8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

 

 

 

 

 

เพื่อนๆเคยสังเกตุไหมว่า ชื่อตอนแต่ละตอน ของ ละครซีรีส์โดนใจวัยรุ่นอย่าง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น“ จะมีชื่อสาร ฮอร์โมน แต่ละตัวประกอบเข้าไปด้วยเพื่อความเข้าใจได้ง่ายๆว่า ฮอร์โมนแต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง? ซึ่ง ทีนเอ็มไทย ได้ไปตามซีรีย์ 8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เทสโทสเตอโรน, โดพามีน, เอ็นดอร์ฟิน, เซโรโทนิน, เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, คอร์ติซอล และอีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน) ที่ทุกคนต้องเคยรู้จักชื่อกันมาบ้างล่ะ แต่จะรู้ไหมว่า 8 ฮอร์โมนนี้ มีความสำคัญอย่างไร และมหัศจรรย์ขนาดไหน เรื่องใกล้ตัวแบบนี้ รู้เอาไว้ไม่เสียหลายเนอะ

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น เทสโทสเตอโรน…ฮอร์โมนเพศชาย

เมื่อคนเราเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาวแล้ว ก็ได้เวลาที่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศออกมา ซึ่งเจ้า ” เทสโทสเตอโรน ” (Testosterone) นี่แหละคือฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดของเพศชาย เพราะจะไปกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นเพศชายออกมา และนี่เองที่ทำให้ผู้ชายมีรูปร่างลักษณะ อารมณ์ นิสัย ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากคุณสาว ๆ ไม่ว่าจะเป็น…

การมีเสียงทุ้มใหญ่ มีหนวด มีเครา ขนตามร่างกาย ศีรษะล้าน การสร้างเชื้ออสุจิ ลักษณะกล้ามเนื้อและกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง ทำให้ผู้ชายมีนิสัยชอบแข่งขัน ชอบเอาชนะ รักสนุก ชอบความท้าทาย ขณะเดียวกัน ในบางช่วงฮอร์โมนนี้ก็ยังทำให้ผู้ชายรู้สึกเครียด วิตกกังวล หดหู่ได้มากกว่าปกติเช่นกัน ทำให้สนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น คิดถึงเรื่องเพศ มีความต้องการทางเพศ ชอบเรื่องเซ็กส์

แล้วรู้ไหมว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนี้ผลิตออกมาจากไหน คำตอบก็คือ มันถูกอัณฑะสร้างขึ้นมาโดยสังเคราะห์มาจากคอเลสเตอรอล ซึ่งปริมาณฮอร์โมนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ร่างกายบางคนผลิตเทสโทสเตอโรนออกมาสูง บางคนก็มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งผู้ที่มีฮอร์โมนตัวนี้น้อยเกินไป อาจรู้สึกว่าตัวเองมีความต้องการทางเพศลดลง ปริมาณอสุจิมีน้อย อวัยวะเพศชายแข็งตัวไม่สมบูรณ์ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าตัวเองสูญเสียความสมบูรณ์ของร่างกายไป ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง และนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่หากมีฮอร์โมนในระดับเหมาะสมก็จะช่วยให้มีน้ำหนักตัวพอเหมาะ มีมวลกล้ามเนื้อ

ดังนั้นแล้ว เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง คุณหนุ่ม ๆ ก็ควรรักษาระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไว้ไม่ให้ต่ำเกินไป ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยมีผลการวิจัยค้นพบว่า การออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรง (Strength training) เพื่อเสริมกล้ามเนื้อและความแข็งแกร่งด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ยกน้ำหนัก ยกเวท มีผลทำให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้นได้ด้วย

นอกจากนี้ เรายังสามารถกระตุ้นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีสังกะสีอย่างเพียงพอ คือวันละ 15-25 มิลลิกรัม ซึ่งจะพบมากในอาหารทะเล รวมทั้งตับ เนื้อวัว ผักสีเขียวเข้ม และผลไม้ เช่น แตงโม เมล็ดทานตะวัน ยิ่งถ้าได้รับวิตามินจำพวกเบต้าแคโรทีน ซึ่งพบมากในแครอท แคนตาลูป ส้ม มะเขือเทศ มะละกอสุก มะม่วงสุก และฟักทอง จะช่วยเสริมสร้างกันได้ดียิ่งขึ้น

อ้อ…บอกอีกอย่างว่า ฮอร์โมนนี้ไม่ได้มีแต่ในเพศชายเท่านั้นนะจ๊ะ ในเพศหญิงก็มีการสร้างเทสโตสเตอโรนออกมาด้วยจากต่อมหมวกไต แต่มีจำนวนน้อยกว่าผู้ชายมาก ทำให้ไม่สามารถแสดงลักษณะของเพศชายให้เด่นออกมาได้ ยกเว้นผู้หญิงบางคนที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ก็อาจจะมีเสียงห้าวกว่าผู้หญิงทั่วไป มีขนดก มีนิสัยห่าม ๆ กล้าหาญ คล้ายผู้ชายได้เหมือนกัน

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย 

ฮอร์โมนวัยรุ่น เอสโตรเจน…ฮอร์โมนเพศหญิง

พูดถึงฮอร์โมนเพศชายไปแล้ว ต่อไปเรามารู้จัก ” เอสโตรเจน ” (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิงกันบ้างดีกว่า เคยสังเกตไหมว่า สาว ๆ บางคนมีหน้าอกตู้ม สะโพกผาย สัดส่วนโค้งเว้าสวยเสียจนต้องเหลียวมอง (แม้แต่คุณผู้หญิงเองก็ยังอดอิจฉาไม่ได้ ^^) รูปร่างเช่นนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนนี่แหละ ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาจากรังไข่ แล้วกระจายไปตามกระแสเลือด ส่งต่อไปตามอวัยวะต่าง ๆ จึงส่งผลต่อรูปร่าง นิสัย อารมณ์ของเพศหญิง คือ

ทำให้มีหน้าอก เต้านมเต่งตึง สะโพกผาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง

ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมระบบสืบพันธุ์ รักษาสภาพผนังช่องคลอด ควบคุมเมือกในช่องคลอดเพื่อป้องกันการอักเสบ ทำให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต ควบคุมการตกไข่ กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นใน เพื่อรองรับการปฏิสนธิร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ทำให้ผู้หญิงมีอารมณ์อ่อนหวาน อ่อนไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีไม่สม่ำเสมอ ขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาตามรอบของประจำเดือน สังเกตไหมล่ะ เวลาใกล้ประจำเดือนมาทีไร คุณสาว ๆ ที่เป็นนางฟ้าหลายคนเผลอแปลงร่างเป็นนางยักษ์ทุกที โดยช่วงที่มีเอสโตรเจนสูงจะเป็นช่วงหลังหมดประจำเดือนและระหว่างเตรียมการตกไข่ กินเวลาประมาณ 9-20 วัน

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายจะมีปริมาณน้อยลง หรือมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ร้อนวูบวาบ หมดอารมณ์ทางเพศ หนาวสั่นง่าย และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ผิวแห้งเหี่ยวย่น มีริ้วรอย หน้าอกหย่อนยาน ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ คันช่องคลอด ผมร่วง ฯลฯ

นอกจากนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังช่วยในเรื่องความจำ ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล เป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดเมือกไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยลดภาวะกระดูกพรุน และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น หากรายใดมีเอสโตรเจนมากเกินไป ก็จะทำให้ไขมันสะสมได้มากขึ้น ทำให้อ้วนง่าย อารมณ์แปรปรวนมาก หงุดหงิดง่าย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด

ส่วนถ้าใครมีเอสโตรเจนต่ำเกินไป ก็จะมีรูปร่างผอม ไร้ทรวดทรงองค์เอว ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่องคลอดบางและหย่อนยาน มดลูกฝ่อลีบ เต้านมมีขนาดเล็กลง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุนได้มาก เพราะสูญเสียแคลเซียมไปทีละน้อย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในผู้หญิงวัยทองที่มีฮอร์โมนตัวนี้น้อยลงก็ต้องหาวิธีเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน ด้วยการทานอาหารอย่างน้ำมะม่วงสุก, น้ำมะพร้าวอ่อน, กุยช่าย หรือหากมีอาการวัยทองมาก ๆ แพทย์จะสั่งฮอร์โมนเสริมให้ เพื่อลดอาการวัยทอง

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น โปรเจสเตอโรน…ฮอร์โมนเพศหญิง (สำคัญสำหรับสาวตั้งครรภ์)

นอกจาก “เอสโตรเจน” แล้ว สาว ๆ ก็ยังมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) อีกหนึ่งฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญมาก ๆ โดยถูกสร้างขึ้นมาจากรังไข่ และรก ทำงานร่วมกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยกระตุ้นให้เยื่อบุผนังมดลูกชั้นในหนาตัวขึ้น เพื่อเตรียมการตั้งครรภ์ โดยเอสโตรเจนนั้นจะไปกระตุ้นให้มดลูกขยาย พร้อมจะหดรัดตัว แต่โปรเจสเตอโรนจะไปยับยั้งไม่ให้มดลูกรัดตัวมากจนเกินไป เพื่อให้ทารกฝังตัวที่มดลูกได้

นอกจากนี้ โปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนยังช่วยกันควบคุมการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ เช่น ปรับสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการฝังตัวได้ ช่วยสะสมไขมันให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพื่อให้มีพลังงาน และสารอาหารเลี้ยงทารก รวมทั้งช่วยทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมผลิตน้ำนมให้ลูกหลังคลอด นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ร่างกายหายใจเร็วขึ้น เพื่อสูดออกซิเจนเข้าปอดมาก ๆ นั่นจึงทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าเดิม อีกทั้งยังรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว ปวดแข้งปวดขา เพราะฮอร์โมนจะไปทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อยืดขยายนั่นเอง

นั่นคือหน้าที่หลัก ๆ ของโปรเจสเตอโรนในช่วงที่ตั้งครรภ์ แต่หากในช่วงที่ไม่มีการตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนก็จะไปสลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาขึ้น (จากการทำงานของเอสโตรเจน) ให้หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อย่างที่สาว ๆ เป็นกันทุกเดือน ซึ่งระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนี้ จะมีปริมาณสูงสุดประมาณวันที่ 21-23 ของรอบเดือน (หลังตกไข่ 1 สัปดาห์) แต่จะลดลงต่ำสุดประมาณวันที่ 1-9 ของรอบเดือน

เคยสังเกตไหมว่าช่วงหลังไข่ตก ซึ่งเป็นช่วงที่มีโปรเจสเตอโรนสูง ช่วงนั้นสาว ๆ จะมีสิวเห่อขึ้นทุกที นั่นเพราะโปรเจสเตอโรนที่หลั่งเพิ่มขึ้นไปทำให้เกิดการคั่งน้ำในร่างกาย จนทำให้รูขุมขนบวมมากขึ้น อีกทั้งยังหลั่งน้ำมันมาหล่อเลี้ยงผิวมากขึ้นจนเกิดการสะสมอุดตันตามใบหน้านั่นเอง

โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนออกมาไปจนถึงอายุ 50 ปีปลาย ๆ จากนั้น ฮอร์โมนจะเริ่มผลิตน้อยลง หรือที่เรียกว่าเข้าสู่ภาวะวัยทอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแปลก ๆ เช่น นอนไม่หลับ เหงื่อออกง่าย ผิวแห้งเหี่ยว กระดูกพรุน ร้อนวูบวาบ น้ำหนักขึ้น ฯลฯ รวมทั้งลักษณะนิสัยที่มักจะหงุดหงิดง่าย มักมีปัญหาเรื่องอารมณ์ เกิดความรู้สึกเบื่อ เซ็ง ซึมเศร้า

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น โดพามีน…ฮอร์โมนหนึ่งมิตรชิดใกล้

โดพามีน (Dopamine) อีกหนึ่งฮอร์โมนที่สำคัญมาก ผลิตจากกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine) ซึ่งสังเคราะห์โดยเนื้อเยื่อประสาทและต่อมหมวกไตเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทไปกระตุ้นโดพามีน รีเซพเตอร์ (Dopamine Receptor) ในระบบประสาทซิมพาเทติค (sympathetic nervous system) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (Neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลคตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง (ต่อมพิทูอิทารี) พร้อมกับเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญของคนกำลังเป็นหนุ่มเป็นสาวนั่นเอง

ว่าแต่…เมื่อโดพามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเราล่ะ? คำตอบก็คือ โดพามีนจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิ และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ยิ่งมีการหลั่งสารนี้มากเท่าไร คนนั้นก็จะมีความพอใจหรือมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย (เหมือนกับสารเสพติดเลยล่ะ)

นอกจากนั้นแล้ว เจ้าสารสื่อประสาทตัวนี้จะช่วยให้เรารู้สึกมีความพึงพอใจ เกิดความรักใคร่ชอบพอ นั่นจึงมีการจัดให้โดพามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก หรือ Chemicals of love ซึ่งมีผู้เคยวิจัยออกมาแล้วว่า โดพามีนนี้มีผลเกี่ยวกับการเลือกคู่หรือจับคู่จริง ๆ

และเช่นเดียวกัน ในร่างกายหลาย ๆ คนอาจมีการหลั่งสารโดพามีนออกมาน้อยเกินไป หรือเซลล์สมองส่วนที่สร้างโดพามีนตาย ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ นั่นจึงทำให้ผู้สูงอายุบางคนมีอาการทางระบบประสาท คือ โรคพาร์กินสัน ที่จะมีอาการมือไม้สั่น เกร็ง เคลื่อนไหวช้า เพราะโดพามีนเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายนั่นเอง

ตรงกันข้าม หากมีสารโดพามีนหลั่งออกมามากเกินไป ก็ทำให้เป็นคนคิดเร็ว สมองมีการตอบสนองดี สั่งการเร็ว อาจทำให้เป็นคนหุนหันพลันแล่น ไฮเปอร์ หรือก้าวร้าวได้ และถ้ายิ่งมีมากจนเกินขีด คนนั้นอาจกลายเป็นคนหวาดระแวง บ้าคลั่ง มีอาการป่วยทางจิต เพราะสารนี้จะไปกระทบกับสมองส่วนฟรอนทัลที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ซึ่งจากการทดสอบผู้ป่วยโรคจิตเภทก็พบว่ามีสารโดพามีนในสมองมากกว่าคนปกติ

วิธีรักษาความสมดุลของโดพามีนก็คือ พยายามรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเหลือง อาหารทะเล อัลมอนด์ เมล็ดธัญพืช กล้วย แอปเปิล เพราะโดพามีนผลิตมาจากกรดอะมิโนไทโรซีนที่มีในโปรตีนนั่นเอง จะช่วยให้สมองมีพลัง ตื่นตัว รู้สึกกระฉับกระเฉง

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น เอ็นดอร์ฟิน…ฮอร์โมนหลั่งเมื่อฉันฟิน

มีใครไม่รู้จักฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) บ้างเอ่ย? นี่เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่คนน่าจะได้ยินชื่อกันบ่อยที่สุดเลยล่ะ เพราะคงจะเคยได้ยินคนพูดว่าฮอร์โมนนี้ทำให้เรามีความสุข คลายเครียด ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเมื่อเรามีความสุขกายสบายใจ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากขึ้น แล้วเข้าสู่กระแสเลือด จนสามารถไปกดการสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด เช่น นอร์เอพิเนฟริน ทำให้เรารู้สึกหายเครียด และยังเป็นผลให้ระดับภูมิคุ้มกัน (antibody) ในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย

แต่ไม่ใช่แค่นั้นนะ เพราะหน้าที่หลักของเอ็นดอร์ฟินไม่ใช่แค่ทำให้เราเคลิบเคลิ้ม มีความสุข แต่คือการเป็นยาระงับปวดตามธรรมชาติ ที่ต่อมใต้สมองและไฮโปทาลามัสในกระดูกสันหลังสร้างขึ้นมาให้ออกฤทธิ์ไปยับยั้งและบรรเทาความเจ็บปวดให้เรานั่นเอง ซึ่งการทำงานของเอ็นดอร์ฟินจะคล้าย ๆ กับการทำงานของยามอร์ฟีน (Morphine) ที่ในทางการแพทย์จะใช้ฉีดระงับความเจ็บปวดให้คนไข้ และนอกจากจะมีบทบาทควบคุมความรู้สึกเจ็บปวดแล้ว เอ็นดอร์ฟิน ก็ยังควบคุมความรู้สึกหิว และเชื่อมโยงกับการผลิตฮอร์โมนเพศด้วย

รู้แบบนี้แล้ว ใครที่อยากให้สารเอ็นดอร์ฟินหลั่งมาก ๆ จะได้มีความสุข ก็แนะนำให้หมั่นออกกำลังกาย และออกไปรับแสงแดดในตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นการสร้างเอ็นดอร์ฟินได้ แต่อีกหนึ่งวิธีที่ง่ายกว่านั้นก็คือ ลองหัวเราะดูสิ เพราะการวิจัยค้นพบว่า การหัวเราะ การยิ้ม การได้อยู่ใกล้กับสิ่งที่เราพอใจจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินมากขึ้นด้วย หากร่างกายมีสารเอ็นดอร์ฟินมาก ๆ เราก็จะมีความสุข ไม่เครียด ระดับความดันโลหิตก็จะเป็นปกติ สุขภาพจิตดีแบบนี้ สุขภาพกายก็แข็งแรงแน่นอน

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย 

ฮอร์โมนวัยรุ่น คอร์ติซอล…ฮอร์โมนแห่งความเครียด (แถมโรคอ้วน)

ต้องบอกว่าฮอร์โมนตัวนี้ ตรงกันข้ามกับ “เอ็นดอร์ฟิน” เลยล่ะ อย่างที่รู้กันว่าคนส่วนใหญ่อยากมีฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินมาก ๆ จะได้มีความสุข แต่คงไม่มีใครอยากมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มาก ๆ แน่ เพราะนี่เป็นฮอร์โมนที่จะถูกปล่อยออกมาเมื่อเรามีความเครียด แต่ถึงกระนั้น คอร์ติซอล ก็ถูกจัดเป็นฮอร์โมนที่จำเป็น (Essential Hormone) ที่มีความสำคัญต่อชีวิต หากขาดไปก็จะส่งผลอย่างมากต่อเซลล์ของร่างกาย

สำหรับฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ถูกผลิตจากต่อมหมวกไต และจะถูกสร้างมากขึ้นในตอนเช้า เพื่อช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ช่วยให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย เพื่อให้เราพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาระหว่างวัน ก่อนที่ระดับของฮอร์โมนจะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่งตกเย็น และนอนหลับไป

แต่ใช่ว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นในตอนเช้าจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงตอนเย็นนะจ๊ะ เพราะหากระหว่างวันเราเกิดความเครียดขึ้นเมื่อใด ร่างกายก็จะยิ่งหลั่งคอร์ติซอลออกมาเพิ่มขึ้น เพื่อต่อสู้กับความเครียด แล้วรู้ไหมว่า การที่ฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งมาก ๆ มันจะไปกระตุ้นให้เรารู้สึกโหยหิว อยากทานอาหารที่ให้พลังงานสูงมากขึ้น แล้วเก็บสะสมไขมันนั้นไว้เป็นพลังงาน เพื่อดึงออกมาใช้เมื่อคราวจำเป็น ซึ่งนี่เป็นกลไกของร่างกายที่จะชดเชยพลังงานที่คุณสูญเสียไปกับความเครียด ทำให้เรามีเรี่ยวแรงไปต่อสู้กับความเครียด นั่นหมายความว่า ยิ่งเครียดมากเท่าไร คุณก็ยิ่งอ้วนมากขึ้นเท่านั้น (แบบนี้คุณสาว ๆ คงไม่ปลื้้มแน่) เพราะอยากทานอาหารไขมันสูง ขนมหวาน ๆ อย่างบอกไม่ถูก

นอกจากนี้ คอร์ติซอล ยังจะหลั่งออกมามากในคนที่อดหลับอดนอนบ่อย ๆ เพราะยิ่งนอนน้อย ร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอ เมื่อร่างกายอ่อนแอ ก็จะเกิดความเครียดขึ้นตามมา จึงไม่แปลกที่จะมีงานวิจัยชี้ว่า คนที่นอนน้อยมีโอกาสอ้วนมากกว่าคนที่นอนในระดับปกติ คือ 6-8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม คอร์ติซอล ไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวกับความเครียดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ลดการอักเสบของร่างกายด้วย

ทั้งนี้ หากระดับคอร์ติซอลสูงมาก ๆ เป็นเวลานาน ปัญหาที่ตามมาก็คือ การทำงานของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความจำ ทำให้การทำงานของสมองส่วนนี้จะลดลง เซลล์ประสาท แขนงประสาทจะลดลง รวมทั้งไปขัดขวางเซลล์ใหม่ ๆ ที่มีการสร้างขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดยังจะไปกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคตามมาอีกเป็นพรวน เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ ในผู้หญิงอาจมีปัญหาประจำเดือนขาด ไขมันสะสมมากตามใบหน้า หน้าท้อง ต้นขา ส่วนคุณผู้ชาย ก็ต้องระวังสมรรถภาพทางเพศจะเสื่อมลง

เห็นความร้ายกาจแบบนี้แล้ว เราก็ควรรักษาระดับคอร์ติซอลให้สมดุล ไม่ให้หลั่งออกมามากเกินไป ด้วยการจัดการที่ต้นเหตุ นั่นก็คือ “กำจัดความเครียด” ซะ โดยอาจหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ ไปเที่ยวกับเพื่อน ไปเดินช้อปปิ้ง ฟังเพลงเพราะ ๆ หาหนังตลกมาดู ทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 10 นาที นวดคลายเครียด หรือถ้าจะให้ดีก็ลุกขึ้นไปออกกำลังกายซะเลยดีกว่า นอกจากจะลดคอร์ติซอลได้แล้ว ยังเพิ่มระดับเอ็นดอร์ฟิน และช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ด้วย ต่อมาก็คือ พยายามอย่าอดหลับอดนอน และไม่ควรนอนดึกจนเกินไป ดังนั้น อย่าดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ เพราะมีสารคาเฟอีนไปทำให้เราไม่รู้สึกง่วงนอน และเป็นที่มาของอาการนอนไม่หลับ

หากวิธีเหล่านี้ยังไม่ได้ผล ก็ต้องลองหลีกหนีออกจากความเครียดทั้งหลาย หรือจะปรึกษาจิตแพทย์ให้ช่วยให้คำแนะนำดูสักครั้งก็ดีเหมือนกัน

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น อีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน)…ฮอร์โมนหลั่งป้องกันอันตราย

เคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราโกรธจัด กลัว ตกใจมาก ๆ ตื่นเต้นสุด ๆ ร่างกายของเราจะเกิดปฏิกิริยาบางอย่างขึ้น เช่น หน้าแดง ตัวสั่น มือสั่น หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นแรง มีกำลังวังชามากขึ้น นี่เป็นผลมาจากฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenaline) หรืออีกชื่อว่า อีพีเนฟรีน (Epinephrine) ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกัน

ฮอร์โมนอะดรีนาลิน สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตจะหลั่งออกมาเวลาที่เราอยู่ในภาวะตกใจ โกรธ ตื่นเต้น ตกอยู่ในอันตราย หรือเกิดความเครียด ซึ่งเมื่อหลั่งออกมาแล้ว จะไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น คือ

เปลี่ยนไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ทำมีน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น การเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้กล้ามเนื้อมีแรงมหาศาล ทำให้แรงดันของโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่าง ๆ ขยายตัว แต่เส้นเลือดขนาดเล็กที่ผิวหนัง และช่องท้องหดตัว และกลูโคสไปให้เซลล์ในร่างกายได้มากขึ้น และเข้าสู่ปอดได้รวดเร็ว กระตุ้นให้หัวใจบีบตัว ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวมากกว่าปกติ จะได้เตรียมต่อสู้ หรือหนี กระตุ้นให้หลอดลมขยายตัว เพื่อให้ปอดรับออกซิเจนได้เต็มที่ ทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น รูม่านตาเบิกกว้าง ช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว มีพละกำลังมากขึ้น เพราะเป็นการกระตุ้นให้กลไกของร่างกายทำงานในประสิทธิภาพขั้นสูงสุด ซึ่งจะช่วยเรามีพละกำลังรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และป้องกันตัวได้นั่นเอง

หากนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไรก็ลองนึกถึงเวลาเกิดไฟไหม้ดู เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนในอยู่ในสถานการณ์นั้นสามารถยกตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้าหนัก ๆ วิ่งปร๋อออกมาคนเดียวได้สบาย ๆ นั่นเพราะอะดรีนาลินที่หลั่งออกมาจะไปช่วยเพิ่มพลังให้เราสามารถเอาตัวรอดได้ แต่เมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว ลองให้ยกตู้เย็นดูอีกครั้งยังไงก็ยกไม่ไหวแน่ ๆ นี่ล่ะคือพลังของอะดรีนาลิน ซึ่งจะช่วยให้เรามีพลังเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในเวลาสั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้าใครมีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินออกมามากเกินไป โดยเฉพาะคนที่เป็นเนื้องอกในต่อมหมวกไตชั้นใน หรือได้รับสารนี้เกินขนาด ย่อมเกิดอันตรายต่อร่างกายแน่นอน ถ้าแบบไม่รุนแรงนักก็คือจะรู้สึกอ่อนเพลียมาก น้ำหนักลด แต่น้ำตาลในเลือดสูง ผิวหนังตอบสนองเร็ว แต่ถ้ารุนแรงมาก ๆ ก็มีผลถึงแก่ชีวิต เพราะฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วมากเกินไป จนอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน และยังทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองแตก แต่หากขาดอะดรีนาลินไปเลย ก็จะทำให้เป็นคนอ่อนแอทั้งทางกายและจิตใจได้เหมือนกัน

8 ฮอร์โมนวัยรุ่น ฮอร์โมนหลักของร่างกาย

ฮอร์โมนวัยรุ่น เซโรโทนิน…ฮอร์โมนแห่งความสงบ

ฮอร์โมนตัวสุดท้ายที่จะแนะนำให้รู้จักกันคือ เซโรโทนิน (Serotonin) ใครที่มักมีอารมณ์เหงา เศร้า จนพาลนอนไม่หลับ ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนตัวนี้ด้วยล่ะ เพราะเซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนจำเป็นที่ชื่อว่า “ทริปโตเฟน” ที่อยู่ในสมอง มีหน้าที่ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ควบคุมวงจรการนอนหลับ อุณหภูมิกาย ความดันโลหิต การหลั่งฮอร์โมน การรับรู้ความเจ็บปวด ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นเหมือนกับระบบเข็มนาฬิกาของสมองนั่นเอง

หากร่างกายมีสารเซโรโทนินอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย สงบ มีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์มั่นคง ไม่แปรปรวน ตอบสนองต่อความเครียดได้ดี แต่ถ้าอยู่ในภาวะเครียด เซโรโทนินจะลดลง และจะให้ผลตรงกันข้าม คือ เราจะรู้สึกหงุดหงิด ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ หากมีอาการเจ็บปวดอยู่ก็จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น บางคนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือภาวะไบโพลาร์ ที่เดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวก็อารมณ์ร้ายได้เลย

ดังนั้น ใครที่ชอบเครียดง่าย หงุดหงิดบ่อย นอนไม่หลับ ลองทานอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเหลือง ปลา จะได้รับกรดอะมิโนรวมท

Credit: http://teen.mthai.com/variety/60689.html
25 ก.ค. 56 เวลา 12:37 4,721 1 180
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...