จากปัญหาดังกล่าว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) จึงได้คิดค้น "ระบบตรวจป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ" เพื่อสร้างความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการรอรับบัตรแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ
น.ส.จันทนา ปัญญาวราภรณ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มบ.ผู้คิด และพัฒนาระบบดังกล่าว เล่าว่า ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติโดยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม และฮีสโทรแกรมนี้ ใช้เทคนิคการรู้จำตัวเลข เพื่อนำมาปรับใช้กับการตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์บริเวณทางเข้า-ออก เพื่อลดแรงงานคน และเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่
หลักการทำงานคือ รับภาพจากกล้องวีดิทัศน์ในโหลดเวลาจริง (real-time) หลังจากนั้นส่งภาพไปที่ส่วนประมวลผลภาพ เพื่อปรับขนาดโดยใช้เทคนิคการประมาณค่าแบบไบคิวบิค ภาพที่ได้จะส่งต่อเพื่อหาขอบภาพ (edge) ของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ภาพแผ่นป้ายทะเบียนแล้ว จะตัดตัวอักษร และจังหวัดออกให้เหลือแต่ส่วนที่นำไปจำแนกตัวเลขในกระบวนการจำแนกตัวเลข ใช้หลักการของวิธีโครงข่ายประสาทเทียม และฮีสโตแกรม
ขั้นตอนสุดท้ายคือการบันทึกข้อมูลเก็บเป็นรูปแบบไฟล์เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล จากผลการทดลองสังเกตเห็นว่าโปรแกรมสามารถตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ได้ถูกต้องถึง 70% ปัจจัยที่มีผลต่อการจำแนกตัวเลข เช่น แสง และระยะห่าง ฯลฯ ซึ่งปริมาณแสงที่เพียงพอ ระยะห่างระหว่างกล้องวีดิทัศน์กับแผ่นป้ายทะเบียนที่เหมาะสมประมาณ 0.5-3 เมตร และต้องมีพื้นที่แผ่นป้ายทะเบียนไม่น้อยกว่า 10% ของภาพทั้งหมด โปรแกรมใช้เวลาในการประมวลผลเฉลี่ยประมาณ 1.2 วินาทีต่อหนึ่งภาพ
อย่างไรก็ตาม ระบบตรวจป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ ยังอยู่ในขั้นการทดสอบ และปรับปรุงระบบให้สามารถนำไปใช้งานจริง คาดว่าจะเป็นประโยชน์ด้านการจราจรในอนาคตแน่นอน
ที่มา : นสพ.มติชน