อาการ “ผีอำ” หรือ “Sleep paralysis” คือสภาวะที่เราไม่สามารถขยับตัวได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อกำลังจะเคลิ้มหลับ (hypnogogic หรือ predormital form) หรือกำลังจะตื่น (called hypnopompic หรือ postdormtal form)
ก่อนจะไปต่อเรามาดูคำจำกัดความของการหลับ หรือ sleep กันก่อน ; การนอนหลับ หรือ sleep คือภาวะที่ร่างกายและจิตใจไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่รับรู้แต่สามารถคืนกลับเป็นปกติได้
ระยะของการนอนหลับสามารถแบ่งได้ 2 แบบซึ่งจะเกิดสลับกันระหว่างการนอนหลับได้แก่
1. Rapid eyes movement sleep (REM sleep) คือการนอนหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (ตามชื่อของมัน) ซึ่งระยะนี้สมองจะมีการทำงานมากจนใกล้กับภาวะที่เรากำลังตื่น ทำให้มีการฝัน ที่สำคัญมีการยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อในระยะนี้
2. Non-REM sleep คือการนอนหลับที่ตรงข้ามกับ REM คือไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือ growth hormone มีการหลั่งในระยะนี้
ในการอธิบายการเกิดอาการผีอำในทางวิทยาศาสตร์นั้นแม้จะยังพิสูจน์หาสาเหตุแน่นอนไม่ได้แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายทฤษฏีที่น่าเชื่อถืออยู่ ซึงแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการอธิบายอาการผีอำที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งผมจะยกมาแค่บางส่วนที่ผมสนใจเท่านั้น
สาเหตุของอาการผีอำ (ที่เป็นไปได้)
1. การนอนหงาย : มีรายงานว่าท่านอนที่มักจะโดนผีอำคือการนอนหงาย แต่นอนตะแคงก็เจอได้เช่นกัน
2. เกิดจากความเครียดที่สะสม
3. การนอนแปลกที่หรือมีการเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต เช่น ปกติทำงานกลางวัน เปลี่ยนเป็นทำงานกลางคืน หรือ การเดินทางไปต่างประเทศที่มีความแตกต่างของเวลาโลก (Jet lag)
4. เกิดจากความฝันที่เรารู้ตัวว่าเราฝันอยู่ หรือ ควบคุมความฝันได้ (Lucid dream)
5. เกิดจากการอดนอนหรือความเหนื่อยล้า
อธิบายอาการผีอำในทางวิทยาศาสตร์
อาการผีอำแบบนี้มักพบในการนอนหลับแบบ REM sleep จากคำอธิบายในส่วนของ REM ข้างต้นที่ว่าในระยะนี้จะมีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยอาจจะมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายจากร่างกายระหว่างการนอนหลับและฝัน (มีการฝันในระดับ REM) ซึ่งการป้องกันอันตรายในที่นี้หมายถึงในกรณีที่เรามีความฝันแบบบู๊ระห่ำมากเกินไป อาจจะทำให้มือหรือเท้าเราไปฟาดกับบางอย่างทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือดิ้นจนตกเตียงได้ โดยปกติแล้วฮอร์โมนจะหยุดหลั่งเมื่อเราตื่น
ซึ่งการที่ฮอร์โมนดังกล่าวยังคงทำงานอยู่ในขณะที่เรากำลังจะตื่นอาจจะเป็นสาเหตุของอาการผีอำได้ หรือในทางกลับกันถ้าฮอร์โมนชนิดนี้ไม่ทำงานในขณะที่เราหลับก็อาจจะเป็นสาเหตุของการละเมอได้เช่นกัน
ข้อสังเกตคือระดับการหลับแบบ REM นั้นมีการฝัน และ มีการหลั่งฮอร์โมนมาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเพราะฉะนั้นจึงอาจจะอธิบายเรื่องของการเห็นผี หรือสิ่งน่ากลัวต่างๆตลอดจนการได้ยินเสียง หรือกลิ่น (สมองสามารถจดจำเสียง หรือ กลิ่นได้)ในขณะที่เรากำลังจะตื่นแต่ไม่สามารถขยับตัวได้ คล้ายๆกับว่าสิ่งเหลานั้นอยู่กับเราในห้องด้วยในขณะที่เรากำลังตื่น รวมทั้งการขยับตัวไม่ได้หรือหายใจลำบาก
ถ้าอาการผีอำเกิดจากการควบคุมการทำงานที่ผิดพลาดของฮอร์โมนข้างต้นก็อาจจะมีสาเหตุมาจากการรับมรดกทางพันธุกรรมกับเป็นได้ (familial sleep paralysis) เนื่องจากยีนที่เกี่ยวข้องเกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ทำให้ฟังก์ชันการทำงานเสียไป