นางสาวสยาม หรือนางสาวไทยในปัจจุบัน
นางสาวสยามหรือนางสาวไทยในปัจจุบัน จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า “นางสาวสยาม” รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2477 เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญเป็นปีที่สอง แต่เริ่มจัดการประกวดนางสาวสยามเป็นปีแรก กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 – 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา
ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “นางสาวสยาม” จำนวน 5 คน และ “นางสาวไทย” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน ดังนั้น การประกวด”นางสาวสยาม” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “นางสาวไทย” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ
กันยา เทียนสว่าง…นางสาวสยามคนแรก ปี 247712 ธันวาคม พ.ศ. 2477 กันยา เทียนสว่าง วัย 20 ปี คว้าตำแหน่ง “นางสาวสยาม” คนแรกของไทยในงานฉลองรัฐธรรมนูญ การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสีสันสำคัญในงานฉลองฯ กันยา เทียนสว่าง เดิมชื่อลูซิล
วณี เลาหเกียรติ นางสาวสยามปี 2478
วงเดือน ภูมิรัตน์ นางสาวสยามปี 2479 ครองตำแหน่งเมื่ออายุ 14 ปี
มยุรี วิชัยวัฒนะ นางสาวสยาม ปี พ.ศ. 2480
”มยุรี”ได้รับการคัดเลือกเป็นนางสาวสยามคนที่ 4 ขณะอายุ 16 ปี เธอเป็นธิดาของช่างชุบทอง เกิดและเติบโต ย่านเสาชิงช้า เคยย้ายไปใช้ชีวิตอยู่แถวบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านเดิมของผู้เป็นมารดา จากนั้นอายุ 12 ปี เธอจึงย้ายกลับมายังพระนครอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าประกวดนางสาวสยาม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมที่1 หลังจากรับตำแหน่งนางสาวสยามไม่ครบปี มยุรีได้ เข้าพิธีสมรสกับ ร้อยโทอาจ เจริญศิลป์ มีบุตรธิดารวม 5 คน
พิศมัย โชติวุฒิ….นางสาวสยาม ปี 2481 ครองตำแหน่งขณะอายุ 18 ปี
เรียม แพศยนาวิน นางสาวไทยคนแรกของประเทศไทย ปี 2482 ครองตำหน่งขณะอายุ 16 ปี
เรียมเป็นสาวมุสลิมคนแรก และคนเดียวที่ครองตำแหน่งนี้ เรียมขึ้นเวทีด้วยชุดกระโปรงความยาวครึ่งเข่าเชื่อมติดกับตัวเสื้อ มีสายโยงด้านหน้าอ้อมไปผูกทีด้านหลัง ซึ่งเว้าลึกมาถึงครึ่งหลัง
สว่างจิตต์ คฤหานนท์ นางสาวไทยปี 2483 เป็นสาวไทยคนแรกที่นุ่งกางเกงสั้นเหนือเข่าขึ้นเวที
ปี 2486 มีเฉพาะสาวงามจากกรุงเทพฯและธนบุรีที่เข้าประกวดตำแหน่งได้เปลี่ยนไปเป็น ดอกไม้แห่งชาติ และผู้ที่ได้ตำแหน่งนี้คือ ปิยฉัตร บุญนาค เธอเป็นคนแรก และคนเดียวที่ครองตำแหน่งนี้
ลัดดา สุวรรณสุภา นางสาวไทยปี 2491 หลังจากหยุดไปหลายปี สื่อบางฉบับให้สมญานามว่า “ บุหงาปัตตานี ” เนืองจากเข้าประกวดในนามจังหวัดนี้ ทั้งที่เป็นชาวกรุงเทพฯ เธอครองมงกุฏเมื่ออายุ 16 ปี
อัมพร บุรารักษ์ นางสาวไทยปี 2493 เนื่องจากปี 2492 งด อัมพร บุรารักษ์ เป็นสาวงามคนแรกที่สวมชุดว่ายน้ำผ้าไหมขึ้นเวทีนางสาวไทย เธออายุ 18 ปีเป็นคนสันกำแพง เชียงใหม่ เป็นเอื้องเหนือคนแรกที่ครองตำแหน่งนี้
อุษณีย์ ทองเนื้อดี สาวงามอายุ 18 ผู้อยู่ในชุดว่ายน้ำผ้าไหมสีชมพูกลีบบัว เป็นผู้พิชิตมงกุฏนางสาวไทยปี2494 ชื่อของเธอยังมีความหมายว่า มงกุฏ
คุณสุชีลา ศรีสมบูรณ์ นางสาวไทย ปี พ.ศ.2497
นวลสวาท ลังกาพินธุ์หรือเปาโรหิตย์ อดีตรองนางสาวไทย ปี 2496