สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมว่า นักประดาน้ำในออสเตรเลียได้สัมผัสและบันทึกภาพหนอนทะเลพันธุ์ประหลาดซึ่งมีแสงเรืองในตัวเอง นอกชายฝั่งเมืองทาสมาเนีย ซึ่งถูกตั้งฉายาว่า "ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล"
รายงานระบุว่า หนอนทะเลหายากดังกล่าวซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Pyrostremma spinosum" มีลำตัวยาวกว่า 30 เมตร หรือเท่ากับรถโดยสารสองคันต่อกัน โดยลำตัวที่มีลักษณะเรืองแสงของมันเกิดจากโคลนขนาดเล็กนับพันกลุ่ม ที่สามารถดูดน้ำผ่านท่อ และกินแพลงตอนเป็นอาหาร ก่อนจะคายเศษแพลงตอนออกมา และมันถูกจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล ซึ่งหมายถึงมันจะว่ายน้ำได้อย่างอิสระและอยู่ในพื้นที่ทะเลเปิดมากกว่าใกล้ชายฝั่ง และทำให้ยากที่จะพบเห็นมัน โดยมีเพียงนักประดาน้ำเท่านั้น ที่จะสามารถเห็นมันได้
ด้านนักประดาน้ำรายหนึ่งระบุว่า หนอนทะเลพันธุ์นี้ตัวใหญ่มาก ดูน่ากลัว และเคลื่อนตัวผ่านท้องทะเลระดับลึก แต่มีลักษณะนิ่ม จนคล้ายกับงูมีปีก ส่วนผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งระบุว่า พื้นที่คาบสมุทรทาสมานในทาสมาเนีย เป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ของโลกที่อาศัยของแพลงตอนวุ้นแห่งท้องทะเลที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง