โอมชินริเคียว ลัทธิเขย่าโลก
"..ในชั่งโมงเร่งด่วน อันอันแออัด ของคนโตเกียว
สถานนีรถไฟโตเกียว 5 สถานนี ก็ เต็มไปด้วย ก๊าซ พิษ ซาริน
แบบเดียวกับที่ ทากิโมโต้ ทาโร่ได้รับ....
มี ผู้เสียชีวิตทันที 12 ราย
และบาดเจ็บ จากสารพิษ นับพัน.............”
การใช้ ความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธาของบุคคลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ ส่วนตนนั้นเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ในอดีตของไทยปรากฏการแข็งข้อถึงขั้นก่อการกบฎ
ไม่เว้นประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศชอบกลเรื่องศาสนานัก ในชีวิตประจำวันนับถือลัทธิชินโตและศาสนาพุทธก็จริง แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนมากในยุคปัจจุบันไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าตัวเองนับถือศาสนาใดอย่างเฉพาะเจาะจงนัก เวลางานแต่งงานใช้ศาสนาคริสต์ งานศพใช้ศาสนาพุทธ และที่แย่ที่สุดคือการนับถือลัทธิที่น่าสงสัย
ญี่ปุ่นนี้เป็นประเทศที่มีลัทธิต่างๆ มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้นะครับ เพราะความสับสนทางศาสนานี้เองทำให้มีลัทธิใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย บางลัทธิดีก็ดีไป แต่บางลัทธิไม่ดีนะสิก็เป็นปัญหาเหมือนกัน
เหมือนดั่งเช่น ลัทธิโอมชินริเคียว(Aum Shinrikyo)
อาซาฮาระ โชโค
มัทสึโมโต้ จิซึโอะเกิดเมื่อ 2 มีนาคม 1955 เป็นบุตรชายของช่างทำเสื่อตาตามิ ในวัยเด็กมีอาการพิการทางสายตาจึงถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับผู้พิการทางตาประจำจังหวัดคุมาโมโต้ (เรียนวิชารักษาโรคด้วยการฝังเข็มและจี้ธูป)หลังจากเรียนจบตั้งเป้าหมายจะสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว จึงเข้าเรียนยังโยโยกิเซมินาร์ สาขาชิบูย่า (โรงเรียนพิเศษ)แต่ก็สอบตก พูดง่ายๆ คือ เขาโง่มาก
กรกฎาคมปี 1976 ถูกคำรวจจับและปรับเนื่องจากทำร้ายร่างกายคนรู้จัก
ปี 1977 อาซาฮาระ หลงไหลในเรื่องปาฏิหาริย์ต่างๆ จึงเริ่มฝึกโยคะและวิชาเซียนที่อินเดีย
ในปี 1978 ก็แต่งงานกับผู้หญิงที่รู้จักกันระหว่างเรียนที่โยโยกิเซมิน่าร์
ในปีเดียวกันนี้เอง เขาเปิดโรงพยาบาลสำหรับรักษาโรคด้วยการฝังเข็มที่จังหวัดจิบะและเปลี่ยนไปเป็นค้ายาสมุนไพรกับยาจีนในภายหลัง ในระยะแรก การบริหารงานเป็นไปด้วยดี
ปี 1980 เขาถูกฟ้องศาลในข้อหายื่นเรื่องขอเงินประกันอย่างไม่ถูกต้องเป็นเงิน 6,700,000 เยน หลังจากนั้นจึงเข้าลัทธิอะกองชู
ปี 1981 เปิดกิจการร้านขายยา หาในปีถัดมาก็ถูกจับเนื่องจากขายยาที่ไม่มีใบอนุญาตจนถูกปรับเป็นเงิน 200,000 เยน
ปี 1984 เปิดโรงฝึกสอนโยคะ "สมาคมโอม" และมัทสึโมโต้ก็เริ่มใช้ชื่อว่าอาซาฮาระ โชโคตั้งแต่ตอนนี้นี่เอง ปี 1986 เขาอ้างว่าตัวเองไปที่เทือกเขาหิมาลัยและ"หลุดพ้น"(ตรัสรู้?)ที่นั่น จึงเปลี่ยนชื่อจาก"สมาคมโอม"มาเป็น"สมาคมเซียนโอม"
และปี 1987 จะเปลี่ยนเป็น"โอมชินริเคียว"ในที่สุด โดยชื่อของโอมตั้งมาจากตัวอักษรศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาในอินเดียและตัวอักษรแต่ละตัวของโอมคือ A U M ก็มีความหมายถึง"การสร้างสรรค์" "การคงอยู่" และ"การทำลาย"ของจักรวาลซึ่งรวมทั้งหมดแล้วหมายถึง "อนิตยา" (ความไม่เที่ยงแท้) อันเป็นรากฐานของคำสอนของโอม
โอมได้จดใบอนุญาติเป็นลัทธิอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่ที่ทำการจังหวัดโตเกียวในวันที่ 25 สิงหาคม 1989 หลังจากปีนี้มีการแสดงโชว์ปาฏิหารย์หลายอย่างเป็นต้นว่าการลอยตัวกลางอากาศ ปล่อยแสงตรงหลัง ลอยสิงของ ฯลฯ จนมีสาวกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลังจากจดทะเบียนแล้ว โอมก็ย้ายฐานใหญ่ไปยังเมืองฟูจิมิยะ จังหวัดชิสึโอกะ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศเช่น ในประเทศรัสเซีย, ออสเตรเลีย, ยูเครน, เยอรมัน, ไต หวัน, ศรีลังกา, ยูโกสลาเวีย และสหรัฐอเมริกาเฉพาะสาวกในญี่ปุ่นนั้นมีอยู่ถึง เลื่อมใสศรัทธาถึง30000 คน (ต่างประเทศ 40000-60000 คน) ทีเดียว โดย สาวกส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี
ในลัทธิจะมีการแบ่งงานสาวกจะได้รับตำแหน่งและหน้าที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ในกลุ่มแกนนำของลัทธิเป็นผู้มีการศึกษาสูงซึ่งจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นดีของญี่ปุ่น มีทั้งคนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ทั้งนี้รวมถึงแพทย์ นักชีวเคมี สถาปนิก นักชีววิทยาและนักวิศวะพันธุกรรม ที่สําคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือสาวกบางคนเป็นแกนนําในการค้นคว้าวิจัยขององค์การพัฒนากิจการอวกาศญี่ปุ่น, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาวุธเคมีแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า, นักหนังสือพิมพ์ ชั้นนํา, นักฟิสิกซ์ แห่งมหาวิทยาลัยซูคูบา ฯลฯ โดยสาวกคนสําคัญของลัทธิซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ในระดับผู้นํา ได้แก่
1. ฮิเดอิ มูไร รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
2. คิโยฮิเด ฮายากาวา รัฐมนตรีกระทรวงการก่อสร้าง
3. ฟูมิฮิโร โชยุ รัฐมนตรีกระทรวงการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจบการศึกษาวิทยาศาสตร์
4. มหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยวาเซดา
5. โยชิโนบุ อาโอยามา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ ที่เกิดในตระกูลมั่งคั่งของโอซาก้า จบการศึกษานิติศาสตร์ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกียวโต
6. มาซามิ ซูชิยา หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์
ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นกำลังเกิดกระแสนิยมเรื่องเหนือธรรมชาติ โอมได้รับแนะนำลงใน"มู"ซึ่งเป็นนิตยสารเรื่องมิสเทรี่ในฐานะ"สมาคมโยคะของญี่ปุ่น" ในเล่มมีการลงรูปการกระโดดทั้งๆนั่งขัดสมาธิซึ่งภายหลังถูกอ้างว่าเป็นต้นแบบของการลอยตัวกลางอากาศ
คำสอนของโอมมีการใช้ศัพท์ภาษาอินเดีย (โดยเฉพาะของศาสนาฮินดู) ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่าเทพศิวะ (ถือเป็นพระเจ้าของโอม อ้างว่าชื่อเดียวกับพระศิวะในศาสนาฮินดูก็จริง แต่พระศิวะเป็นเพียงภาคหนึ่งของเทพศิวะ และอาซาฮาระซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ก็เป็นภาคหนึ่งของเทพศิวะเช่นกัน) มีการนำศาสนาอื่นๆเช่นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เต๋า โซโลแอสเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยอ้างว่าทุกศาสนาล้วนมีหนทางเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของคำสอนคือการปลีกตัวจากโลกภายนอกและเอาชนะตัณหาทั้งปวง
ส่วนหนึ่งในคำสอนของโอม "วจิรยานา" มีการกล่าวถึง"กฏของสวรรค์ที่ไม่เป็นไปตามกฏของโลก"ซึ่งอ้างว่าการกระทำใดที่ขัดต่อกฏของสังคม แต่ไม่เป็นตัณหาและถูกต้องโดยเหตุผลทางใจ ในบางกรณีจะสามารถยอมรับว่าถูกต้องได้
ตีความได้ว่า การฆ่าคนเป็นที่ยอมรับได้ถ้าคนที่ถูกฆ่าประกอบความชั่ว การชิงทรัพย์เป็นที่ยอมรับได้ถ้าเพื่อช่วยคนยากจนอื่นๆอีกมากมาย การโกหกเพื่อนำคนเข้าลัทธิเป็นเรื่องยอมรับได้เพราะเป็นการชี้ทางสว่าง ฯลฯ
ในอีกแง่หนึ่ง มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าคำสอนตรงจุดนี้เป็นการหาข้ออ้างให้กับการกระทำของเจ้าลัทธิและสาวกในเวลาถัดมา
ตุลาคม1989 ซากาโมโต้ สึสึมิ ซึ่งเป็นทนายที่ได้รับความไว้วางใจจากครอบครัวของสาวกให้รับผิดชอบคดีของโอมและเป็นผู้ตั้งสมาคมช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากโอมชินริเคียว ได้ทำการเจรจากับแกนนำของลัทธิ แต่ความเห็นไม่ลงรอยกันจนถึงขั้นแตกหักและไม่สามารถเจรจากันได้
เมื่อเจรจากันไม่ได้ เจ้าลัทธิอาซาฮาระเกรงว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อการลงเลือกตั้งในปีหน้าจึงสั่งให้สาวกซึ่งเป็นแกนนำ ประกอบไปด้วย โอกาซากิ คาสึอากิ, นิอิมิ โมโมมิทสึ, มูราอิ ฮิเดโอะ, ฮายาคาว่า คิโนฮิเด, นากาคาว่า โทโมมาสะ, สึมิโมโต้ ซาโตรุ ลงมือฆ่าซากาโมโต้
4 พฤศจิกายน ทนายซากาโมโต้ อายุ 33 และภรรยา อายุ 29และลูกชายวัย 1 ขวบถูกฆ่า ศพทั้งสามถูกนำไปฝังแยกย้ายกันคนละจังหวัด ศพของพวกเขาถูกพบในเดือนกันยายนปี 1995 แต่ ตำรวจไม่ได้ให้ความสนใจกับคดีนี้เท่าที่ควรหลังจากที่ซากาโมโต้หายสาบสูญทั้งครอบครัว มีการวิจารณ์ว่าเพราะสาวกของโอมเข้ามาเกี่ยวข้อง บ้างก็วิจารณ์ว่าเพราะสำนักงานทนายที่ซากาโมโต้ทำงานอยู่เป็นคู่อริกับทางตำรวจ ฝ่ายตำรวจก็เพียงสรุปคดีว่าครอบครัวซากาโมโต้ยักยอกเงินหนี โดยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเป็นชิ้นเป็นอันนัก
กุมภาพันธ์ปี 1990 อาซาฮาระลงสมัครเลือกสส.โดยเป็นตัวแทนจากพรรคชินริ แต่ก็สอบตก และอาจจะด้วยเหตุนี้ โอมจึงมองสังคมในฐานะศัตรูและเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น
พฤศจิกายน 1993 ตั้งโรงงานซาริน (สารพิษ) โดย”ซาริน: เป็นของเหลวไร้สี บางครั้งมีอันตรายร้ายแรงกว่าไซยาไนด์ จัดอยู่ในกลุ่ม ยาฆ่าแมลง คิดค้นขึ้นครั้งแรกที่เยอรมนีในทศวรรษที่ 1930 ซารินมีผลต่อระบบประสาทเมื่อ สูดดมเข้าไปจะเสียชีวิตภายใน 1-10 นาที โดยมีอาการรูม่านตาหดตัว เหงื่อออก และมี อาการอื่นๆ เช่นเดียวกับผู้ได้รับพิษจากวีเอ็กซ์ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดยาแก้
9 พฤษภาคม 1994 ทนายทากิโมโต้ ทาโร่ซึ่งมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวต่อต้านโอม ถูกโจมตีด้วยแก๊สพิษซารินซึ่งถูกซ่อนไว้ในรถ อาการสาหัสแต่รอดมาได้
27 มิถุนายน 1994) มีการโปรยสารพิษซารินที่เมืองมัตสึโมะโตะ จังหวัดนากาโนะ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 27 ถึงเช้าตรู่วันที่ 28 ผู้เสียชีวิต 7 ราย ผู้บาดเจ็บ 660 ราย นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการใช้สารพิษในการก่อการร้ายซึ่งมีประชาชนทั่วไปเป็นเป้าหมาย และนี่ก็เป็นการทดลองเพื่อเตรียมการสำหรับเหตุร้ายในชินจูกุ
ในระหว่างปี 1994 -1995 นี้ โอมได้มีการโจมตีและสังหารบุคคลภายนอกและอดีตสาวกเป็นจำนวนไม่น้อยด้วยแก๊สพิษซาริน
28 กุมภาพันธ์ 1995 สาวกของโอมได้ลักพาตัวข้าราชการจากที่ทำการเมืองเมะคุโระ ด้วยสาเหตุว่าเจ้าตัวได้ซ่อนตัวน้องสาวซึ่งเป็นอดีตสาวกไว้ ผู้เคราะห์ร้ายถูกนำไปกักกันตัวที่ฐานของลัทธิ แต่เนื่องจากถูกให้ยาสลบเกินขนาดจึงเสียชีวิตในอีก 3 วันให้หลัง
20 มีนาคม 1995 เวลา 8 โมงเช้า ในรถไฟใต้ดินจำนวน 5 สาย (มารุโนะอุจิ 2 สาย ฮิบิยะ 2 สาย จิโยดะ 1 สาย) สาวกของลัทธินํากระเป๋ าซึ่งบรรจุแก๊สซารินเหลวมายังสถานีรถไฟใต้ดินในชั่วโมงเร่ งด่วน จากนั้นก็ทําการเจาะกระเป๋าให้ แตกออกโดยใช้ ร่มปลายแหลม
และแล้วซารินจำนวนมากเกิดเป็นแก๊สพิษทำให้คน 12 คนเสียชีวิต และบาดเจ็บ 5,510 คน เป็นคดีฆาตกรรมอย่างไม่เลือกตัวครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างความตื่นตระหนกไปจนทั่วโลก
การเดินทางโดยรถไฟใต้ดินเป็นอัมพาตไปเกือบอาทิตย์และผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากก็ยังต้องทรมานกับผลข้างเคียงของซารินจนทุกวันนี้ หลายคนกลายเป็นอัมพาตและหลายคนหลับไม่ได้สติ
3 วันหลังจากเหตุร้ายที่ชินจูกุ จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตํารวจพบว่าโชโกะ อาซาฮารา มีส่วนรู เห็นในการกระทําดังกล่าว และต้องตะลึงอีกเมื่อพบว่าเขาทำเรื่องซ็อกโลกครั้งนี้เพราะเพื่อให้ตำรวจเบนความสนใจจากการตรวจสอบลัทธิโอมของเจ้าที่ตำรวจ
ตำรวจบุกเข้าลัทธิโอม และในวันที่ 16 พฤษภาคม ก็สามารถจับกุมอาซาฮาระพร้อมแกนนำได้ อาซาฮาระถูกฟ้อง 17 คดี ซึ่งเจ้าตัวปฏิเสธข้อหา 16 คดี (อีกคดีอยู่ระหว่างพิจารณา) ในศาล เขามักจะแสร้งทำตัวพูดไม่รู้เรื่องหรือแกล้งบ้าเพื่อจะได้พ้นข้อกล่าวหาเนื่องจากไม่มีความสามารถในการรับผิดชอบ
ปี 2006 อาซาฮาระถูกตัดสินโทษประหารในการพิพากษาขั้นที่ 1 โดยประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ แต่ยังไม่มีการระบุวันเวลาที่แน่นอน ส่วนสาวกลัทธิ โอม ชินริเกียว อีก 12 รายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับโทษประหารชีวิตแบบเดียวกัน และ ยังมีสาวกอีกหลายคนอยู่ระหว่างการหลบหนีจนปัจจุบันนี้
หลังจากคดีพิษซาริน ลัทธิโอมถูกประกาศว่าเป็นลัทธิอันตราย และถูกสั่งให้ยกเลิก แต่ก็ยังมีกลุ่มที่ยังศรัทธาลัทธิอยู่ และได้ตั้งชื่อใหม่เป็น “กลุ่มแอลป์” และปฎิบัติตามคำสอนของลัทธินี้อยู่จนถึงปัจจุบัน