โปรตีน ไกลโคโปรตีน และไกลโคลิปิดประเภทต่างๆ ที่พบหรือแสดงออกบนผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นตัวบ่งบอกหมู่เลือดของเรา แต่กระนั้น หมู่เลือดหรืออย่างน้อยเป็นการแสดงออกของยีนได้ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) เป็นผู้อธิบายหมู่เลือดดั้งเดิมคือ หมู่เลือด ABO ในปี 1900 และแพทย์ได้ค้นพบระบบหมู่เลือดถึง 29 ระบบ ซึ่งมีหมู่เลือดแตกต่างกันหลายร้อยหมู่เลือด แอนติเจนของหมู่เลือด (และภูมิคุ้มกันที่ทำปฏิกิริยากับมัน) มากมายได้ถูกค้นพบจากการทดสอบดูความเข้ากันก่อนการถ่ายเลือด แต่แอนติเจนบางตัวมีหน้าที่เพิ่มเติม ซึ่งอย่างน้อยก็มีความสำคัญพอกันกับการดูความเข้ากัน จากหลักการทางชีวเคมีและชีวโมเลกุลสมัยใหม่ช่วยให้เราแยกแยะลักษณะเฉพาะของสารเหล่านี้ได้ดีขึ้น แม้ว่าโมเลกุลส่วนใหญ่จะไม่มีความจำเป็นต่อหน้าที่ของเม็ดเลือดแดง แต่โมเลกุลบางตัวมีหน้าที่เฉพาะบนเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงเช่น ยอมให้สารประกอบบางตัวเข้าและออก หรือเกาะกับผิวเม็ดเลือดแดง
สำหรับหมู่เลือดบางหมู่ วิวัฒนาการและความกดดันเฉพาะจากสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการอยู่รอดของมัน ตัวอย่างเช่น หมู่เลือด Duffy ที่มีตัวรับ (receptor) ที่ยอมให้ปรสิตโรคมาลาเรียเข้าไปยังเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ดังนั้น ในบางพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา ประชากรที่มีหมู่เลือด Duff เป็นลบจะสามารถอยู่รอดได้ เพราะว่าการไม่มีแอนติเจนต่อหมู่เลือด Duffy ช่วยให้เราสามารถวัดการป้องกันโรคมาลาเรียได้ เปอร์เซ็นต์ของคนที่ไม่มีแอนติเจนต่อหมู่เลือด Duffy จะสูงมากในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย
เรายังไม่รู้ว่าหน้าที่ต่างๆ ของแอนติเจนของหมู่เลือด A และ B (หมู่เลือด O หมายถึง ไม่มีแอนติเจน A และ B) อย่างไรก็ตาม พวกมันอาจจะมีความสำคัญมากที่สุด เพราะว่าพวกมันแสดงออกในเซลล์และเนื้อเยื่อมากมายโดยเฉพาะในเซลล์เม็ดเลือดแดงและอยู่ในพลาสมาเช่นกัน มีความแตกต่างทางสถิติในเรื่องความถี่ของการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหมู่เลือด ABO คือ ผู้ที่มีหมู่เลือด A จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะประมาณ 20% มากกว่าคนที่มีหมู่เลือด O แต่คนที่มีหมู่เลือด O จะมีโอกาสเป็นแผลในกระเพาะมากกว่า เหตุผลของสิ่งเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนนัก
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเกิดโรคเหล่านี้ไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับข้อดีของการอยู่รอดในประชากรหนึ่งได้ เพราะว่าโรคเหล่านี้มักจะเกิดหลังวัยเจริญพันธุ์ (ซึ่งไม่เหมือนกับโรคมาลาเรีย) ในทางตรงข้าม มีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่า คนที่มีหมู่เลือด O สามารถเกิดโรคกาฬโรค (bubonic plague) ได้มากกว่าคนที่มีหมู่เลือดอื่นๆ แต่คนที่มีหมู่เลือด A สามารถเป็นโรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) ได้มากกว่า ความถี่ของการเกิดโรคทั้งสองอาจจะเพิ่มขึ้นในคนที่มีหมู่เลือด B ในประเทศจีน อินเดีย และบางส่วนของรัสเซียที่ประสบกับการระบาดของโรคเหล่านี้ เชื้อโรคที่เป็นพาหะนำแอนติเจนที่คล้ายคลึงกับแอนติเจน A และ B อาจจะมีบทบาทสำคัญในการกระจายตัวที่แตกต่างกันของหมู่เลือดต่างๆ ทั่วโลกก็ได้
ในที่สุดแล้ว ยังมีเรื่องลึกลับอีกมาที่เกี่ยวข้องกับหมู่เลือดครับ มีการอ้างอิงต่างๆ มากมายเช่น คนที่มีหมู่เลือด A เวลาเมาจะมีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว คนที่มีเลือดหมู่ O จะมีฟันดีที่สุด และคนเลือดหมู่ A จะสมองดีที่สุดหรือ IQ สูงนั่นแหละครับ (ว้าว...ผมก็หมู่เลือด A) การอ้างอิงเหล่านี้และอื่นๆ จะต้องใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความโดดทางวิวัฒนาการเป็นตัวตรวจสอบครับ