ย้อนรอยอดีต เพชรซาอุฯ คดีโจรกรรมครั้งประวัติศาสตร์

 

 

 

 

 

ย้อนรอยอดีต เพชรซาอุฯ คดีโจรกรรมครั้งประวัติศาสตร์ 

เริ่มจาก วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานไทยชาวลำปาง ที่ทำงานอยู่ในพระราชวังของ กษัตริย์ไฟซาล (King Faisal) แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้ขโมยเครื่องเพชรของ เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด (Prince Faisal Bin Fahd Bin Abdul Aziz) มูลค่าหลายร้อยล้านบาทหนีกลับมาประเทศไทย ซึ่งนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฎกรรม "คดีเพชรซาอุฯ" อันลือลั่น

 

แม้จะผ่านมาเป็นเวลานานกว่า 21 ปีแล้ว ทว่า คดีเพชรซาอุฯก็ยังถือเป็นคดีที่สำคัญคดีหนึ่งของไทย ที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างชนิดไม่มีใครคาดถึง ทั้งการที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศซาอุดิอาระเบียมีรอยร้าวลึกมาจนถึงปัจจุบัน ภาพลักษณ์ของประเทศที่เสียไป พร้อมกับความด่างพล่อยของวงการตำรวจไทย 


เพชรล้ำค่าชุดนี้ทางเชื้อพระวงศ์ของซาอุฯ ต้องการได้คืนมากที่สุด เนื่องจากเป็น "เพชรอาถรรพณ์" แม้กระทั่งช่างที่เจียระไนก็ต้องมีอันเป็นไปสาบสูญไปจากโลก จึงเป็นเพียงเพชรชุดเดียวที่มีอยู่ในโลก และไม่ว่าจะตกไปอยู่ในมือใคร กษัตริย์ซาอุฯ ก็จะจำได้เสมอ เพราะมีการทำตำหนิไว้ด้วย "แสงอินฟราเรด" อยู่ภายในใจกลางของเม็ด แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครหาพบ!? 


รมว.กระทรวงยุติธรรมคนใหม่จึงทำการรื้อคดีเพชรซาอุฯขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีความมุ่งหวังว่าทางประเทศซาอุดิอาระเบียจะเห็นถึงจริงใจและความพยายามในการคลี่คลายคดีนี้ เพื่อที่จะได้พัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม


กระนั้น การตามหาเพชรเม็ดสำคัญ คือ บลูไดมอนด์ กลับมาตามที่ทางประเทศซาอุดิอาระเบียร้องขอ ก็เป็นเรื่องที่ยากพอๆกับการงมเข็มในมหาสมุทร


หลังจากนายเกรียงไกรกลับมาประเทศไทยก็ได้นำเพชรที่ได้มาไปกระจายขายตามที่ต่างๆ หลังจากนั้นทางการซาอุดิอาระเบียก็แจ้ง มายังรัฐบาลไทย โดยในระยะแรกให้การปฏิเสธ 


จากนั้นจึงตั้งคณะกรรมการสืบสวนมอบหมายให้ พล.ต.ต. ชลอ เกิดเทศ เป็นหัวหน้า ขณะนั้นนายเกรียงไกรยังไม่ถูกจับกุม นสพ.ลงข่าวเพิ่มความกดดันให้กับผู้ต้องหาอย่างมาก เพราะถ้าถูกจับตัวส่งไปก็ถูกแขวนคอตายสถานเดียว นายเกรียงไกรเห็นตัวอย่างในประเทศซาอุฯมาแล้ว ขนาดลักทรัพย์ธรรมดายังถูกตัดมือ แต่นี่ลักในพระราชวังกษัตริย์ไฟซาลผู้มีอำนาจ ก็คงจะถูกประหารชีวิต 


ดังนั้น นายเกรียงไกรจึงหนีสุดชีวิต ถึงขนาดพกยาไซยาไน้ท์ติดตัวตลอดเวลา ถ้าถูกจับตัวได้ก็จะรีบกินยาไซยาไน้ท์ฆ่าตัวตายทันที

 

ไม่นานตำรวจก็สามารถจับกุมตัวนายเกรียงไกรได้ พร้อมของกลางเป็นเพชรจำนวนหนึ่ง สำหรับส่วนที่หายไปทีมสืบสวนก็ต้องดำเนินการตามหาต่อทางการไทยตัดสินใจไม่ส่งไปดำเนินการที่ซาอุฯ เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายที่นั่นรุนแรงเกินไป โดยศาลได้พิพากษาตัดสินจำคุก นายเกรียงไกร เตชะโม่งในข้อหาลักทรัพย์ 7 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือ 3 ปีครึ่ง สรุปติดจริงไม่ถึง 3 ปี 


ในตอนนั้นกระแสสังคมส่วนหนึ่งเห็นว่า โทษที่ได้รับ ไม่สาสมกับสิ่งที่เขาได้กระทำไว้ แต่คดีถึงที่สุดแล้ว เหลือแค่การตามหาเพชรที่เหลือมาคืน คดีก็ควรจะจบลงแค่นั้น


การจับกุมนายเกรียงไกร ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ เริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้าง 
โดยมือปราบอย่าง พล.ต.ท.ชลอ ได้รับการยกย่องจากทางการซาอุฯ ให้เป็นแขกพิเศษ 
แถมยังถูกยกให้ เป็น "ชี้ค" อีกด้วย


แต่....หลังจากนั้นไม่นาน... ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ในสมัยนั้น) ได้ เดินทางไปเยือนซาอุฯ อย่างเป็นทางการ แต่กลับต้องหน้าแตกชนิดที่ว่าหมอไม่รับเย็บเมื่อถูกฝ่ายซาอุฯ ตอกกลับเอาเจ็บๆ ว่า เพชรบางส่วนที่ถูกส่งคืนเป็นของปลอม 


สร้างความไม่พอใจให้ราชวงศ์ซาอุดิอารเบียเป็นอย่างมาก รัฐบาลไทยต้องเจรจาทางการทูต สถานการณ์ในตอนนั้นตรึงเครียดขนาดประเทศซาอุดิอาระเบียไม่รับแรงงานไทยเข้าประเทศ และไม่ยอมให้คนซาอุดิอาระเบียไปประเทศไทย


จากการไล่จับกุมผู้ที่รับซื้อเพชรจากนายเกรียงไกร เนื่องจากของกลางที่มีจำนวนมาก ทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่ามีของกลางบางส่วนหายไปหรือมีการสับเปลี่ยนระหว่างการขนย้าย ซึ่งจากการสืบสวนในภายหลังพบว่า เพชรบางส่วนที่หายไป เป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในคดีนี้เองที่เป็นคนยักยอกไป 


ระหว่างนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิค โคจา อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย 
ก็ลงมือว่าจ้าง "ชุดสืบสวนพิเศษ" เพื่อแกะรอยอย่างลับๆ ว่า เพชรซาอุฯ อยู่ในมือใครบ้าง
สำหรับเพชรชุดที่ ทางการซาอุฯ ต้องการมากที่สุด คือ "บลูไดมอนด์" 
ซึ่งนายเกรียงไกร สารภาพกับนายโคจาว่าได้โจรกรรมมาจริง แต่จำไม่ได้แน่ ชัดว่าอยู่ในมือใครระหว่างพ่อค้าเพชรกับชุดจับกุม


ระหว่าง ที่ ตามหาเพชรบลูไดมอนด์กันอยู่นั้น ก็เกิดเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุฯ ต้องเลวร้ายลงอีกครั้ง ก็เกิด คดี "ฆ่าเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ" และยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้จนบัดนี้ !?!?


นับเป็น 2 คดีบันลือโลกนี้ เองที่ทำให้ฝ่ายไทยกระอักกระอ่วน ใจมาตลอด เพราะ เมื่อใดก็ตามที่นายโคจามีโอกาสได้พบกับตัวแทนระดับสูงฝ่ายไทยก็ มักจะทวงถามอยู่เนืองๆ ว่า
"ช่วยตามเพชร บลูไดมอนด์กับคนร้ายที่ฆ่าคนของ ซาอุฯ ให้หน่อย"

ทีมสืบสวนคดีเพชรซาอุฯที่นำโดยพล.ต.ต. ชลอ เกิดเทศถูกจับกุม และตั้งกรรมการสอบ แต่เนื่องจากทางการไทยต้องการที่จะนำเพชรที่เหลือกลับคืนมาให้ได้ตามที่ซาอุดิอาระเบียต้องการ โดยเฉพาะ เพชรบลูไดมอนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีความงาม และมีมูลค่ามากที่สุด เนื่องจากเป็นเพียงเพชรชุดเดียวที่มีอยู่ในโลก และไม่ว่าจะตกไปอยู่ในมือใคร "กษัตริย์ซาอุฯ" ก็จะจำได้เสมอ เพราะมีการทำตำหนิไว้ด้วย "แสงอินฟราเรด" อยู่ภายในใจกลางของเม็ด 


จนถึงวันนี้ เพชรบลูไดมอนด์ ยังคงหายสาบสูญ…..


พล.ต.ต. ชลอ เกิดเทศจึงได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาทำคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยทางการได้เปิดไฟเขียวถึงขนาดให้ใช้ได้ทุกวิถีทางในการนำเพชรที่เหลือกลับคืนมาให้ได้


จากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุฯ ก็เริ่มเกิดแสงสว่างรำไรขึ้น เมื่อ นายเกรียง ไกรกล่าวพาดพิงถึงพ่อค้าเพชรย่านสะพานเหล็ก ชื่อ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ โดยซัดทอดว่า นายสันติได้ซื้อเพชรไปจากนายเกรียงไกรเป็นจำนวนมาก รวมหลายครั้งด้วยกันจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของคดีสะเทือนขวัญ "อุ้มฆ่าสองแม่ลูกศรีธนะขัณฑ์"


แต่นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ ไม่ยอมคืนเพชรให้ 

ตำรวจในทีม พล.ต.ต. ชลอข่มขู่คุกคาม ในที่สุดพล.ต.ต. ชลอก็ตัดสินใจให้สมุนตั้งด่านหน้าซอยบ้านนายสันติ ระหว่างที่ภรรยาของนายสันติคือ นางดาราวดี กำลังจะไปส่งลูกชาย ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ที่โรงเรียน ทีมของพล.ต.ต.ชละก็ได้จับทั้งคู่ไปกักขัง เพื่อบังคับให้นายสันตินำเพชรส่วนที่เหลือมาคืน ซึ่งนายสันติก็ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ ว่าลูกและเมียถูกอุ้ม


หลังจากที่กักขัง นางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ไว้นานเป็นเดือน ประกอบกับสองแม่ลูกจำหน้าทีมอุ้มได้ ทีมอุ้มเริ่มกลัว "ความลับรั่วไหล" จึงได้วางแผน "ฆาตกรรมอำพราง" โดยลงมือกระหน่ำ ตีจนเสียชีวิต ก่อนจะยัดร่างใส่รถเบนซ์ ที่จอดอยู่กลางถนนเพื่อ "จัดฉาก" ให้รถบรรทุกพุ่งชนบริเวณ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ต่อมา ทีมสอบสวนชุดใหม่กลับสืบพบว่าเป็นการ อุ้มฆ่า จึงได้ทำการจับกุมตัว พล.ต.ต. ชลอ และลูกน้องทั้ง 9 คน มาดำเนินการทางกฎหมาย 


ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้ประหารชีวิต พล.ต.ต. ชลอ ซึ่งโทษที่ได้รับจริงๆคือการจำคุกตลอดชีวิต และคดีเพชรซาอุฯก็ถูกปิดลงอย่างเด็ดขาดในทางกฏหมาย 



จนมาในปี 2551 คดีนี้กำลังจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง 

และในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 คดีนี้ก็เป็นอันสิ้นสุดตามคำพิพากษาของศาลฎีกา



คดีประวัติศาสตร์ ศาลอาญารัชดา นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์อดีตเจ้าของร้านเพชร ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ กับพวก รวม 9 คน ในความผิดฐาน ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน , เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพ และความผิดอื่น รวม 9 ข้อหา จากกรณี เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2537 จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ได้ร่วมกันสืบสวนในคดีเพชรซาอุ และร่วมกัน อุ้มฆ่า นางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ธนะขัณฑ์ ภรรยาและบุตรชายของ นายสันติ จากนั้น อำพรางคดีว่า 2 แม่ลูกถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุ เพื่อปกปิดความผิดของพวกจำเลย พร้อมกันนั้น จำเลยได้นำทรัพย์สินของผู้ตาย กว่า 5 แสน 6 หมื่นบาทไปด้วย



ซึ่งคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.45 ให้จำคุกตลอดชีวิต พล.ต.ท.ชลอ จำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน 


ส่วน ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษา วันที่ 3 มี.ค. 49 แก้เป็นว่า ให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ ต่อมา จำเลยยื่นฎีกา และศาลฎีกา ได้ส่งคำพิพากษามาที่ศาลอาญา รัชดาแล้ว เพื่อให้ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาชั้นฎีกา 


ในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 เวลา 09.30 น. โดยศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาแล้ว โดยยืนโทษประหารชีวิต ตามคำตันสินของศาลอุทธรณ์

 

 

 

 

  ซ้ำแน่ๆแต่อยากให้อ่าน

 

Credit: http://board.postjung.com/694834.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...