่าว

ไทย เดิมเรียกขบวนการนี้ว่า "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "เสรีไทย" 

มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร

 

...เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ...

 

 

ไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2489

โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการ เช่นทำสัญญาทางไมตรีกับจีน (หลังสงครามจีนเป็นมหาอำ

นาจ เพราะเป็นฝ่ายชนะสงครามด้วย สัญญานี้เป็นสัญญาฉบับแรกระหว่างไทยกับจีน ทั้งๆที่ได้

มีไมตรีกันมานานนับร้อยๆ ปี) ไทยยอมรับรองสหภาพสาธารณรัฐโซเวียตโซเชียลิสต์ และไทย

ยอมคืนดินแดนที่เราได้มาจากอนุสัญญากรุงโตเกียว หลังสงครามอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศส

 

...ญี่ปุ่นแพ้สงคราม...

 

 

ญี่ปุ่นแพ้สงครามเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยประกาศว่า การประกาศสงครามกับ

สัมพันธมิตรเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญและความประสงค์ของประชาชนชาวไทย ไทยต้อง

ปรับความเข้าใจกับสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกามิได้ถือไทยเป็นศัตรู ตามประกาศของรัฐบาลสหรัฐ

อเมริกาโดย นายเจมส์ เบิรนส์ (James Byrnes) รัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้ลงนามแต่รัฐมนตรีต่าง

ประเทศอังกฤษ นายเออร์เนสต์ เบวิน (Ernest Bevin) ไม่ยอมรับทราบการโมฆะของการประกาศ

สงครามง่ายๆ

 

...โดนเรียกร้อง...

 

 

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 (เวลานั้น ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทน

ไทยได้ลงนามกับผู้แทนอังกฤษที่สิงคโปร์ ความตกลงนี้เรียกว่า "ความตกลงสมบูรณ์แบบ

เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย" ที่สำคัญคือ

ไทยต้องคืนดินแดนของอังกฤษที่ได้มาระหว่างสงคราม ให้ข้าวสารโดยไม่คิดเงินถึง 1.5 ล้านตัน

และต้องชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ แต่ต่อมาไทยเจรจาขอแก้ไขโดยฝ่ายอังกฤษสัญญาจะจ่ายเงิน

ค่าข้าวสารให้บ้าง

 

...ขบวนการไทยถีบ...

 

 

เกิดขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนไทยด้วยกันเอง เรียกว่า ขบวนการไทยถีบ ขบวนการนี้ทำ

หน้าที่ดักปล้นของเล็กของน้อย ยุทธปัจจัยต่าง ๆ ของกองทัพญี่ปุ่น ไปซ่อนตามป่าเขา โดย

เฉพาะการตัดขบวนรถไฟขณะลำเลียงสิ่งของต่างๆให้ขาดจากกัน อีกทั้งบางครั้งยังแอบเข้าไป

ลักลอบขโมยดาบซามูไรของทหารญี่ปุ่นในเวลาหลับอีกด้วย เรียกว่า ไทยลักหลับ แต่เป็นที่

น่าสังเกตุว่าขบวนการนี้บางครั้งขโมยแม้แต่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยเองเช่น ลวดทองแดง สาย

โทรศัพท์เป็นต้น อีกทั้งขบวนการเสรีไทยก็ไม่ได้นับขบวนการไทยถีบเป็นแนวร่วมแต่อย่างใด

นอกจากนี้มีการปล้นทหารญี่ปุ่นกันอย่างหนัก ซึ่งมีทั้งใช้การปล้นสะดมด้วยการรมยาให้หลับ

ที่สุดมีแม้แต่การปล้นในเวลากลางวันโดยที่โจรถึงกับทักทายทหารญี่ปุ่นก่อนลงมือปลดทรัพย์

และอาวุธ หรือปล้นทหารญี่ปุ่นด้วยไม้ตะพดชิงเอาอาวุธปืนไปได้โดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน

หลังสงครามตำรวจต้องระดมกำลังปราบปรามบรรดาโจรผู้ร้ายซึ่งมีอาวุธที่ชิงมาจากทหารญี่ปุ่น

และ บรรดาเสือร้ายต่าง ๆ เช่น กรณีการถล่มชุมโจรที่บางไผ่ ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอ

ปากท่อ ราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ ปี พ.ศ. 2490 กว่าจะราบคาบก็กินเวลาหลายปี

 

...ทิ้งระเบิด...

 

 

เมื่อไทยประกาศสงครามอย่างเต็มตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตรทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่ง

เครื่องบิน B 24, B 29 และ (Vickers Windsor) ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้ทำการทิ้งระเบิด ทำ

ลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่

ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิด

 

...เซ็นสัญญา...

 

 

ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2485 ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น จึงมาตั้งทัพในไทย

ฐานะพันธมิตร อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นฮิเดะกิ โทโจได้เดินทางมาเยือนกรุง

เทพฯ และได้เจรจาวางแผนและแบ่งเขตการรบกับไทย นัยว่าเพื่อหวังจะได้รับการสนับสนุนจาก

รัฐบาลไทยตามที่ตกลงไว้ในสนธิสัญญา ในการเจรจาสรุปได้ว่ากองทัพไทยต้องถูกส่งไปรบที่

เชียงตุงโดยก่อตั้งกองพลพายัพเพื่อรบกับอังกฤษและสาธารณรัฐจีน ตามข้อตกลงแบ่งเขตการ

รบที่ทำไว้กับญี่ปุ่นว่าตั้งแต่รัฐกะยาห์จนถึงครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์โดยยึดเส้นแบ่งเขตใต้ของ

เมืองเป็นของไทย จนถึงแม่น้ำโขงเป็นเขตการรบของไทย

 

...ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในไทย...

 

 

ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมดและได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่

ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็นมหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับ

สนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชา

ชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น

 

...ยึดดินแดนคืน...

 

 

สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหา

วิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวน

เรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะ

บอง จำปาศักดิ์ เป็นต้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดใน

ขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันทีท่ามกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก

เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่อง เช่นเพลงข้ามโขง เพลงจำปาศักดิ์ เพลงเสียมราฐ

เป็นต้น

 

ที่มา : wikipedia, pantip.com

 

เรียบเรียงโดย คุณชายสิบหน้า TOPTEN THAILAND

 

ขอบคุณค่ะที่แวะมา

Credit: http://www.toptenthailand.com/4115-top.html
7 ส.ค. 56 เวลา 15:10 4,335 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...