โง่ หรือ ฉลาด กับการคิดให้นักโทษติดชิปแทนการคุมขัง????

 

ในฐานะที่เป็นคนไทยคนนึง

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้

 

 

 

คุณรู้สึกหรือไม่ว่าในตอนนี้มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยของเราอยู่ดีๆก็มีการเสนอเชิงชี้นำให้คนดีไม่สมควรมีอาวุธปืนเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน และไม่กี่ลมหายใจต่อมาก็มีข่าวออกมาว่าจะมีการใช้ชิปติดตามนักโทษแทนการคุมขัง โดยให้นักโทษติดชิปติดตามและไปจำกัดบริเวณอยู่บ้านได้เเทนการต้องจองจำหลังกำเเพงปูนเหมือนเก่า...มันเกิดความคิดกลับตารปัดแบบนี้มาจากไหนกันหนอ?


หากประเทศไทยของเรามีระบบการรักษาสันติราษฎร์ หรือ การรักษาความสงบสุขของประชาชนที่เเข็งเเกร่งเชื่อถือได้ก็จะไม่ว่ากันเลย แต่หากว่าวันนี้ ประชาชนยังหาความปลอดภัยเต็มร้อยมิได้ โจรยังคงปล้นชิงวิ่งราว ร้านค้าร้านทองยังโดนปล้น ผู้ร้ายคดีต่างๆมีให้เห็นมากมายว่าพ้นโทษออกมาก็มากระทำผิดซ้ำเเล้วซ้ำอีก โดยที่ตำรวจไทยก็ยังทำงานกันอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจเพราะจากงบบำรุงตำรวจไม่เพียงพอ และระบบที่อาชีพตำรวจเป็นอาชีพชั้นรองตามลิขิตโครงสร้างที่ผู้มีอำนาจวางไว้....


ตอนนี้คนไทยหลายท่านก็นอนไม่หลับแล้วเพราะอาจจะมีนักโทษติดชิปมานอนบ้านได้...คำถามมากมายเกิดขึ้นมาทันที ว่า แล้วหากนักโทษที่ติดชิปติดตาม ได้ละเมิดการกักบริเวณ แล้วออกไปก่อเหตุ...ตำรวจไทยจะตามจับตะครุปตัวได้ทันก่อนก่อเหตุหรือค่อยตามไปดูกองเลือดเพิ่งอีกกองหลังเขาก่อเหตุแล้วหลบหนีไปแล้ว? 


เอาเป็นว่า ก่อนจะมาริดรอนสิทธิ์การครอบครองอาวุธปืนถูก กม. และจะมาริอ่านคิดติดชิพนักโทษ...กรุณาเอางบไปพัฒนาโครงสร้างอาชีพตำรวจไทยให้เป็นอาชีพชั้นหนึ่งก่อนจะดีไหม...ตำรวจจะได้มีพลังให้การพิทักษ์สันติสุขให้กับปวงชนชาวไทยได้อย่างเต็มที่ก่อน...

 


โดย : admin หมา

http://toptenthailand.com/27-2118.html

 

------------------------------------------------------------------

นักโทษเฮ!! ประชาชนผวา!? คิดได้ยังไง

 

 "ทำผิดไม่ต้องติดคุก"

 

 

พาดหัวข่าวบนหนังสือพิมพ์หลายฉบับวานก่อน คงทำเอาประชาชนคนไทยหลายคนอกสั่นขวัญผวากับแนวคิดไม่เข้าท่า นักโทษทำผิดไม่ต้องติดคุก กับการรับโทษแบบเบาๆ ให้ใส่กำไลฝังชิปแทนการเข้าไปรับโทษในคุก ถึงแม้จะมีการชี้แจงว่ามาตรการนี้ทำเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ และหลักเกณฑ์การใช้ก็มีอย่างชัดเจน แต่ก็อดกังวลไม่ได้ว่า ในอนาคตเมืองไทยอาจจะกลายเป็นสังคมไร้ความปลอดภัย เพราะเราอาจจะเดินสวนกับคนร้ายฆาตกรแบบไม่รู้ตัว นอกจากนั้นยังเกรงว่าอาจจะเป็นช่องทางให้นักโทษมีฐานะ นักโทษการเมืองรับโทษในบ้านกันแบบสบายๆ ก็เป็นได้

       
       ประชาชนผวา เพิ่มอาชญากรรม


       หลังจากข่าวการเผยแพร่กฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกแบบอื่น โดยให้นักโทษใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวแทนการจำคุก ซึ่งสามารถตรวจสอบที่อยู่ และจำกัดขอบเขตในการเดินทางได้ ต่างทำให้ประชาชนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจและไม่เห็นด้วย เพราะหวั่นเกรงว่าจะกลายเป็นการปล่อยผู้ร้ายให้เดินเพ่นพ่านไปทั่วเมืองซึ่งอาจทำให้ประชาชนไร้ความปลอดภัย และปัญหาอาชญากรรมจะยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม 
       

        "มันเหมาะสมแล้วหรอ คนทำผิดไม่ติดคุก...ทีนี้ต่อไปจะมีแต่คนใจบาปเต็มบ้านเต็มเมืองละครับพี่น้อง"         "อีกหน่อยประเทศไทยจะอยู่ยากมาก"          "ลองนึกดูแบบเล่นๆนะ พวกนักโทษคดีฆ่าข่มขืนที่เพิ่งรับโทษได้แค่เพียง 1 ใน 3 ออกมาเดินป้วนเปี้ยนอยู่ตามตรอกซอยใกล้บ้านเรา มีแค่เพียงกำไลพร้อมชิป ถ้าพวกนี้แม่งออกมาก็มีแต่ ชิปหาย อย่างเดยวเท่านั้นล่ะ"          "มีทางเดียวเวลาออกจากบ้าน ถือปืนไว้ในมือพร้อมที่จะลั่นไก 24 ชั่วโมง จัดไป!! "          "ขนาดนอนคุก ยังจับกันไม่หวาดไม่ไหว คราวนี้แหละ!! "           "บ้าน รถ มันยังงัดได้ นับประสาอะไรกับอีแค่กำไลฝังชิป ฉิบหายแน่งานนี้"           "ถ้าพวกคุณคิดจะปล่อยนักโทษออกมาอยู่ที่บ้าน แล้วจะตัดสินให้มันจำคุกตลอดชีวิตเพื่ออะไร น่าจะเอาสมองไปคิดพัฒนาประเทศไทยให้ดีกว่านี้นะ มีสมองคิดได้แค่นี้หรือยัง อีกหน่อยพวกประชาชนไม่ต้องพกปืนกันทุกคนหรอ ไม่ต้องมีคนตายเพิ่มขึ้นหรอ ต้องอยู่อาศัยกับคนที่ทำผิด อยากรู้เอาสมองส่วนไหนคิดวะ" (โดนใจมากค่ะ)           "ต่อไปนี้จะมีคุกไว้เพื่ออะไร แล้วคนผิดจะได้รับโทษกันยังไง นี่เหรอประเทศไทย"           "ใช้อะไรคิดเนี่ย นี่คนดีๆเค้าไม่ต้องนอนผวากันรึไงวะ ที่อยู่ร่วมกับนักโทษแบบนั้น งามไส้เลย"

       
       นักโทษเฮ!! ไม่ต้องนอนคุก

       
       ดูเหมือนว่ารัฐบาลนี้โยนหินถามทางกี่ครั้ง ประชาชนก็ไม่เอา อย่างตอนเปิดเฟซบุ๊กโหวตพ.ร.บ.นิรโทษฯ ก็ถูกคัดค้านจนต้องแอบลบทิ้งไป มาครั้งนี้ก็โดนจวกเละไม่เป็นท่า เพราะประชาชนก็ต่อต้านไม่แพ้กัน เลยต้องมีการตั้งโต๊ะแถลงข่าว“การแก้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขต พ.ศ.2556” ไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยมีพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมทีมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรมมาชี้แจง
       
        “การใช้เครื่องมือ EM หรือ กำไลฝังชิพติดตามตัวผู้ต้องขัง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นการจำกัดพื้นที่ อาณาเขต หรือใช้ระบุตำแหน่งด้วยระบบ GPS เพื่อเป็นวิธีการในการคุมขัง โดยกำหนดวิธีการหรือสถานที่ในการขัง หรือจำคุกนอกเรือนจำให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ต้องขัง หรือจำคุกในแต่ละลักษณะ โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่าจะต้องเป็นไปตามคำสั่งศาลจะที่ให้จำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดและได้รับโทษจำคุกมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ หรือไม่น้อยกว่า 10 ปี ในกรณีต้องโทษจำคุกเกิน 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิตให้จำคุกในสถานที่อื่นตามที่ศาลเห็นสมควร” นายวิทยา สุริยะวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมกล่าว
       
        การปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวจะเน้นไปที่กลุ่มผู้ต้องขัง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้ต้องหาชราหรือป่วยเป็นโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ไตวายเรื้อรัง มะเร็งระยะสุดท้าย หากจำคุกต่อไปต้องเสียชีวิตและต้องออกไปรับการรักษา เช่น ฟอกไต หรือฉายรังสี ทุกสัปดาห์ 2. กลุ่มที่ต้องออกไปดูแลลูกและภรรยาหรือพ่อแม่ที่แก่ชราและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 3. กลุ่มผู้เจ็บป่วยเรื้อรังและต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 4. กลุ่มนักโทษที่มีเหตุทุเลาการลงโทษ เช่น ต้องคลอดบุตร หรือวิกลจริต
       
        โดยญาติจะต้องร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้ง ส่วนศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร ถือเป็นอำนาจของศาล ซึ่งการปฏิบัติจะต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ในปัจจุบันทางกรมราชทัณฑ์มีแนวปฏิบัติให้ลดวันต้องโทษและพักการลงโทษกับนักโทษชราและนักโทษเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายอยู่แล้ว

 

       
       เหมาะหรือไม่? กับสังคมไทย

       
        ถึงแม้เรื่องนี้จะทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลว่าเมืองไทยจะไร้ความปลอดภัย คนทำผิดจะยิ่งไม่กลัวเกรงต่อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เรื่องนักโทษไม่ต้องนอนคุกก็ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง นั่นคือการช่วยลดความหนาแน่นในเรือนจำ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนนักโทษที่ถูกจำคุกประมาณ 260,000 คน จากเรือนจำทั้งหมด 143 แห่ง ขณะที่มีความสามารถในการรองรับนักโทษได้เพียง 190,000 คน จึงจำเป็นต้องมีการระบายนักโทษออกไป 
       
        เมื่อสอบถามความคิดเห็นของ ผศ.ภาณุมาศ ขัดเงางาม นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพียงแต่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่านักโทษคนใดควรได้รับการละเว้นอยู่ในเรือนจำแล้วเปลี่ยนมาใช้กำไลฝังชิปแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการก่ออาชญากรรมซ้ำซาก
       
        “มันเป็นแนวคิดการลงโทษหนึ่งที่เอามาจากต่างประเทศ ผมก็คิดว่าก็น่าจะช่วยลดอาชญากรรมลงได้ในระดับหนึ่งนะครับ ถามว่ามันเหมาะสมกับประเทศไทยมั้ย อันนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของโทษ ถ้าโทษที่มันร้ายแรง อุกฉกรรจ์ก็คงใช้ไม่ได้หรอก ถ้าเป็นโทษที่เกิดจากจากตัวผู้กระทำตั้งใจเอง อย่างยาเสพติดเนี่ยอันตราย อันนี้ไม่ควรนำมาใช้ แต่ถ้าความผิดที่เกิดจากบันดาลโทสะ หรือมีความจำเป็นก็ทำได้” 
       
        ส่วน พันตำรวจโท กฤษณพงศ์ พูตระกูล ประธานบริหารหลักสูตรวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก็มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน 
       
        “วัตถุประสงค์คือหนึ่งเพื่อลดจำนวนผู้ต้องหาที่หนาแน่นมากในเรือนจำ ประเด็นที่สองก็คือเราจะทำอย่างไร เพราะงบประมาณในการสร้างเรือนจำเราก็ไม่มี คือเตียงเดียวอาจจะต้องนอนด้วยกัน 3 คน มันก็หนาแน่นเกิน ซึ่งผมก็ดูตามข่าวมาว่า ต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และก็ต้องดูฐานความผิดด้วยว่าเค้ากระทำผิดในฐานอะไร อย่างเช่นกระทำความผิดฐานค้ายาเสพติด มันสมควรมั้ยเพราะว่าเป็นฐานความผิดที่มีโทษร้ายแรง แล้วทีนี้หลักเกณฑ์การพิจารณาเราต้องมาดูอีกทีนึงว่าจะขออนุมัติขออำนาจศาลอย่างไร
       
        เพราะในต่างประเทศเค้าก็มีการใช้อยู่แล้ว แต่ถ้าถามว่าป้องกันอาชญากรรมได้หรือเปล่าอันนี้คนทั่วๆ ไปจะมองว่า คุณกระทำความผิดถ้าไปฆ่าคนตายควรได้รับโทษรุนแรง ร้ายแรง อย่างประหารชีวิต ต้องใช้กฎตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ว่าขณะเดียวกันคนที่กระทำความผิดไปยิงเค้าเพราะอาจจะโกรธแค้นนายจ้างเพราะภรรยาอาจโดนทำร้ายร่างกาย ข่มขืน หรืออะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นการที่เค้าตอบโต้ผู้กระทำมันควรจะบรรเทาโทษให้เค้ามั้ย เพราะเรื่องบทลงโทษเนี่ยมันเป็นความคิดทางวิชาการ 
       
        แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องกลับมาดูบริบทของเราว่าขณะนี้เรามีงบประมาณเพียงพอที่จะดูแลผู้กระทำความผิดในเรือนจำมั้ย ประการที่สองการลดโทษให้นักโทษที่เค้าปฏิบัติตัวดีก็จะเป็นการดีตรงที่นักโทษคนอื่นเค้าจะได้ดูเป็นแบบอย่าง ลดการประท้วงในเรือนจำ อย่างที่เพิ่งเผาเรือนจำที่นครศรีธรรมราชถ้าเป็นมาตรการนี้ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบที่ดีได้ ประการที่สาม วิธีการพิจารณามันเข้มข้นแค่ไหน มีการล็อบบี้มั้ย อันนี้ต้องมีหลักเกณฑ์ตรงนี้ ต้องมีคณะกรรมการพิจารณาก่อนเสนอไปให้ศาล”
          

  หวั่นเอื้อประโยชน์ทักษิณ 

       
        อีกกระแสความคิดหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือมีบางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการรับโทษครั้งนี้ อาจเป็นการช่วยเอื้อประโยชน์กับผู้ร้ายแดนไกลนักโทษการเมืองอย่าง ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม นายวิทยา สุริยะวงค์ ปฏิเสธถึงกรณีนี้ว่า การใส่กำไลฝังชิปติดตามตัวผู้ต้องขังนั้น ไม่ได้กำหนดขึ้น เพื่อรองรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากต้องกลับมารับโทษ หรือนักโทษในคดีการเมืองอื่นๆ แต่อย่างใด
       
        อย่างไรก็ดี หลายๆ คนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า “คุกมีไว้ขังหมากับคนจน” เลยทำให้อดหวั่นใจไม่ได้ว่า ถึงไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้อดีตนายกฯ ทักษิณ แต่ก็อาจกลายเป็นทางซิกแซ็กให้บรรดาเหล่าคนรวยที่กระทำผิดไม่ต้องเข้าไปนอนในซังเต ซึ่ง พันตำรวจโท กฤษณพงศ์ พูตระกูล เน้นย้ำว่า ขอให้กฎข้อนี้มีความเสมอภาคเท่าเทียมทั้งคนจน คนรวย ไม่ใช่ว่านำมาช่วยเหลือเหล่านักโทษมีเงิน หรือนักโทษการเมือง
       
        “ผมเห็นด้วยตรงที่มันเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดความหนาแน่นในเรือนจำ แต่ถ้าจะไม่เห็นด้วยคือกรณีที่ ถ้าเกิดกระทำแล้ว มาตรฐานมันไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน หมายถึงว่ามีการเหลื่อมล้ำ พวกคนที่มีฐานะร่ำรวย ได้รับการดูแลอีกอย่างนึง ได้พ้นโทษก่อนมาใส่กำไลข้อมือ หรือนักโทษการเมือง นักการเมืองท้องถิ่นหรือระดับชาติก็ตาม ก็มาใส่กำไลข้อมือแทนอย่างนี้ มันก็เกิดความไม่เสมอภาคกัน สองมาตรฐาน ก็ต้องยอมรับว่าในสังคมไทยมันยังมีเรื่องเหล่านี้อยู่จริงๆ 
       
        อย่าให้สิ่งใหม่ๆ กฎใหม่ๆ ทำให้คนที่อยู่ในระดับล่าง หาเช้ากินค่ำ ไม่มีสิทธิมีเสียง รู้สึกถูกกดขี่ข่มเหงมากไปกว่านี้อีกเลย ต้องให้ความเป็นธรรม เสมอภาคกันหมด”
       

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live

 

http://www2.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037449&CommentPage=1&TabID=1&

 

18 ก.ค. 56 เวลา 16:38 3,500 11 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...