จริงหรือใช้ “เส้นผม” ดักคราบน้ำมันรั่ว ชาวเน็ตแห่แชร์รับบริจาคช่วยเกาะเสม็ด

 

 

 

จริงหรือใช้ “เส้นผม” ดักคราบน้ำมันรั่ว

ชาวเน็ตแห่แชร์รับบริจาคช่วยเกาะเสม็ด

 

 

หลังเกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่ว ที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring)  ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร  ขณะกำลังมีการส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีน้ำมันดิบรั่วออกมาประมาณ 50,000 ลิตร นั้น

ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทำให้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และทำให้บางหาดของเกาะเสม็ด ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้มีกลุ่มคนออกมาระดมหาหนทางในการที่จะช่วยยุติปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้มีผู้รณรงค์ให้ใช้ “เส้นผม” ในการนำมาทำเป็นทุ่นดักน้ำมัน

โดยในเฟบุ๊กได้มีผู้เสนอของรับบริจาคเส้นผม เพื่อนำไปบรรจุในถุงไนล่อน เพื่อใช้ทำเป็น”ทุ่นผม” ที่มีลึกษณะเหมือนฟองน้ำซับคราบน้ำมัน รวมถึงการรณรงค์ให้ร่วมบริจาคเส้นผมจำนวนมาก

ขณะที่หลายคนสงสัยว่า เส้นผมมนุษย์มีคุณสมบัติในการซับน้ำมันได้จริงหรือไม่ และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเส้นผมเหล่านั้นจะไม่เป็นตัวก่อมลภาวะทางทะเลเสียเอง

จากการค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่าในต่างประเทศได้มีการใช้วิธีการเช่นนี้มานานแล้ว  ในเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่อ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2010 จากเหตุแท่นขุดเจาะดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน ของบริษัทบริทิช ปิโตรเลียม เกิดระเบิด จนก่อให้เกิดมลภาวะทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐฯ ได้มีกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ให้มีการบริจาคเส้นผม เพื่อนำไปซับน้ำมันที่ร้่วไหล

ชาวเน็ตแห่แชร์รับบริจาคเส้นผมช่วยเกาะเสม็ด

ลิซา โกติเยร์ ผู้ร่วมก่อตั้งแมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ องค์กรการกุศลด้านสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมจัดตั้งโครงการ “Hair for Oil Spills” ขึ้น เพื่อรวมรวมเส้นผมจากร้านทำผม ร้านตัดแต่งขนสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงแกะ และประชาชนทั่วไป เธอกล่าวว่า บนเส้นผมจะมีต่อมขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่ผิวจำนวนมหาศาล ซึ่งไม่ซึมซับน้ำมันและไม่พองตัว แต่น้ำมันจะสามารถเกาะบริเวณผิวนอกของมันได้

ผมที่ได้รับบริจาคจะถูกนำมาบรรจุลงในถุงน่องไนลอน เพื่อนำไปทำเป็นทุ่นซับน้ำมันที่มีรูปทรงยาว และนำไปวางไว้ตลอดแนวชายฝั่ง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำมันรั่วอีกแรง เนื่องจากกำลังที่มีอยู่เดิมไม่สามารถปกป้องพื้นที่ชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯได้ครอบคลุมนัก แม้จะไม่ได้ผลมากเท่ากับวิธีการกำจัดคราบของหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ แต่เธอก็ยืนยันว่า”ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย”

เทคนิคดังกล่าวได้รับการทดสอบและรับรองจากสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ และเคยถูกใช้ในเหตุการณ์น้ำมันรั่วก่อนหน้านี้มาแล้ว ทั้งเหตุการณ์เรือขนส่งน้ำมัน”คอสโก ปูซาน”รั่วที่อ่าวซานฟรานซิสโก เมื่อเดือน พ.ย. 2007 ส่งผลให้น้ำมันกว่า 202,780 ลิตรรั่วไหลลงทะเล และจากเหตุการณ์น้ำมันกว่า 50,000 แกลลอน รั่วนอกชายฝั่งเกาะกุยมาราส ทางตอนกลางของฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2006

โดยในเหตุการณ์สงครามในอิรัก เมื่อปี 1991 เกิดเหตุทหารอิรักได้ปล่อยน้ำมันหลายล้านตันลงอ่าวเปอร์เซีย ทางการนิวซีแลนด์ ได้ส่งทุ่นดักน้ำมันที่ทำจากขนแกะ ที่สามารถซึมซับน้ำมันได้มากถึง 40 เท่า ของน้ำหนัก เพื่อช่วยในการทำความละอาดทะเล

ชาวเน็ตแห่แชร์รับบริจาคเส้นผมช่วยเกาะเสม็ด

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาพบว่า เส้นผมของมนุษย์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการดักคราบน้ำมันได้ดีกว่า เนื่องจากสารเคลือบลาโนลินที่อยู่บนขนแกะจะลดลงหลังผ่านกระบวนการผลิต ขณะที่น้ำมันบนเส้นผมมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นเป็นตัวกระจาย ที่ช่วยให้น้ำมันเปลี่ยนสภาพเป็นฟิล์มบางๆบนผิวน้ำ

โดยแนวคิดการใช้เส้นผมของคนเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน สามารถย้อนกลับไปในปี 1989 ที่เกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันเอ็กซอน วัลเดซ ชนเข้ากับแนวปะการัง นอกชายฝั่งรัฐอลาสก้าของสหรัฐฯทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลกว่า 119,000 ลูกบาศก์เมตร

ในครั้งนั้น นายฟิล แมคคอรี ช่างทำผมจากรัฐอลาบามาของสหรัฐฯ ได้เกิดแนวคิดว่าเส้นผมของมนุษย์ก็อาจช่วยดักคราบน้ำมันได้ หลังดูข่าวที่เจ้าหน้าที่ใช้ขนของนากทะเลในการขจัดคราบน้ำมัน เขาได้ทดลองเทน้ำมันลงในสระว่ายน้ำยางของลูกชาย และใช้ผมที่เก็บได้จากร้านทำผมของเขา มาบรรจุลงในถุงน่องของภรรยา และภายใน 2 นาที ทุ่นดังกล่าวก็สามารถดักจับน้ำมันได้หมด

ชาวเน็ตแห่แชร์รับบริจาคเส้นผมช่วยเกาะเสม็ด

หลังจากนั้น เขาจึงได้คิดทำธุรกิจแผ่นดักจับน้ำมัน โดยนำเข้าเส้นผมมาจากประเทศจีน และในเหตุการณ์ที่อ่าวเม็กซิโก เขาได้ร่วมมือกับมูลนิธิแมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ เพื่อช่วยพัฒนาระบบการหมุนเวียนเส้นผม ทั้งจากผมมนุษย์และขนสัตว์ที่ได้รับการบริจาค เฉพาะในสหรัฐฯ ได้รับเส้นผมบริจาคกว่า 370,000 ปอนด์ และขนสัตว์กว่า 300,000 ปอนด์

แมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ กล่าวว่า เส้นผมของมนุษย์มีประสิทธิภาพในการดักจับน้ำมันได้มากกว่า เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันตามธรรมชาติน้อยกว่าขนสัตว์ อย่างไรก็ดี มูลนิธิแนะนำให้ผู้บริจาคควรสระผม หรือทำความสะอาดเส้นผมก่อน เนื่องจาก”ทุ่นผม”ใช้แรงงานของอาสาสมัคร เพื่อลดความสกปรกและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ

เบื้องต้น : จุดรับบริจาคเส้นผมยัดถุงน่อง
โครงการ”ผมรักษ์ทะเล” ที่อยู่ส่งถุงเส้นผมดูดน้ำมันดิบ

ร้่านสุนทรภู่ ร้านหนังสือเล็กๆ
38/1 ถ.โพธิ์ทอง เทศบาลเมืองแกลง อ.แกลง จ.ระยอง 21110
โทร. 086-405-6502

ทีมอาสาระยอง ช่วยฟื้นหาดระยองกลับคืนมา
บริษัทแอซซ่าเอ็นจิเนียริ่งแอนด์เซอร์วิสจำกัด.
104/6 ม.7 ต.ทับมา อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000
โทร. -

กทม. จุดรอรับที่ไปรษณีย์ลาดพร้าว
เบื้องต้น วันพุธที่ 31 ก.ค. เวลา 9.00-15.00น.
รอรับที่ไปรษณีย์ลาดพร้าวเพื่อส่งให้ทีมระยอง
โทร. 086-321-0531 คุณธรรมธร

รายละเอียดเกี่ยวกับ เส้นผม ฟองน้ำ น้ำมัน
-ไอเดียนี้มาจาก ช่างตัดผมสตรีจาก Alabama นามว่า Phil mcCrory
-โดยนำเส้นผมมาบรรจุในถุงไนล่อน เป็นท่อนยาวๆ เพื่อใช้ทำเป็นฟองน้ำซับคราบน้ำมันที่รั่วไหลออกมา
-ที่สหรัฐอเมริกามีการขอรับบริจาคเส้นผม และผ้าไนล่อนเป็นเรื่องเป็นราว โดยให้ส่งไปรษณีย์มากัน เพื่อให้ชาวเมืองที่อยู่ตามชายฝั่งช่วยกันนำไปทำฟองน้ำ ซับคราบน้ำมัน
-โดยมันเป็นวิธีง่ายที่ชาวบ้านจะสามารถปกป้อง ทรัพยากรทางธรรมชาติของพวกตนได้เอง
-โดยเส้นผมน้ำหนัก 0.45 กิโลกรัม สามารถซับน้ำมันได้กว่า แกลลอน(3.785 ลิตร)
ซึ่งถ้าเทียบเป็นต่อน้ำหนัก เส้นผมสามารถซับน้ำมันได้ประมาณ 4-6 เท่าของน้ำหนัก
-แต่ถ้าใช้วัสดุไฟเบอร์สังเคราะห์ ที่มีราคาแพงจะซับน้ำมันโดยน้ำหนักได้ 15 เท่า
-และมีการประมาณ ถ้ามีเส้นผมประมาณ 200 ตัน จะสามารถรองรับคราบน้ำมันนี้ได้ทั้งหมด

 

ที่มา: มติชน

Credit: http://news.tlcthai.com/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...