สองมเหสีคู่บัลลังก์
รัชการที่ 5
หมายเลข 1 สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี เป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ประสูติวันที่ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 นับว่าเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาวที่สุดได้ทรงแลเห็นความเปลี่ยนแปลงของเมืองไทย ถึง 6 แผ่นดิน
หมายเลข 2 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๔) กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาเป็น
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ประสูติ ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน จุลศักราช ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม
พุทธศักราช ๒๔๐๖
ในสมัยรัชการที่5ตอนต้นนั้นยังถือได้ว่าพระองค์ยังไม่ทรงมีพระอัครมเหเสี(อัคร แปรว่า ที่หนึ่ง เป็นเอก )ทรงมีแต่พระมเหสีอยู่หลายพระองค์ ดังนี้
1. พระองค์เจ้าทักษิณชา
2. พระองค์เจ้าสุนันทา
3. พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี
4. พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
5. พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี
ดังนั้นหากว่าพระมเหสีองค์ใดสามารถมีพระราชโอรสถวายแก่พระพุทธเจ้าหลวงได้ มเหสีองค์นั้นก็จะได้ดำรงค์ตำแหน่งพระอัครมเหสีสูงสุดในฝ่ายใน(ฝ่ายใน แปลว่า พระมเหสีพระราชวงศ์ พระสนมที่เป็นผู้หญิง) ในไม่ช้าพระองค์เจ้าสว่างวัฒนาก็ทรงมีประสูติกาลพระราชโอรสองค์แรกให้แก่พระพุทธเจ้าหลวง และต่อมาพระโอรสของพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท ทำให้พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาได้ดำรงค์ตำแหน่งพระอัครมเหสีและสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
แต่ภายหลังมานั้นพระราชโอรสของพระองค์(เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) ได้สวรรคตลง ทำให้พระราชโอรสของพระพุทธเจ้าหลวงที่มีพระชนม์รองลงมาคือ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(รัชกาลที่6)ได้เป็นรัชทายาทแทน ซึ่งพระราชโอรสพระองค์นี้ประสูติจาก พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีทำให้ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีได้ขึ้นดำรงค์ตำแหน่งพระอัครมเหสี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
จึงทำให้ขณะนั้นรัชกาลที่5มีพระอัครมเหสีสองพระองค์คือ พระบรมราชเทวีและพระอัครราชเทวีในเวลาเดียวกันเรื่อยมา โดยที่รัชกาลที่5ก็ไม่ทรงยอมลดพระอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา เพราะรัชกาลที่5ก็ทรงเกรงว่าสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาจะเสียพระทัยมากกว่าเดิม จนกระทั่งรัชกาลที่5เสด็จประพาสยุโรบเพื่อทำการเจริญสัมพันธไมตรี จึงได้สถาปณาสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ผู้เป็นพระราชมารดาของรัชทายาทขึ้นเป็น พระบรมราชินีนาถ(ราชินีนาถ แปลว่าราชินีทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระมหากษัตริย์)สูงสุดในฝ่ายใน และเกิดความกระจ่างขึ้นในตัวอัครมเหสี
ที่มา: คลังประวัติศาสตร์ไทย
Credit:
คลังประวัติศาสตร์ไทย