มารยาทบน"บันไดเลื่อน"จำเป็นต้องมีหรือไม่? แล้วทั่วโลกเขายืนกันแบบไหน?

 

 

 

มารยาทบน"บันไดเลื่อน"จำเป็นต้องมีหรือไม่?

แล้วทั่วโลกเขายืนกันแบบไหน?

 

 

สถานีรถไฟใต้ดินกรุงลอนดอนจะมีป้ายแนะนำให้ประชาชนยืนชิดขวา และเดินชิดซ้าย

ในการประกาศแผนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้บันไดในอาคารสำนักงานต่างๆ เขากล่าวว่า เขามักเดินขึ้นบันไดเลื่อน แทนที่จะยืนเฉยๆ แต่จากพฤติกรรมของคนทั่วไปพบว่า จะวิ่งหรือเดินขึ้นบันไดเลื่อนก็ต่อเมื่อใช้บริการสถานีรถไฟใต้ดิน ขณะที่ตามศูนย์การค้า ผู้คนไม่มีความเร่งรีบที่ต้องทำเช่นนั้น

พฤติกรรมของนายบลูมเบิร์กถือเป็นคนส่วนน้อยของผู้ใช้บันไดเลื่อนทั่วโลก ผลการศึกษาพบว่า ผู้คนจะเดินขึ้นหรือลงบันไดเลื่อนของสถานีรถไฟใต้ดินราวร้อยละ 25 ขณะที่นครเซี่ยงไฮ้ของจีน มีผู้เดินขึ้นหรือลงเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น และในบางประเทศ การกระทำเช่นนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำ

โดยที่นครโตรอนโตของแคนาดา ป้ายที่กระตุ้นให้ประชาชนเดินชิดซ้ายบนบันไดเลื่อนถูกปลดออก ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เช่นเดียวกับที่กรุงโตเกียว แต่ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตาม ส่วนที่บันไดเลื่อนกว่า 426 แห่งของสถานีรถไฟใต้ดินกรุงลอนดอน จะมีป้ายแนะนำให้ประชาชนยืนชิดขวา และสามารถเดินชิดซ้ายได้

 

 

ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยกรีนิช พบว่าจากการสังเกตประชาชนที่ใช้บริการที่สถานีแพดดิงตันร้อยละ 90 กว่าร้อยละ 75 ยืนชิดซ้ายบนบันไดเลื่อน แต่นักวิจัยกลุ่มเดิมที่นำโดยนายเอ็ดวิน กาเลีย พบว่าที่นครเซี่ยงไฮ้ มีผู้ใช้เพียงร้อยละ 2.4 ที่เดินบนบันไดเลื่อน และไม่มีคำแนะนำให้ยืนหรือเดินข้างใดข้างหนึ่ง

ทั้งนี้ บันไดเลื่อนทั่วโลก ที่มีระบบการเดินและยืนนั้น พบว่ามักเว้นช่องทางซ้ายสำหรับการเดิน เพื่อให้การสัญจรเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น แต่กลับพบว่าที่ออสเตรเลีย กลับเว้นช่องทางขวาไว้สำหรับเดินแทน กาเลียกล่าวว่า แม้ประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะให้เดินทางซ้าย แต่ก็ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ อาจเป็นการกำหนดแบบสุ่มเลือกหรือเป็นการกำหนดโดยเลียนแบบจากที่อื่น หรืออาจเกี่ยวกับระบบการสัญจรบนถนนของแต่ละประเทศ

ขณะที่อังกฤษขับรถชิดซ้าย การเปิดช่องซ้ายสำหรับเดินจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ในประเทศที่ขับชิดขวา เหตุผลจึงอาจเป็นว่าในเมื่อขับรถเลนขวาแล้ว ก็ควรจะเดินเลนซ้าย

แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกคือ ปัญหาคนที่ชอบยืนขวางบันไดเลื่อน แฮมิลตัน โกลาน นักเขียนชาวนิวยอร์ก ผู้ใช้บริการรถไฟใต้ดินเสมอๆ กล่าวว่า การกระทำของคนเหล่านั้น อาจเท่ากับเป็นการ”ขโมยเวลา”ของผู้ที่อยู่ข้างหลัง ที่ทำให้อาจตกรถไฟ และทำให้เสียเวลารอรถไฟอีกหลายนาที ซึ่งเวลาเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับคืนมาได้อีกเลย โกลานกล่าวว่า นี่ไม่ใช่สงครามที่เปิดเผย แต่เป็นสงครามที่รุกรานจิตใจของผู้ที่ถูกบังคับให้ต้องรออย่างไม่เต็มใจ

อย่างไรก็ดี ฝ่ายผู้ที่ยืนขวางก็ออกมาแย้งว่า ผู้ที่อยู่ข้างหลังควรมีความอดทนมากกว่านี้ เนื่องจากบันไดเลื่อนกำลังทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มความสามารถอยู่

ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง ผู้ยืนกล่าวว่า หากรีบจริงๆ ทำไมพวกเขาไม่วิ่งลงบันได และแม้ขณะที่บันไดเลื่อนเต็มไปด้วยผู้ใช้บริการจนแน่น ก็ยังมีคนที่พยายามสอดแทรกตัวไปตามช่องว่างเล็กๆ  ขณะที่ฝ่ายผู้ที่วิ่งหรือเดิน ตำหนิว่าอีกฝ่ายเป็นพวกต่อต้านสังคม ที่ชอบยืนผิดข้าง ยืนโดยไม่เว้นที่ว่างพอให้คนอื่นเดินผ่านได้ หรือชอบว่างข้าวของสัมภาระเกะกะทางเดิน

 

ด้านเฮเลน เช็ง ศิลปินชาวซานฟรานซิสโก ได้วาดภาพการ์ตูนประกอบการถกเถียงครั้งนี้ และถูกนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ The Bold Italic เมื่อเดือนมกราคม ที่แสดงให้เห็นมารยาทที่”ควร”และ”ไม่ควร”กระทำ ขณะใช้บันไดเลื่อน โดยเธอระบุว่า การใช้บันไดเลื่อนถือเป็นเรื่องสากลนิยม เช่นเดียวกับการจราจรบนถนน ทุกคนต่างก็มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวได้เช่นกัน

ที่นครโตรอนโต ความตึงเครียดเรื่องการใช้บันไดเลื่อนถูกจุดประเด็นขึ้นนับตั้งแต่ป้ายที่แจ้งให้คนเดินชิดซ้ายถูกถอดออกไป ผู้ใช้รายหนึ่งกล่าวว่า นับตั้งแต่นั้นก็แทบไม่มีใครสนใจที่จะทำตามอีก คนยืนชิดขวาบ้างซ้ายบ้าง โดยไม่สนใจว่าคนเดินจะทำอย่างไร  ด้านโฆษกคณะกรรมการการขนส่งโตรอนโต กล่าวว่า เขายังไม่เคยได้รับรายงานอุบัติเหตุใดๆ จากการใช้บันไดเลื่อน นับตั้งแต่นั้น

แม้อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ที่กรุงปักกิ่ง เคยมีรายงานอุบัติเหตุ เมื่อบันไดเลื่อนเกิดเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนอย่างกะทะหัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก นอกเหนือจากนี้ ก็มีเพียงกรณีที่ผู้ใช้รองเท้าหรือกะโปรงติดในบันไดเลื่อน และแทบไม่มีผู้เสียชีวิต

 

และหากต้องการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากบันไดเลื่อนจริงๆ ขอแนะนำให้ไปที่รัฐไวโอมิงของสหรัฐฯ เพราะที่นั่น มีบันไดเลื่อนทั้งรัฐเพียง 2 ตัว ที่เมืองแคสเปอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในธนาคารฮิลท็อป เนชันแนล แบงก์ หรือมีบันไดเลื่อนเฉลี่ย 0.000003467 ตัว ต่อประชากร ในปี 2012

ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสื่อท้องถิ่นที่นั่นระบุว่า แต่เดิมมีบันไดเลื่อนอีกแห่งที่ห้างสรรพสินค้าเจ.ซี. เพนนีย์ ที่เมืองเชเยนน์ ซึ่งเป็นเมืองเอกของรัฐ แต่ได้ถูกทำลายไปพร้อมกับห้าง เจ้าหน้าที่รัฐเชื่อว่าเป็นเพราะอาคารส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่า ซึ่งไม่สามารถต่อเติมบันไดเลื่อนได้

แปลและเรียบเรียงจาก “Escalator etiquette: The dos and don′ts”

โดย Tom Geoghegan

Credit: http://fanthai.com/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...