การสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่เมื่อหลายล้านปีก่อนของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่บนโลก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือกาจเกิดจากการที่แบคทีเรียผลิตก๋าซมีเทนออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้
ฟอสซิลของสัตว์โบราณประเภทไครนอยด์ ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลที่มีจำนวนน้อยลงหลังจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 250 ล้านปีก่อน (Permian-Triassic extinction) โดยได้มีทฤษฎีใหม่ๆ กล่าวว่า สาเหตุมาจากแบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนขึ้น และผลิตก๊าซมีเทนซึ่งสร้างปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้สัตว์ทะเลต่างๆ ขาดอากาศหายใจในที่สุด
ราว 250 – 252 ล้านปีก่อน เป็นช่วงที่สัตว์น้ำหลายพันธุ์เกิดการตายขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานไว้หลายข้อ อาทิ ผลที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตเหมือนที่ฆ่าเหล่าไดโนเสาร์ การระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ มหาสมุทรเป็นพิษ หรือมีก๊าซมีเทนในบรรยากาศมากเกินไป ซึ่งนักวิจัยของ MIT กล่าวว่า การสูญพันธุ์นี้อาจจะมาจากทุกเหตุการณ์ที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ เพราะแบคทีเรียจะย่อยสลายนิเกิล และสร้างก๊าซมีเทนขึ้นมา โดยทฤษฎีใหม่นี้ได้ถูกนำเสนอในการประชุม American Geophysical Union ที่ผ่านมานี้
ทฤษฎีดังกล่าวจะคงต้องหาการพิสูจน์ต่อไป แต่อย่างน้อยเราก็รู้ว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะเหล่าแบคทีเรียมีความสามารถเกินกว่าที่เราจะคาดถึง