ในสงครามใช่ว่าเฉพาะผู้ชายอย่างเดียวที่มีบทบาทสำคัญ ผู้หญิงเองก็
มีความสำคัญไม่น้อยเหมือนกันโดยเฉพาะผู้หญิงคนนี้ที่ชื่อ "มาตา ฮารี"
เธอคนนี้เป็นใครแล้วมีความสำคัญยังไงบ้างไปอ่านกันเลยค่ะ...
...ชีวิตวัยเด็ก...
มาตา ฮารี มีชีวิตอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำหน้าที่เป็นสายลับหญิง พื้นเพเดิมเธอเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ มีชื่อจริงว่า "มาร์การีต้า เกร์ทรูดา เซลลา" (Margaretha Geertruida Zella) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1876 ในครอบครัวที่มีฐานะดี โดยเธอเป็นลูกสาวเพียงคนเดียวในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 5 คน มาร์การิต้าเป็นคนรักสวยรักงามเป็นเด็กฉลาด และมีทักษะทางด้านภาษาอย่างมาก
ต่อมาเมื่อมาร์การีต้าอายุได้ 13 ปี ธุรกิจของพ่อเธอล้มละลายเพราะการลงทุนผิดพลาดในตลาดหุ้น และทิ้งครอบครัวไปแต่งงานใหม่ส่วนแม่ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตในอีก 2 ปีต่อมา เธอจึงถูกส่งไปอยู่บ้านอุปถัมภ์และได้เข้าเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครู แต่ต่อมาก็ลาออกเพราะเธอรู้ตัวว่าไม่ชอบเด็ก และไม่อาจจะทนเป็นครูสอนเด็กๆได้
...ช่วงตกต่ำ...
เมื่อมาร์การีต้าอายุได้ 18 ปี ก็ได้แต่งงานกับ "รูดอล์ฟ แมกเลาด์" (Rudolph Macleod) นายทหารชาวดัตช์ เชื้อสายสก๊อตซึ่งมีนิสัยขี้เหล้ามาก ต่อมารูดอล์ฟก็ถูกย้ายมาประจำที่เกาะชวา ซึ่งเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ที่เกาะชวาแห่งนี้มาร์การีต้า หลงใหลในวัฒนธรรมพื้นเมืองมาก เธอเรียนภาษามาลายูและชอบนุ่งโสร่งแบบคนพื้นเมืองมากๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เธอสนใจเป็นพิเศษนั่นก็คือ การเต้นระบำพื้นเมืองที่เรียกว่า "มาตาฮารี" (แปลว่า ดวงอาทิตย์) เธอได้เรียนรู้รูปแบบการเต้น และค่อยปรับทีละนิดจนกลายมาเป็นแบบฉบับของตัวเอง
ช่วงที่มาร์การีต้าอยู่ที่เกาะชวา เธอกับรูดอล์ฟมีลูกสาวด้วยกัน 2 คน เป็นหญิง 1 ชาย 1 แต่ว่าสามีเธอก็ดันไปมีเมียน้อยเป็นชาวพื้นเมือง อีกทั้งยังคอยทำร้ายร่างกายเธอด้วย จนกระทั่งวันหนึ่งลูกชายของเธอถูกเมียน้อยวางยาพิษ มาร์การีต้ารู้สึกเศร้าใจมาก จนกระทั่งรูดอล์ฟปลดประจำการ ทั้ง 3 คนพ่อแม่ลูกก็พากันกลับเนเธอร์แลนด์ และที่บ้านเกิดแห่งนั้นเอง มาร์การีต้าได้ขอหย่ากับสามีและได้สิทธิ์ในการเลี้ยงดูลูก แต่เลี้ยงไปได้ไม่นานเธอก็ต้องยกลูกให้สามีไป เพราะเธอไม่มีเงินพอที่จะเลี้ยงลูก แต่สุดท้ายลูกสาวคนนี้ก็เสียชีวิตลงขณะอายุ 21 ปี
Louise Jeanne Mac Leod Norman-John (ซ้าย)
ลูกสาว ลูกชาย
...จุดพลิกผัน...
หลังจากที่เธอสูญเสียทุกอย่างในชีวิตไปหมดแล้ว มาร์การีต้าตัดสินใจเดินทางเข้ามาเสี่ยงโชคในฝรั่งเศส เธอเคยเป็นทั้งนักขี่ม้าผาดโผนในละครสัตว์ นางแบบให้จิตกรวาดภาพ ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม 1905 เธอได้แสดงการเต้นระบำพื้นเมืองที่เธอเคยเรียนมาจากชวาที่พิพิธภัณฑ์กุยเมต์ การแสดงครั้งนี้ทำเอาคนดูต่างตื่นตะลึงและประทับใจมากส่งผลให้เธอดังเป็นพลุแตก
เธอกลายเป็นนางแบบที่ถูกถ่ายภาพลงหนังสือจนโด่งดังไปทั่วปารีส และเป็นนักแสดงหญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นศิลปินนักเต้นที่โด่งดังไปหลายประเทศในแถบยุโรป และมีความสัมพันธ์กับผู้ชายหลากหลายคน โดยเฉพาะบรรดานายทหารระดับสูง ข้าราชการ นักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นชาวฝรั่งเศส รัสเซียและเยอรมัน...
...เล่นกับไฟในบทสายลับ 2 หน้า...
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มาตา ฮารี รู้จักกับหัวหน้าหน่วยจารกรรมเยอรมัน เขาขอให้เธอเป็นสายลับเพื่อล้วงความลับจากนายทหารฝรั่งเศสที่มาติดพันเธอ ต่อมาในปี 1916 เธอได้พบรักกับนายทหารรัสเซียซึ่งอายุน้อยกว่าและกำลังจะแต่งงานกัน แต่ว่าเขาบาดเจ็บและเสียตาข้างซ้ายไป มาตา ฮารี ต้องการไปเยี่ยมคนรัก แต่เนื่องจากเขาอยู่ในเขตที่ห้ามพลเรือนเข้าในประเทศเบลเยี่ยม เธอจึงขอความช่วยเหลือจากทหารฝรั่งเศสซึ่งยื่นข้อเสนอให้เธอไปล้วงความลับทางทหารของเยอรมันมาให้ได้ และจะจ่ายเงิน 1 ล้านฟรังค์เป็นค่าตอบแทนด้วย
ในที่สุดเธอก็เริ่มต้นทำงานเป็นสายลับให้กับฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันเธอก็ไม่กล้าปฏิเสธงานจากฟากเยอรมัน ดังนั้นเธอจึงทำงานเป็นสายลับให้กับทั้งสองฝ่าย ด้วยการใช้ความสามารถในการร่ายรำของตัวเองผนวกกับความเป็นสาวสะพรั่งล้วงความลับจากบรรดานายทหารหนุ่มมาขายเพื่อยังชีพ
มาตา ฮารี กับทหารฝรั่งเศส ในปี 1916
...การเดินทางครั้งสุดท้าย...
เธอเดินทางจากเนเธอแลนด์ไปยังสเปนและอังกฤษ โดยหวังว่าไปสิ้นสุดการเดินทางของตัวเองที่เบลเยี่ยมเพื่อจะได้ไปเยี่ยมคนรักแต่แล้วก็ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ขณะที่เธอพักอยู่ที่อังกฤษเธอได้ถือหนังสือเดินทางชาวดัตช์ ณ ที่นั่นเจ้าหน้าที่อังกฤษรู้สึกสับสนกับชื่อเต็มของเธอกระทั่งกลายเป็นเรื่องราว ทางฝรั่งเศสรู้เรื่องเข้าก็แจ้งรายละเอียดพร้อมกับขอให้ปล่อยตัวมาตา ฮารี แต่อังกฤษดันส่งเธอมายังสเปนแทน
มาตา ฮารี ตอนถูกจับกุม
นับแต่นั้นมากองทัพเยอรมันก็เริ่มไม่ไว้วางใจเธอและได้ปล่อยข่าวลือไป เมื่อมาตา ฮารี รู้ข่าวลือที่เยอรมันปล่อยออกไปนี้เข้าก็ไม่ได้เอะใจคิดว่าเป็นข้อมูลจริงๆ จึงรีบกลับไปยังฝรั่งเศสในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1917 และในวันเดียวกันนี้เองเธอถูกจับในข้อหาเป็นสายลับของเยอรมัน ในระหว่างที่เธอถูกจับกุมเธอถูกสอบสวนและล่วงรู้ความลับว่าเธอเป็นสายลับให้ทั้งฝ่ายมหาอำนาจกลาง (เยอรมัน) และฝ่ายพันธมิตร (ฝรั่งเศส, อังกฤษ) แม้เธอจะยืนยันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ศาลก็ตัดสินว่าเธอมีความผิดต้องถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
มาตา ฮารี วัย 41 ปี
มาตา ฮารี เดินขึ้นสู่หลักประหารอย่างองอาจ
โดยไม่ยอมให้ปิดตาและมัดมือ เธอถูกประหาร
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1917 ขณะอายุ 41 ปี
ลานประหาร มาตา ฮารี
ที่มา : @cloud, wikipedia, 02dual
****************************