ซาคาโมโตะ เรียวมะ ซามุไรชั้นล่างที่เปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่น

ซะกะโมะโตะ เรียวมะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

 

ซะกะโมะโตะ เรียวมะ
坂本龍馬 เกิด 3 มกราคม ค.ศ. 1836
โคจิ, แคว้นโทะซะ, ญี่ปุ่น เสียชีวิต 10 ธันวาคม ค.ศ. 1867 (31 ปี)
เกียวโต, ญี่ปุ่น สาเหตุการเสียชีวิต ถูกลอบสังหาร ประเทศที่เป็นพลเมือง ญี่ปุ่น ชื่ออื่น ไซดะนิ อุเมะทะโร (才谷 梅太郎)
อิมินะ: นะโอะคะเงะ, นะโอะนะริ อาชีพ ซามูไร, นักการเมือง คู่สมรส นะระซะกิ เรียว บิดามารดา ซะกะโมะโตะ ฮะจิเฮ (บิดา)
ซะกะโมะโตะ ซะจิ (มารดา)

ซะกะโมะโตะ เรียวมะ (ญี่ปุ่น: 坂本龍馬 さかもと りょうま Sakamoto Ryōma, 3 มกราคม ค.ศ. 1836 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1867 ?) เป็นซามูไรผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวล้มล้างระบอบการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงยุคบะคุมะสึ (ปลายยุคเอโดะ) เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคมญี่ปุ่น และปฏิรูปประเทศให้ไปสู่ความทันสมัยตามอย่างชาติยุโรปตะวันตก เขายังเป็นผู้ก่อตั้งไคเอ็นไตซึ่งเป็นบริษัทพาณิชย์นาวีแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นและเป็นลูกศิษย์ของคะสึ ไคชู ผู้วางรากฐานแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

 
ปฐมวัย
จารึกระบุตำแหน่งสถานที่เกิดของซะกะโมะโตะ เรียวมะ ในจังหวัดโคจิ
ทะเกะชิ ซุยซัน ผู้นำกลุ่มโทะสะคินโนโท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ซะกะโมะโตะ เรียวมะเกิดในปี ค.ศ. 1836 ตรงกับศักราชเทมโป ปีที่ 6 ณ เมืองโคจิ แคว้นโทะซะ (ปัจจุบันแคว้นนี้ได้แก่พื้นที่จังหวัดโคจิ บนเกาะชิโกะกุ) เขาเป็นบุตรของครอบครัวตระกูลซามูไรชั้นโกชิ ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชนชั้นพ่อค้าทำอาชีพกลั่นสาเกขาย และได้เลื่อนขึ้นเป็นซามูไรโดยการซื้อตำแหน่ง (ซามูไรประเภทนี้นับเป็นซามูไรระดับต่ำที่สุดในระบบศักดินาญี่ปุ่น) ในวัยเด็กนั้นเรียวมะมักถูกรังแกเวลาอยู่ที่โรงเรียน พี่สาวคนหนึ่งของเรียวมะจึงย้ายให้เขาไปเรียนอยู่ในสำนักดาบแทน จนกระทั่งเมื่อเจริญวัยขึ้น เขาก็ได้เป็นครูดาบอยู่ในแคว้นโทะซะแห่งนั้น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1853 เรียวมะได้เดินทางไปที่นครเอะโดะเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ของจิบะ ซะดะคิจิ เจ้าสำนักดาบสายโฮะคุชินอิตโตริว อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พลเรือจัตวาแมทธิว แคลเบรธ เพอร์รี แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำกองเรือรบมาเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาวตะวันตกอีกครั้งหลังจากโดด เดี่ยวตนเองมานานหลายร้อยปี ในระยะดังกล่าวเรียวมะได้ถูกชักจูงให้เกิดความรู้สึกรักชาติจากสำนักเรียน ของซามูไรซึ่งสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองกลุ่มซนโนโจอิ หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน"

เมื่อเรียวมะสำเร็จวิชาดาบและเดินทางกลับมาที่โทะสะ เขาถูกชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่มโทะสะคินโนโท ซึ่งเป็นกลุ่มซามูไรระดับล่างหัวรุนแรงในแคว้นโทะซะภายใต้การนำของทะเกะชิ ซุยซัน (มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ทะเกะจิ ฮัมเปตะ") ผู้ยึดมั่นในแนวคิดเทิดทูนพระจักรพรรดิและต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ทว่าเมื่อสถานการณ์บีบคั้นมากขึ้น เนื่องจากแนวทางการขับไล่ต่างชาติของซามูไรระดับล่างไม่ได้รับการตอบสนองจาก ชนชั้นปกครองในแคว้น ประกอบกับความขัดแย้งทางความคิดของเรียวมะซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางใช้ความ รุนแรงของทะเกะจิ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากแคว้นโทะซะ และใช้ชีวิตร่อนเร่ไปยังที่ต่างๆ ในฐานะโรนินหรือซามูไรไร้นาย

ศิษย์ของคะสึ ไคชู
คะสึ ไคชู ผู้วางรากฐานแห่งกองทัพเรือญี่ปุ่น
อนุสรณ์ที่ตั้งศูนย์ฝึกทหารเรือของคะสึ ไคชู ที่เมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในช่วงที่ใช้ชีวิตแบบโรนินอยู่นั้น ซะกะโมะโตะ เรียวมะได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ในหมู่เกาะญี่ปุ่น และเมื่อเดินทางมาถึงเอะโดะ เขาก็ได้พบกับคะสึ ไคชู ขุนนางระดับสูงของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะผู้มีหัวคิดก้าวหน้าและกำลังดำเนินการจัดตั้งกองทัพเรือขึ้นในเวลานั้น

เรื่องราวการพบกันระหว่างเรียวมะกับคะสึที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายกล่าวว่า เรียวมะซึ่งเป็นโรนินที่มีความคิดแบบซนโนโจอิ ได้ตัดสินใจที่จะฆ่าคะสึเพราะเห็นว่าสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้ามาย่ำยี ประเทศ แต่ในวันที่เขาลอบเข้าไปในจวนของคะสึนั้น คะสึได้ขอให้เรียวมะฟังแนวคิดที่เขามีต่อประเทศญี่ปุ่นเสียก่อนแล้วจึงค่อย ฆ่าเขา ซึ่งนั่นก็คือแนวคิดการเรียนรู้วิทยาการและอารยธรรมให้เท่าเทียมกับตะวันตก แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างกำลังอำนาจของญี่ปุ่นระยะยาวด้วยกองทัพเรือที่เข้มแข็ง อันจะเป็นหลักประกันให้แก่เอกราชของญี่ปุ่นได้ เรียวมะเมื่อได้ฟังดังนี้แล้ว จึงกลับใจขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และทำงานเป็นทั้งผู้ช่วยและผู้คุ้มกันของคะสึ ไคชู

อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานในอีกทางหนึ่งที่กล่าวถึงการพบกันระหว่างเรียวมะกับคะสึที่แตกต่างออกไป ซึ่งระบุว่า ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1862 เรียวมะกับพรรคพวกได้ขอเข้าพบมะสึไดระ ชุนงะคุ ไดเมียวแห่งแคว้นเอจิเซ็น (ปัจจุบันแคว้นนี้คือจังหวัดฟุกุอิ) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลโชกุน โดยผ่านการแนะนำจากจิบะ จูทะโร บุตรชายของจิบะ ซะดะคิจิ ผู้เป็นครูดาบของเรียวมะ เพื่อหาทางให้เรียวมะได้พบกับคะสึ  หลังจากนั้นในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน เรียวมะพร้อมด้วยเพื่อน 2 คน คือ คะโดะตะ ทะเมะโนะสุเกะ และคนโด โจจิโร จึงได้เข้าพบคะสึพร้อมกับจดหมายแนะนำตัวจากมัตสึไดระ และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของคะสึในคราวนั้น

จะอย่างไรก็ตาม ในที่สุดเรียวมะก็ได้ติดตามคะสึ ไคชู และเข้ารับการฝึกหัดการเดินเรือที่ศูนย์ฝึกทหารเรือในหมู่บ้านโกเบ (ปัจจุบันคือเมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ) ซึ่งคะสึได้จัดตั้งขึ้นตามแนวคิดการสร้างกองทัพเรือแบบชาติตะวันตก

สู่สนามการค้าและการเมือง
เรียวมะ (คนที่ 3 จากซ้าย) และเพื่อนซามูไรในไคเอ็นไต บริษัทพาณิชยนาวีแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ ซามูไรในไคเอ็นไตล้วนเป็นเพื่อนของเรียวมะที่เคยศึกษาอยู่ในศูนย์ฝึกทหารเรือโกเบ

ปี ค.ศ. 1864 รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะเริ่มดำเนินนโยบายการปกครองไปในทางที่แข็งกร้าวมากขึ้น คะสึ ไคชู ถูกปลดจากตำแหน่งเจ้ากรมทหารเรือ และศูนย์ฝึกทหารเรือที่โกเบได้ถูกรัฐบาลสั่งปิดเนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าที่ นี่เป็นแหล่งซ่องสุมของกลุ่มซามูไรหัวรุนแรงที่นิยมแนวทางซนโนโจอิ   เรียวมะจึงย้ายจากโกเบไปยังเมืองคะโงชิมะในความปกครองของแคว้นซัตสึมะ ซึ่งที่นั่นได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการต่างๆ ที่เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลโชกุน

ธงของไคเอ็นไต
ที่ตั้งของสำนักงานบริษัทคะเมะยะมะชาจู ซึ่งเป็นรากฐานของกลุ่มไคเอ็นไต

เรียวมะได้กลายเป็นตัวกลางในการเจรจาลับให้แคว้นซัตสึมะและแคว้นโจชูร่วมมือกันเป็นพันธมิตรต่อต้านรัฐบาลโชกุน ทั้งนี้เนื่องจากว่าทั้งสองแคว้นนั้นต่างเป็นศัตรูกันมาตลอดตั้งแต่อดีต ในขณะนั้นนับได้ว่าเรียวมะมีฐานะเป็นคนนอกที่เป็นกลางไม่เข้าข้างทั้งสอง ฝ่าย อันเป็นสิ่งจำเป็นในการทำลายช่องว่างทางความคิดและความรู้สึกของทั้งสอง แคว้น นอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้งกองเรือเอกชนและบริษัทการค้าชื่อ คะเมะยะมะชาจู (亀山社中) ที่เมืองนะงะซะกิเพื่อ บุกเบิกการค้าขายทางทะเลกับชาวต่างประเทศโดยมีคนญี่ปุ่นดำเนินการเอง โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากแคว้นซัตสึมะ (ต่อมาบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นไคเอ็นไตหรือ กองหนุนทางทะเล) และส่งเสริมการเปิดประเทศด้วยการเรียนรู้ภาษา แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ มุ่งสร้างญี่ปุ่นให้เข้มแข็งด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการจับดาบขับไล่ชาวต่างชาติดังเช่นที่ซามูไรยุคนั้นกระทำอยู่ บทบาทความเป็นนักปฏิรูปทางความคิดและการเมืองเช่นนี้ทำให้เรียวมะถูกจับตา มองจากหลายฝ่าย รวมถึงถูกหมายหัวจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะซึ่งมีแนวคิดทางการ เมืองที่สวนทางกัน เช่น กลุ่มชินเซ็งงุมิ กลุ่มมิมะวะริงุมิ เป็นต้น

แคว้นโจชูได้ชัยชนะต่อรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะต่อเนื่องมาเป็นลำดับในปี ค.ศ. 1866 การล่มสลายของระบอบโชกุนที่ใกล้เข้ามาได้ทำให้เรียวมะกลายเป็นบุคคลที่แคว้น โทะซะเริ่มจับตามองถึงบทบาทและความสำคัญของเขา เขาได้ถูกเรียกตัวให้กลับไปที่โทะสะอย่างมีเกียรติ เนื่องจากในเวลานั้นทางแคว้นโทะซะวิตกกังวลถึงผลสำเร็จของการเจรจาระหว่าง รัฐบาลโชกุนกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ ซึ่งขัดขวางการล้มล้างรัฐบาลโชกุนโดยการใช้กำลังของพันธมิตรซัตโจ เรียวมะได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการเจรจาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยการหว่านล้อมผู้ใหญ่ในรัฐบาลให้เล็งเห็นถึงผลดีในการล้มเลิกการปกครอง ระบอบรัฐบาลทหารของโชกุน และจัดตั้งสภาบริหารการปกครองโดยให้ไดเมียวจากแคว้นต่างๆ มีส่วนร่วมในการปกครอง  กระทั่งนำไปสู่การยอมสละตำแหน่งและถวายคืนพระราชอำนาจแก่พระจักรพรรดิของโชกุนโทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ ในปี ค.ศ. 1867 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปเมจิในระยะต่อมา

มรณกรรม
ซะกะโมะโตะ เรียวมะ ในชุดซามูไรญี่ปุ่น สวมรองเท้าตามแบบชาวตะวันตก
นะกะโอะกะ ชินตะโร พี่น้องร่วมสาบานของเรียวมะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ซะกะโมะโตะ เรียวมะ เสียชีวิตจากการถูกลอบสังหารเมื่อ ค.ศ. 1867 ที่ ร้านโอมิยะ (近江屋) ในกรุงเกียวโต พร้อมกันกับนะกะโอะกะ ชินตะโร ผู้เป็นพี่น้องร่วมสาบาน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหน้าการปฏิรูปเมจิจะเกิดขึ้นไม่นานนัก รายงานการสอบสวนในชั้นต้นกล่าวหาว่า เหตุฆาตกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มชินเซ็งงุมิ (ภายหลังคนโด อิซะมิ ผู้นำของชินเซ็งงุมิซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝ่ายซัตสึมะและโจชูในนามกองทัพของพระ จักรพรรดิและถูกจับเป็นเชลย ได้ถูกประหารชีวิตด้วยข้อกล่าวหาข้างต้น) ทว่ากลุ่มที่สนับสนุนโชกุนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มมิมะวะริงุมิของอิมะอิ โนะบุโอะ ได้สารภาพในปี ค.ศ. 1870 ว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุดังกล่าว แม้ว่าซะซะกิ ทะดะซะบุโร และอิมะอิ โนะบุโอะ จะเป็นผู้ที่ถูกประณามจากเรื่องนี้ ทว่าหาได้มีการพิสูจน์สอบสวนในกระบวนการยุติธรรมว่าฆาตกรตัวจริงเป็นใครแต่ อย่างใดไม่

สำหรับอายุของเรียวมะขณะที่เสียชีวิตนั้น หากคำนวณตามปฏิทินจันทรคติเก่าของญี่ปุ่น เรียวมะจะมีอายุได้ 33 ปี (เกิดในวันที่ 15 เดือน 11 ค.ศ. 1835 เสียชีวิตในวันคล้ายวันเกิดในปี ค.ศ. 1867) แต่เมื่อนับตามปฏิทินสุริยคติระบบปฏิทินเกรกอเรียน เขาจะมีอายุเพียง 31 ปีเท่านั้น

มรดกจากเรียวมะ
ภาพถ่ายของเรียวมะในราวปี ค.ศ. 1867

เรียวมะนับเป็นนักคิดผู้มองการณ์ไกลด้วยทัศนะที่ว่าญี่ปุ่นไม่ควรย่ำอยู่ กับที่ในระบบศักดินาใดๆ อีกต่อไป เขาได้อ่านและได้แรงบันดาลใจจากวลีแรกของคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวว่า "All men are created equal" หรือ "มนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน" (แรงบันดาลใจอีกส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากประสบการณ์การถูกกดขี่อย่างเลวร้ายจาก ซามูไรระดับสูงในโทะสะ ซึ่งตนเองได้พบเห็นและถูกกระทำมาตั้งแต่วัยเด็ก) เขาตระหนักว่า หากจะต้องแข่งขันด้านความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีกับโลกภายนอก แล้ว ชาวญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้ทันสมัยเยี่ยงชาวตะวันตกให้มากขึ้น สิ่งที่น่าสนใจจากการทำตัวที่แตกต่างจากบุคคลร่วมสมัยของเรียวมะก็คือ ในรูปถ่ายของเรียวมะที่ปรากฏแพร่หลายนั้น จะเห็นได้ว่าเขาแต่งตัวตามแบบธรรมเนียมของซามูไร แต่ใส่รองเท้าตามแบบชาวตะวันตกด้วย

มุสึ มุเนะมิสึ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นในยุคเมจิ ซึ่งเป็นเพื่อนของเรียวมะมาตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการเดินเรือที่โกเบ ได้ให้ทัศนะส่วนหนึ่งเกี่ยวกับเรียวมะไว้ดังนี้

ซะกะโมะโตะเป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นเลิศที่สุดในประวัติศาสตร์

ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการยืดหยุ่นปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์

Credit: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%B0_%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B0
24 ก.ค. 56 เวลา 22:18 1,389 3 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...