คุณค่าแห่งการรู้คุณค่า
The Story of Appreciation
หนุ่มน้อยเพิ่งจบการศึกษาด้วยผลการ เรียนดีเยี่ยมไปสมัครงานใน
ตำแหน่งผู้จัดการบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง
หลังจากผ่านการสอบสัมภาษณ์ครั้งแรกไปแล้ว
ผู้อำนวยการได้เรียกเขาไปสัมภาษณ์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนตัดสินใจ
ผู้อำนวยการ เห็นข้อมูลในประวัติของเด็กหนุ่มคนนี้ว่ามีผลการเรียนเป็นเลิศในทุกวิชาตลอดมา
นับตั้งแต่อุดมศึกษาจนจบมหาวิทยาลัย ไม่ปรากฏว่าเขาทำคะแนนตกเลย
ผู้อำนวยการเริ่มคำถามว่า “เธอเคยได้รับทุนการศึกษาอะไรหรือเปล่า?”
เด็กหนุ่มตอบว่า “ไม่เคยครับ”
ผู้อำนวยการถามต่อว่า “คุณพ่อของเธอเป็นคนจ่ายค่าเล่าเรียนให้ใช่ไหม?”
เด็กหนุ่มตอบว่า “คุณพ่อของผมเสียไปตั้งแต่ผมอายุได้ขวบเดียวครับ
เป็นคุณแม่ที่จ่ายค่าเล่าเรียนให้ผม”
ผู้อำนวยการถามต่อว่า “คุณแม่ของเธอทำงานที่ไหน?”
เด็กหนุ่มตอบว่า “คุณแม่รับจ้างซักผ้ารีดผ้า″
ผู้อำนวยการขอดูมือของเขา
เด็กหนุ่มยื่นมือที่เรียบลื่นไม่มีที่ติให้ผู้อำนวยการดู
ผู้อำนวยการถามต่อว่า “เธอเคยช่วยคุณแม่ของเธอทำงานบ้างหรือเปล่า?”
เขาตอบว่า “ไม่เคยครับ คุณแม่ต้องการให้ผมเรียนแล้วก็อ่านหนังสือเยอะๆ
คุณแม่ซักผ้าได้เร็วกว่าผมด้วยครับ”
ผู้อำนวยการบอกว่า “ฉันมีเรื่องให้เธอช่วยทำอย่างหนึ่งนะ วันนี้ เธอกลับไปที่บ้าน
ช่วยล้างมือของคุณแม่ของเธอแล้วกลับมาพบฉันอีกทีพรุ่งนี้เช้า″
ด้วยความมั่นใจว่าโอกาสที่จะได้งานทำมีอยู่สูงมาก
เมื่อเขากลับไปถึงบ้านเขา จึงรู้สึกเต็มใจที่จะล้างมือให้แม่ของเขา
ฝ่ายแม่รู้สึกประหลาดใจระคน หวั่นใจ เธอส่งมือให้ลูก
หนุ่มน้อยค่อยๆ ล้างมือให้แม่ แล้วน้ำตาไหลก็ออกมา
เขาเพิ่งรู้สึกว่ามือของแม่นั้นช่างเหี่ยวย่นและ เต็มไปด้วยริ้วรอยขูดข่วน
ซึ่งบางแผลพอโดนล้างน้ำก็ทำให้แม่เจ็บจนตัวสั่นระริก
นี่เป็นครั้งแรกที่เด็กหนุ่มตระหนักรู้ว่า
มือคู่นี้เองที่ซักผ้าทุกวัน เพื่อหารายได้มาส่งเสียให้เขาได้เล่าเรียน
รอยแผลเหล่านี้คือ ราคาทีแม่ต้องจ่ายไปเพื่อความสำเร็จในการศึกษาของเขา
เพื่อผลการเรียนที่ ยอดเยี่ยมของเขาและอาจจะเพื่ออนาคตของเขาด้วย
คืนนั้นสองแม่ลูกได้คุยกัน อยู่นาน
เช้าวันต่อมา เด็กหนุ่มก็เดินทางไปที่ออฟฟิศของผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการสังเกตเห็นน้ำตาในดวงตาของเขา จึงพูดขึ้นว่า
“ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่าเมื่อคืนที่บ้าน เธอทำอะไรบ้าง แล้วได้บทเรียนอะไร?”
เด็กหนุ่มตอบว่า “ผมล้างมือให้แม่ครับ แล้วก็เลยช่วยแม่ซักผ้าที่เหลือจนเสร็จ”
ผู้อำนวยการบอกว่า “ช่วยเล่าให้ฉันฟังหน่อยว่า เธอรู้สึกยังไง”
เด็กหนุ่มตอบ
“ข้อที่หนึ่ง ผมได้รู้ซึ้งถึงคำว่า สำนึกในบุญคุณ ถ้าไม่มีแม่ก็คงไม่มีความสำเร็จของผมด้วย
“ข้อที่สอง จากการช่วยแม่ทำงาน
ผมได้รู้ว่ามันลำบากยากเย็นยังไงกว่าจะทำอะไรออกมาสักอย่างหนึ่ง”
“ข้อที่สาม ผมได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของความรักและความผูกพันในครอบครัว ”
ผู้อำนวยการจึงบอกว่า
“นี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ ฉันอยากได้ คนที่รู้ค่าของการได้รับความช่วยเหลือ
อยากได้คนที่เข้าใจถึงความลำบาก ของใครสักคนในการจะทำอะไรได้มาสักอย่าง
และอยากได้คนที่ไม่ได้ตั้งเงิน เป็นเป้าหมายในชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว
มาเป็นผู้จัดการให้ฉัน เป็นอันตกลงว่าฉันรับเธอไว้ทำงาน”
ในเวลาต่อมา เด็กหนุ่มคนนี้ก็ได้ทำงานอย่างหนักและได้รับความนับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ลูกจ้าง ทุกคนทำงานเป็นทีมอย่างขยันขันแข็ง กิจการของบริษัทก็เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี
เด็กที่ถูกตามใจจนเป็นนิสัยได้รับทุกอย่างที่ต้องการ
จะสร้างนิสัยเอาแต่ใจตัวเองและเห็นแก่ตัวเองเป็นอันดับแรก
เขาจะไม่สนใจ ความเหนื่อยยากของพ่อแม่
เมื่อถึงวัยทำงานเขาก็จะคาดหวังว่า ใคร ๆ จะต้องเชื่อฟังเขา
เมื่อเขาเป็นผู้จัดการ เขาจึงไม่มีวันรู้ว่าบรรดาลูกจ้างนั้นลำบากอย่างไร
และมักจะโทษคนอื่น
คน ลักษณะนี้อาจจะทำงานได้ อาจจะประสบความสำเร็จช่วงหนึ่ง
แต่ในที่สุด แล้ว เขาจะไม่สำเหนียกคุณค่าของความสำเร็จ
หากยังคงคร่ำครวญ เคียดขึ้ง และไม่มีวันรู้สึกเพียงพอ
ถ้าเรา เป็นพ่อแม่ประเภทที่ปกป้องลูกแบบนี้ จงถามตัวเราว่า
เรากำลังให้ความรัก กับลูกหรือ กำลังทำลายเขากันแน่?
เราให้ลูกๆ มีบ้านใหญ่ๆ อยู่ กินอาหารดีๆ เรียนเปียโน ดูทีวีจอใหญ่
แต่เวลาที่เราตัดหญ้า ลองให้ลูกได้ทำด้วย
หลังอาหาร ให้เขาล้างถ้วยชามของตัวเองพร้อมๆ กับพี่ๆ น้องๆ
ไม่ใช่ว่าเราไม่มีปัญญาจ้างคนรับใช้
แต่เพราะเราอยากจะให้ความรักกับพวกเขาอย่างถูกวิธี
เราอยากให้เขาเข้าใจว่า ไม่ว่าพ่อแม่จะจนหรือจะรวย
วันหนึ่งก็จะต้องผมขาว แก่เฒ่าลงไป เหมือนกับแม่ของเด็กหนุ่มคนนี้
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ลูกของเราจะได้เรียนรู้ คือ รู้คุณค่าของความพยายาม
ได้รู้จักว่า ความยากลำบากมันเป็นยังไง และได้เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นให้เป็น