สาระของเรื่องนี้เป็นเรื่องของ "สุสานเรือล่ม" ที่เป็นผลพวงมาจากยุทธการณ์ "Hailstone" ซึ่งเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (กระทู้นี้ยาวหน่อยค่ะอ่านเพลินๆอย่ารีบเบื่อกันก่อนนะคะ)...
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลงพร้อมกับความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ญี่ปุ่นได้ครอบครองไมโครนีเซียตามสนธิสัญญา Anglo-Prussian War 1919 (พ.ศ. 2462) จากนั้นก็เกณฑ์แรงงานชาวเกาะ และเชลยเกาหลีมาทำงานโยธา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนเกาะโมเอ็น (Moen), เกาะดูบลอน (Dublon), เกาะเอเตน (Eten) และเกาะพาราม (Param) จน Truk กลายเป็นคลังแสง กองทหาร สนามบิน ท่าจอดเรือทุกระวางขับน้ำได้ โดยมีเครือข่ายการส่งกำลังบำรุงทั้งทางน้ำและทางอากาศจากเกาะไซปัน ในเขตมาเรียน่าส์ โดยมี Truk เป็นศูนย์กลางสนับสนุนด้านยุทธศาสตร์ ให้กับเกาะใน "อะตอล" อื่นด้วย
ไมโครนีเซีย คือกลุ่มเกาะ หรือเรียกว่า อะตอล (Atol) ที่ประกอบไปด้วยรัฐ Chuuk หรือ Truk, รัฐยาป (Yap), รัฐโปนเป (Pohnpei) และรัฐคอสไร (Kosrae) และได้รวมกลุ่มสถาปนาเป็น "สมาพันธรัฐไมโครนีเซีย (FSM:Federated States of Micronesia)" ในปีพ.ศ. 2521 มีประชากร 120,000 คน
ชาวเกาะทรัก เรียกตัวเองและกลุ่มเกาะของตนว่า "ชู๊ค (Chuuk)" แต่ฝรั่งเรียกเพี้ยนเป็น "ทรัก (Truk) ผ่านมาร้อยกว่าปีคนก็เรียกเป็น "ทรัก" แต่บางส่วนก็ยังเรียกชู๊คอยู่นะ
เครื่องบิน พีบีวาย คาตาลีน่า (PBY-Catalina)
ตลอด 20 ปีที่ญี่ปุ่นพัฒนาโปรเจคลับอันแสนยิ่งใหญ่ใน Truk ให้เป็นฐานที่มั่นของกองทัพเรือญี่ปุ่น โลกส่วนอื่นๆแทบจะไม่มีโอกาสได้ล่วงรู้ความเป็นไปนี้เลย ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าเพราะทำเลที่ตั้งของ Truk ห่างไกลจากสังคมโลก โดดเดี่ยวกลางมหาสมุทร ย่อมยากที่คนภายนอก จะเข้าถึงไม่ว่าทางน้ำหรือทางอากาศ แม้เมื่อสหรัฐฯ ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ถูกถล่มเมื่อปลายปี 2484 Truk ก็ยังไม่อยู่ในสายตาของกองทัพเรือสหรัฐฯ (ซุ่มได้เนียนมาก)
จนกระทั่งอีก 2 ปี นักบินลาดตะเวน พีบีวาย คาตาลีน่า (PBY-Catalina) 2 ลำ (รูปบน) รายงานให้ นายพลเรือเรมอนด์ สพรูแอนซ์ (Raymond Spruance) ผู้บังคับกองเรือที่ 5 ที่เกาะมาจูโร ในเขตหมู่เกาะมาร์แชลเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2487 ว่าได้พบฐานทัพเรือใหญ่ของญี่ปุ่นในทรักลากูน (Truk Lagoon)
นายพล เรมอนด์ สพูแอนนซ์ นายพลจัตวา มาร์ค เอ มิตส์เชอร์
นายพล เรมอนด์ เลยสั่งให้นายพลจัตวา มาร์ค เอ มิตส์เชอร์ (Mark A Mitscher) นำชุดปฏิบัติการ TF-58 ซึ่งประกอบด้วย
1. TBF-Avenger 2. F6F-Hellcat 3. SBC2-HellDiver
1. TBF-Avengerlcat 2. F6F-Hellcat
3. SBC2-HellDiver
นำฝูงบินกว่า 500 ลำ พร้อมนักบินกว่า 200 นาย เข้าประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise, USS Bunker Hill, USS Intrepid, USS Essex และ USS Yorktown เสริมด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบา Belleau Wood, Cabot, Monterey, Cowpens เรือพิฆาต 7ลำ รวมทั้งเรือดำน้ำและเรือคุ้มกันอีกจำนวนหนึ่ง กะเอาญี่ปุ่นเละไปข้างนึงกันเลย โดยแผนการครั้งนี้อยู่ภายใต้ "Operation Hailstone" ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2487
USS Enterprise USS Bunker Hill
USS Intrepid USS Essex
USS Yorktown
ส่วนรายละเอียดแผนการ Hailstone มีดังนี้1. ยิงตอร์ปีโดจาก เครื่อง Avengers ใส่เรือทุกลำในทรักลากูน และให้ เครื่อง Hellcat กับ HellDive ยิงตามเก็บส่วนต่างๆให้เ...้ยน
2. ปฏิบัติการนี้จะเริ่มเวลา 4 นาฬิกา โดยทำการต่อเนื่องตลอด 2 วัน หรือจนกว่าจะจมเรือทุกลำในทรักลากูนครบถ้วน
สรุปก็คือ ถล่มลูกเดียว!!!
2 วันของ Operation Hailstone ไม่มีการสั่งยกพลขึันเกาะ เพราะสหรัฐฯ ไม่ต้องการเอาชีวิตของทหารเข้าไปเสี่ยง เพียงแต่ต้องการทดสอบความพร้อมของการโจมตีทางอากาศบวกกับสั่งสอนให้ญี่ปุ่นรู้ซึ้งถึงบทเรียนที่เคยฝากไว้ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ถ้าหากคิดจะโจมตีทางอากาศมันต้อง
ทำแบบนี้ว้อยยยย
ซึ่งสหรัฐฯ ก็จัดเต็มใส่ญี่ปุ่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเที่ยวบินที่เข้าถล่ม, อำนาจการยิงและการทำลายล้าง, การทิ้งระเบิดและตอร์ปิโด
หลังจบ Operation Hailstone ญี่ปุ่นได้ใจที่อเมริกาไม่เข้ายึดทรักหลังถล่มเสร็จ อีกทั้งสนามบินของญี่ปุ่นก็ไม่เสียหายมาก จึงนำเครื่องซีโร่จากพาเลากลับมาทรักอีกกว่า 400 เครื่อง ดังนั้นชุดปฏิบัติการ TF-58 เจ้าเก่าของสหรัฐฯ จึงกลับมาถล่มอีกรอบในปลายเดือนเมษายน 2487 (ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โตล่ะ)
ผลงานของยุทธการในครั้งนี้ ทรักลากูนกลายเป็นสุสานเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีซากเรือพิฆาต, เรือบรรทุกน้ำมัน, เรือส่งกำลังบำรุง, เรือประมงของญี่ปุ่นหลายสิบลำ, รวมถึงเครื่องบิน, ปืนต่อต้านอากาศยาน, รถถัง และลูกเรือที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด