พิเศษสำหรับคนที่ส่งประกันสังคมครับ
เวลาที่คุณทำงานบริษัท เงินเดือนของคุณทุกเดือน จะถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคม ทุกเดือน บริษัทจะหักเงิน 5% ของเงินเดือนของคุณ (เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว ไม่อ้างอิงตามนโยบายลดเงินสมทบประกันสังคมปี 2555) ดังกล่าวโดยเงินเดือนขั้นสูงสุดที่หักได้คือ 15,000 บาท ซึ่งจะเป็นจำนวนเงิน 750 บาท
ทราบหรือไม่ว่าเงินที่ถูกหักไปนี้ มันไปอยู่ที่ไหนบ้าง??
โดยใน 5% ดังกล่าวจะประกอบด้วย (คิดในกรณีเงินสูงสุด 750 บาท)
สรุปว่าคุณจะถูกหักเป็นเงินออมชราภาพทุกเดือน ๆ ละ 450 บาท ปีละ 5,400.-บาท โดยผลประโยชน์ที่ได้รับจากการออมเงิน 1 ปี 5,400 บาท คือท่านจะได้เงินสบทบอีก 100% จากนายจ้างอีก 5,400 บาท และยังได้ดอกเบี้ยจากประกันสังคม ในแต่ละปี ที่คุณส่งเงินสมทบอีกด้วย
สมมติคุณส่งเงินปี 50 และ ปี 51 ได้ดอกเบี้ย 4.2% และ 4.5 % ตามลำดับ
ดังนั้นเมื่อคุณจะขอคืนเงินออมในประกันสังคม คุณจะได้รับเงินในแต่ละปีเท่ากับ 5,400 บาท (จากที่คุณจ่าย) +5,400 บาท (จากนายจ้าง) + ดอกเบี้ยที่ได้จากประกันสังคมประจำปีนั้น ถ้าคุณส่งทั้งหมด 10 ปี คุณจะเห็นว่าเงินที่ขอคืนนั้นไม่น้อยเลยทีเดียว จึงอยากจะเตือนทุก ๆ คนว่าอย่าลืมขอคืนเงินเมื่อเกษียณอายุด้วยนะคะ
ส่วนหลักเกณฑ์ที่จะบอกว่าเกษียณคืออะไร นั้นคือ คุณต้องมีอายุ 55 ปีก่อนถึงจะมีสิทธิเบิกเงินจำนวนดังกล่าวได้ หรือถ้าอายุ 55 ปีแล้วยังทำงานอยู่ก็จะเบิกได้จนกว่าคุณจะเลิกทำงาน ซึ่งก็คือเมื่อเลิกส่งประกันสังคมนั่นเอง และที่สำคัญ จะต้องทำเรื่อง ขอคืนเงินออมชราภาพ ให้เสร็จสิ้นก่อน 1 ปีหลังจากเกษียณ ขอย้ำว่า ห้ามเกินแม้แต่วันเดียว!!!
สำหรับคนที่อายุ 55 ปีแล้ว จะขอคืนเงินแต่ทำงานมาน้อยกว่า 15 ปี (หรือส่งประกันสังคมน้อยกว่า 15 ปี ทางสำนักงานประกันสังคม จะจ่ายเงินเป็นก้อนหรือที่เรียกกันว่า “บำเหน็จ” แต่ถ้าส่งเงินประกันสังคมเกิน 15 ปี จะได้เป็นบำนาญ โดยในแต่ละปีที่เกินมา จะได้เงินเพิ่มร้อยละ 1% ซึ่งหมายความว่า ถ้าส่งประกันสังคม 20 ปี จะได้ 15% (ขั้นต่ำ) + 5% (5 ปีที่เกินมา) รวมเป็น 20% โดยจะคิดจากเงินเดือนสูงสุดคือ 15,000 บาท
สรุปได้ว่าคุณจะได้รับเงินบำนาญจากประกันสังคม เดือนละ 3,000 บาททุกเดือน
เห็นไหมคะทุกท่าน เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อรวมกันเข้าหลาย ๆ ปีมันก็ไม่น้อยเลย แถมถ้าส่งเงินประกันสังคมเกิน 15 ปี จะได้เป็นบำนาญ เอาไว้เลี้ยงชีพยามชราได้อีกด้วย
สิทธิประโยชน์สำหรับคนทำงานเช่นนี้ รู้ไว้ได้ประโยชน์ค่ะ หากคุณยังไม่เข้าใกล้วัยเกษียณ ก็สามารถบอกต่อไปยังคุณน้า คุณอา คุณป้า คุณลุงได้นะคะ จะได้ไม่เสียสิทธิ