โดนใบสั่ง ไม่ไปจ่ายค่าปรับ จะเป็นอย่างไร!?!

มีข้อถกเถียงสงสัยกันมานานแล้วว่าเมื่อได้รับใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ เวลาทำผิดกฎจราจร เช่น ขับรถฝ่าสัญญาณไฟ จอดรถในที่ห้ามจอด ตรวจจับความเร็ว ฯลฯ โดนใบสั่งแบบนี้ถ้าไม่ไปจ่ายจะเป็นไรไหม? ขยำใบสั่งทิ้งได้หรือเปล่า? วันนี้ Dealfish หาคำตอบมาให้

ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) นอกจากนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการกับผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถตามมาตรา 141 ทวิ ดังนี้

1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามสถานที่ วัน และเวลาที่ระบุในหมายเรียกนั้น แล้วพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

2. ถ้าพนักงานสอบสวนใช้อำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้วส่งหมายเรียกไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งไปยังนายทะเบียนรถหรือนายทะเบียนขนส่งทางบกให้งดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ได้รับใบสั่งจะมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและชำระค่าปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งไปยังนายทะเบียนให้ทราบเพื่อให้ผู้นั้นชำระภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นต่อไป

ดังนั้น เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือได้รับใบสั่ง คุณก็มีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่และภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ซึ่งปกติแล้วก็มักจะไม่เกิน 7 วัน หรือถ้าใครไม่สะดวกไปจ่ายเองก็อาจจะชำระทางไปรษณีย์ก็ได้ ส่วนกรณีโดนยึดใบขับขี่ไว้ ก็ให้ใช้ใบรับแทนใบขับขี่ไปพลางก่อน เมื่อไปชำระค่าปรับแล้วตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้

หลายคนคิดว่าไม่ต้องไปจ่ายหรอก ข้อมูลคงไม่ถึง อันนี้ขอแนะนำว่าอย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า นอกจากจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว ยังต้องอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นด้วย สรุปให้สั้นๆ นั่นคือ ทำให้ถูกต้องดีกว่าจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง...

Credit: http://auto.sanook.com/5720/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...