เปิดตำนานดาบซามูไร

 

 

 

 

 

 

คะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 かたな katana, นิยมทับศัพท์เป็น "คาตานะ" ?) เป็นดาบญี่ปุ่น มีลักษณะคมด้านเดียว เพื่อฟันหรือตัด ไม่หัก ไม่งอ และคม มีวิธีการผลิตเฉพาะในญี่ปุ่นคือ เอาโลหะมาเผาและตีแผ่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้ดาบที่มีความแข็งแรง คม คะตะนะถือโดยชนชั้นซามูไรในญี่ปุ่นสมัยศักดินา จึงได้ชื่อว่า "ดาบซามูไร"

คันจิของคำว่าคะตะนะ ใช้รูปอักษรเดียวกับคำว่า "เตา" ในภาษาจีน (刀) ซึ่งมีความหมายว่า "ดาบ" เช่นกัน

ความสำคัญ
ในยุคเอะโดะ ดาบเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิบุชิโด (วิถีนักรบ) ซึ่งเป็นจริยธรรมของนักรบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ และเป็นสิทธิพิเศษเฉพาะนักรบเท่านั้นที่อนุญาตให้พกดาบได้ ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละสิบของประชากรทั้งหมด และเหล่านักรบนั้นจึงถือว่าดาบเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่แสดงเกียรติยศ ชื่อเสียงและความภาคภูมิใจของตระกูล และดาบเหล่านั้นจะสืบทอดเป็นมรดกต่อ ๆ กันไปหลายชั่วอายุคน และใช้ดาบนี้ในการคว้านท้องหรือเซ็ปปุกุ ซึ่งถือกันว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติของนักรบเหล่านี้ ดาบซามูไรนี้ได้ถูกใช้เป็นอาวุธจนกระทั่งมีการนำปืนเข้ามาใช้ และกลายเป็นอาวุธหลักแทน ประวัติ ยุคนะระ เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในยุคนะระ (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. 1193-1336 หรือประมาณ 1,300 ปีเศษที่แล้ว ปัญหาที่พบคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อน จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม ช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า "อะมะกุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดี และมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทะมะฮะกะเนะ" (Tamahagane) อะมะกุนิพบว่าการที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น การควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ เหล็กถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอม และนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป ยุคคะมะกุระ ในยุคคะมะกุระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. 1735-1879 จักรพรรดิสั่งให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว "U" และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันให้แผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า 700 องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดี ดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ ดาบสามารถฟันคอขาดได้ในครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตนกว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซ็ปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮะกะตะ ด้วยกองทัพเรือ 800 ลำ และกำลังพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ พร้อมกองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ, ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า "คะมิกะเซะ" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย

หลังจากสงครามสิ้นสุด บ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่น จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไข ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มะซะมุเนะ" ราวปี พ.ศ. 1840 ดาบของมาซามุเนะถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า "กะวะกะเนะ" (Gawa-gane) และด้านคมดาบ (ฮะกะเนะ "Ha-gane") ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง 15 ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง 32,768 ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า "ชิกะเนะ" (Shi-gane) แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ ช่างตีดาบคนอื่นๆ เริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา

ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมะซะมุเนะ คือ "มุระมะซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มุระมะซะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มะซะมุเนะ" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น

ยุคสมัยของดาบซามูไร ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ 4 ยุค ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช 900 (ก่อน พ.ศ. 1443) ยุคที่ดาบของ "อะมะกุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนารา ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. 1443-2073 ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร เทียบกับประวัติศาสตร์ไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-18) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18-20) ในปี พ.ศ. 1840 เป็นปีที่ดาบของ "มะซะมุเนะ" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. 2197-2410 ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. 2182) ยุคดาบสมัยใหม่ (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. 2411 ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. 2411-2488) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการตัดคอเชลยศึกซึ่งไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง ชนิดของดาบซามูไร[แก้]
ดาบยาว "ตะชิ"
ดาบยาว "คะตะนะ" (บน) และดาบขนาดกลาง "วะกิสะชิ" (ล่าง)
ดาบสั้น "ตันโต"
"กุนโตแบบเก่า" (旧軍刀 - คีวกุนโต) ดาบของทหารญี่ปุ่นสมัยใหม่รุ่นแรกๆ ซึ่งออกแบบโดยอิงกับกระบี่ทหารของชาติตะวันตก เริ่มผลิตในสมัยเมจิ
"กุนโตแบบ 95" (九五式軍刀 - คีวโงชิคิกุนโต) ดาบสำหรับนายทหารญี่ปุ่นชั้นประทวนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
แบ่งโดยยุคสมัย ดาบซามูไรแบ่งตามยุคสมัย มี 4 ชนิดคือ โคโต (Koto) ชินโต (Shinto) ชิงชินโต (Shinshinto) เก็นไดโต (Gendaito) แบ่งตามความยาว โอดะชิ (大太刀, Ōdachi) ยาวมากกว่า 3 ชะกุ (Shaku) ตะชิ (太刀, Tachi) ยาวตั้งแต่ 2-3 ชะกุ โคะดะชิ (小太刀, Kodachi) ยาวไม่ถึง 2 ชะกุ วะกิสะชิ (脇差, Wakizashi) ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ชะกุ

1 ชะกุ (Shaku) = 0.303 เมตร

ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท สามารถแบ่งชนิดหลัก ๆ ออกได้ 3 ชนิดดังนี้

ดาบยาว ตะชิ (太刀, Tachi)

ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร มักไม่คำนึงถึงความคล่องตัว แต่คำนึงถึงระยะโจมตีมากกว่า

คะตะนะ (刀, Katana)

ดาบที่มาแทนที่ดาบตะชิของทหารม้าตั้งแต่กลางยุคมุโระมะจิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร

ดาบขนาดกลาง วะกิสะชิ (脇差, Wakizashi)

ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคะตะนะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 - 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซ็ปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น

ดาบสั้น ตันโต (短刀, Tantō)

มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ

ไอกุชิ ((匕首, Aikuchi)

คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี

ดาบซามูไรในสงครามโลกครั้งที่ 2 าบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "กุนโต" (軍刀, Guntō; มีความหมายว่า "ดาบกองทัพ" หรือ "ดาบทหาร") เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุคใหม่ เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น

ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทะริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร

พิธีกรรมการตีดาบ พิธีกรรมการตีดาบแบบโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจ และทำสมาธิในขณะที่หลอมเหล็ก ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆ ช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมา หากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากัน บางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืน หรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่ม ในสมัยโบราณดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้ นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
ช่างตีดาบ ซะดะโตะชิ กัซซัน

ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ซะดะเอะจิ กัซซัน (Sadaeji Gassan) ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง กัซซันเป็นตระกูลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า 700 ปี ปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่โบราณจากยุคคะมะกุระ โดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซะดะโตะชิ กัซซัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม

การเข้ามาของดาบญี่ปุ่นในประเทศไทย ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2146-2410) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา โดยเฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศ ห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญต่างๆ ในพระราชสำนัก อีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบัน เรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้น

ในสมัยอยุธยา ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยาม เช่น ไม้กฤษณา, ไม้ฝาง, น้ำกุหลาบ, พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไรแตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" แตกทัพจากการรบที่เซะกิงะฮะระ ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากในประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่น ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

Credit: http://board.postjung.com/696788.html
#เปิดตำนานดาบซามูไร
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
6 ส.ค. 56 เวลา 21:37 2,331 5 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...