มาดูเครื่องบินรบยุคใหม่ของแต่ละประเทศกัน

 

 

 

 

 

สหรัฐอเมริกา

F-22 Raptor
เป็นเครื่องบินรบล่าสุดของกองทัพสหรัฐ มีระบบ stealth เต็มรูปแบบโดยบรรทุกอาวุธทั้งหมดไว้ในตัวเครื่อง และประตูปิดช่องยิงปืนกลซึ่งช่วยรักษาสภาพล่องหนไว้ ทำให้เรดาห์ตรวจจับได้ยาก มีความสามารถในการโจมตีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีภาคพื้น การโจมตีด้วย EMP (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) และการสอดแนมโดยไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว เป็นหนึ่งในเครื่องบินที่มีเรดาห์ไฮเทคที่สุดในโลก สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาด 1 ตร.ม. ในระยะ 200-240 กม. ถูกพัฒนาโดย Lockheed Martin Aeronautics และ Boeing Integrated Defense Systems โดยมีโครงสร้างพื้นฐานจาก F-15 ปัจจุบันมีราคาเครื่องละ 142.6 ล้านUS$ ถูกสั่งซื้อโดย USAF ทั้งหมด 187 ลำ



F-35 Lightning II
เป็นเครื่องบินรบล่าสุดที่ทาง USAF ต้องการให้เข้าประจำการภายใน 2016 เป็นเครื่องบินรบ stealth แบบหลายรูปแบบ ทั้งโจมตีภาคพื้นและอากาศ มีเครื่องยนต์เดี่ยว และมีความสามารถพิเศษคือสามารถบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งได้ โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะค่อนข้างใหม่กว่า F-22 ถูกพัฒนาโดย Lockheed Martin, Northrop Grumman และ BAE Systems โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ต้นทุนเครื่องละ 83 ล้านUS$


MQ-9 Reaper
เป็นเครื่องบิน UCAV หรือเครื่องบินรบไร้คนขับรุ่นที่ 2 ต่อจาก MQ-1 Predator ที่ได้ประจำการอยู่ใน USAF ถูกออกแบบโดย General Atomics Aeronautical Systems โดยระบบควบคุมนั้น การควบคุมนั้นถ้าใครเคยเล่น ACE COMBAT หรือ H.A.W.X. ก็คงทะแม่งๆอยู่ กองบินที่ 174 ของหน่วยพิทักษ์น่านฟ้านิวยอร์ค เป็นหน่วยบินแรกที่เปลี่ยนเครื่องบินมาใช้ UCAV ทั้งหมด ขนาดเทียบเท่าเครื่องโดยสารขนาดเล็ก ทำงานด้วยเครื่องยนต์ใบพัด มีความสามารถในการโจมตีอากาศสู้พื้นและอากาศสู่อากาศ สามารถบรรทุกจรวดฝักแบบ hellfire ได้ 14 ลูก ต้นทุนเครื่องละ 10.5 ล้านUS$ + เซนเซอร์


จีน

Chengdu J-10 (歼十)
เป็นเครื่องบินรบหลักรุ่นล่าสุดท่าทางกองทัพจีนพัฒนาขึ้นมา มีความสามารถในการโจมตีในทุกสภาพอากาศ มีฉายาว่า "Vigorous Dragon" หรือ"มังกรผงาด" (แปลซะ ) ในตอนแรกถูกออกแบบให้มีลักษณะแบบ MiG-MFI ของรัสเซีย แต่ตอนหลังถูกออกแบบใหม่ให้เหมือน F-16 สามารถติดฝักจรวดขนาด 90 มม.ได้ พัฒนาโดย Chengdu Aircraft Industry Corporation ราคาต้นทุนเครื่องละ 28 ล้านUS$

ต้นแบบของ Chengdu J-10

รัสเซีย

Mikoyan MiG-35
เป็น fighter ตระกูล MiG ยุค4++ รุ่นล่าสุด พัฒนามาจาก MiG-29M/M2 และ MiG-29K/KUB ใช้เรดาห์ AESA ทำให้สามารถติดต่อภาคพื้นได้อย่างสะดวก และตรวจจับเป้าหมายภาคอากาศในระยะ 160กม. ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นพัฒนา

 

 

Sukhoi Su-35BM
เป็น Sukhoi รุ่นพัฒนาจาก Su-35 เป็นเครื่องบินชั้นหนัก ปฏิบัติการระยะไกล ออกแบบให้ระบบแสดงผล LCD ได้ดียิ่งขึ้น สามารถเชื่องระบบ datalink กับดาวเทียมได้ ทัพอากาศรัสเซียได้สั่งซื้อเป็นจำนวน 48 ลำในปี 2015 ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นพัฒนา


Sukhoi Su-37 'Flanker-F'
เป็น Sukhoi ขั้นทดสอบ โดยไม่มีท่าทีว่าจะนำเข้าสู่สายการผลิตแต่อย่างใด ถูกพัฒนาจาก Su-35 ให้มีความสามารถในควบคุมแรงขับมากขึ้น


Sukhoi Su-47 Berkut (Golden Eagle) 'Firkin'
เป็น Sukhoi ขั้นทดลอง พัฒนามาจาก Su-35 โดยมีลักษณะที่แปลกคือมีปีกยื่นไปด้านหน้า แล้วใช้ปีกเล็ก (canard) ในการควบคุมแทน มีความสามารถในการควบคุมแรงขับสูง สามารถทนแรง 9g ได้นานขึ้น ห้องนักบินถูกออกแบบใหม่เพื่อความสบายของนักบินและเก้าอี้ดีดตัวรุ่นใหม่ ปัจจุบันยังไม่มีการพัฒนาระบบต่อ เนื่องจากการพัฒนาของ MiG รุ่นใหม่



ฝรั่งเศส

Dassault Rafale
เป็นเครื่องบินยุค 4.5 ของ Dassault Aviation มีลักษณะเป็นปีกสามเหลี่ยมและcanard สองเครื่องยนต์ ถูกออกแบบมาเพื่อให้ลงจอดได้ทั้งฐานบินและเครื่องบรรทุกเครื่องบิน ตัวเครื่องถูกออกแบบให้ลดการสะท้องของสัญญาณเรดาห์ โดยชิ้นส่วนดังกล่าวนั้นเป็นความลับ ห้องนักบินใช้ที่นั่งแบบ Martin-Baker Mark 16F ซึ่งสามารถดีดตัวได้ขณะจอด ใช้เซนเซอร์ RBE2 ซึ่งสามารถติดตามเครื่องข้าศึกได้ถึง 40 ลำ และล็อกเป้า 8 ลำ ปัจจุบันกำลังพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียง ต้นทุน 82-90ล้านUS$



อังกฤษ, เยอรมันนี, อิตาลี, สเปน

Eurofighter Typhoon
Typhoon เป็นเครื่องบินปีกสามเหลี่ยมและใช้ canard มีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่อง Rafale ได้รับความร่วมมือจากหลายชาติในการออกแบบ สร้างขึ้นโดย Alenia Aeronautica, BAE Systems, และ EADS โดยส่งงานผ่าน Eurofighter GmbH มีระบบสั่งงานด้วยเสียงมากถึง 26 คำสั่ง และมีชุดป้องกันแรง G แบบพิเศษซึ่งสามารถทนแรงได้ถึง 9g ตัวเครื่องใช้วัตถุลดการสะท้อนเรดาห์ มีลูกค้ารายสำคัญคือ อังกฤษและเยอรมันนี ต้นทุน 90 ล้านUS$



สวีเดน

JAS 39 Gripen (รหัสประเทศไทย:บข20)
Gripen เป็นเครื่องบินของสวีเดนที่ออกแบบโดยบริษัท Saab เป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่ขึ้นชื่อว่าคุ้มค่าที่สุดสำหรับเครื่องเจ็ทยุค 4.5 ในตอนนี้ มีระบบ datalink ที่ไฮเทคเทียบเท่า F-22 ทำให้สามารถรับสัญญาณจากเรดาห์ภาคพื้นได้ตั้งแต่ระยะ 500 กิโล และสามารถส่งข้อมูลให้เครื่องพันธมิตรได้อีกด้วย และด้วยเรดาห์ที่พัฒนาโดย Ericsson และ GEC-Marconi สามารถตรวจจับศัตรูได้ในระยะ 120 กิโลเมตร และสามารถเปลี่ยนโหมดได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการค้นหาระยะไกล การล็อกเป้าหลายเป้า การโจมตีภาคพื้น ใช้ปีกแบบสามเหลี่ยมและ canard แบบพิเศษ ทำให้สามารถจอดได้ในระยะเพียงไม่กี่ร้อยเมตร และสามารถลงจอดบนถนนหลวงได้ ทางกองทัพอากาศไทยได้สั่งซื้อ Gripen มาทั้งหมด 12 ลำเพื่อมาแทนเครื่อง F-5B/E ซึ่งจะส่งมาล็อตแรกปี 2011



อินเดีย

HAL Tejas
รู้จักในชื่อ Light Combat Aircraft (LCA) เป็นเครื่องบินชนิดเบา แบบหลากภารกิจ ออกแบบโดยใช้ปีกสามเหลี่ยมโดยไม่ใช้ canard ใช้ระบบ "fly-by-wire" ทำให้เครื่องบินได้อย่างคงที่ ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นทดสอบ 

 

 

Credit: http://men.postjung.com/695154.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...