83 เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์
1. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์พลังงาน
เชื่อหรือไม่ว่าร่างกายของคนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คนแต่ละคนจะมีพลังงานเทียบเท่ากับการเปิดหลอดไฟฟ้าขนาด 120 วัตต์ เพราะคนที่กินอาหารเข้าไปปริมาณ 2,500 แคลอรีในแต่ละวันจะให้พลังงานความร้อน 104 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าที่มีพลังงาน 120 วัตต์
2. กะพริบตา
ตลอดชีวิตของคนเรานั้นเราต้องกะพริบตาถึง 250 ล้านครั้งทีเดียว เพราะเราจะต้องกะพริบตาทุก ๆ 6 วินาที ทำให้กล้ามเนื้อตาเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้ว จะ
เท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน
3. สมองบริโภค
เชื่อหรือไม่ว่าตอนแรกเกิดสมองของเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 15 ปี สมองจะหนักถึง 1.4 กิโลกรัมและจะมีขนาดคงที่ สมองเติบโตได้เพราะใช้พลังงานจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป 20% และใช้เลือดหล่อเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย
4. กระบวนการคิด
นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า อิริยาบถต่าง ๆ มีผลต่อการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ การนอนคิดจะทำให้ความคิดกว้างไกล การยืนทำให้ความคิดแคบลงสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น ส่วนการนั่งเป็นอิริยาบถที่เหมาะกับการตัดสินใจที่ไม่รีบร้อนเท่าใดนัก
ผมงอก โดยปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 – 11.00 น. และ 16.00 – 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะ เพราะมันแทบจะมองไม่เห็นเลย
5. เส้นขนแข็งแรง
โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก ฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆ กับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว
6. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตาแหลมคม
ตาของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกะพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี
7. ตาที่สาม
เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตา ตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า สารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผล นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์
8. ฮัดเช้ย!
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคือง เราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที
9. ริมฝีปาก
เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเอง จึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้
10. ยิ้มแย้ม
ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัด หากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีก เชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอยตีนกา 1 รอย
11. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟันปลา
เชื่อกันว่าเมื่อประมาณ 1 ล้านปีที่แล้ว ฟันของมนุษย์มีลักษณะคล้ายกับฟันปลาเพราะมีการค้นพบฟันลักษณะเดียวกันกับของมนุษย์อยู่ในกรามของปลาฉลามยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้น ฟันของมนุษย์และปลาฉลามจึงมีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน แต่ฟันของมนุษย์ได้พัฒนาจนมีรูปร่างเหมือนในปัจจุบัน
ปลาเปคู (Pacu) ปลาฟันคน > http://teen.mthai.com/variety/59011.html
12. การทรงตัว
เชื่อหรือไม่ว่าหูมีผลต่อการทรงตัว อวัยวะที่ช่วยให้เราสามารถทรงตัวอยู่ได้คือ เซมิเซอร์คิวลาร์ คาแนล (semicir-cular canel) ในหูซึ่งภายในมีของเหลวที่ไวต่อการกระตุ้นของเหลวนี้จะทำหน้าที่ในการรับรู้สมดุล หากเราหมุนไปรอบ ๆ ตัวเร็ว ๆ หลาย ๆ ครั้ง จะทำให้อวัยวะนี้เกิดความสับสน เราจึงรู้สึกเวียนศีรษะ
13. เสียงกรน
เสียงกรนเป็นเสียงที่สร้างความรำคาญแก่ผู้ได้ยินเพราะดังพอ ๆ กับเสียงของสว่านไฟฟ้าซึ่งดังถึง 70 เดซิเบล
14. พลังปอด
เชื่อหรือไม่ว่าปกติเราจะหายใจเอาอากาศเข้าไปประมาณ 6 ลิตรต่อนาที แต่ระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกายใหม่ ๆ เราอาจหายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากถึง 100 ลิตรต่อนาที
15. น้ำหนักวิญญาณ
เชื่อหรือไม่ครับว่าวิญญาณของพวกเราก็มีน้ำหนักด้วยเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์ทดลองชั่งน้ำหนักของวิญญาณโดยชั่งน้ำหนักของคนในขณะที่มีชีวิตอยู่เปรียบเทียบกับน้ำหนักหลังจากเสียชีวิตทันที พบว่าน้ำหนักหายไป 21 กรัม จึงสรุปว่าดวงวิญญาณของพวกเรามีน้ำหนัก 21 กรัมด้วย
16. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ สารฆ่าความเจ็บปวด
น้องๆเคยสังเกตไหมว่าทำไมบางครั้งนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการแข่งขันยังสามารถลงแข่งขันได้จนจบหรือทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบยังคงทนต่อสู้ข้าศึกอยู่ได้ พวกเขาไม่เจ็บกันหรือ นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วครับว่าเมื่อมนุษย์เผชิญสถานการณ์ที่ตึงเครียด สมองจะปล่อยสารออกมายับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้ ทำให้มนุษย์ต่อสู้กับความเจ็บปวดได้
17. ไม่มีน้ำตา
รู้หรือปล่าวว่าตอนที่เราอายุ 4-5 เดือน เราร้องไห้ไม่มีน้ำตากันหรอกครับ แม้จะร้องเสียงดังแค่ไหนก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะต่อมน้ำตาของคนเราจะพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดมาแล้ว 4-5 เดือน ตอนนี้พวกเราคงจะร้องไห้มีน้ำตากันทุกคนแล้วนะครับ
18. หิวเพราะกลิ่น
พอกลิ่นหอมของอาหารลอยมา พวกเราคงเคยรู้สึกหิวตามกลิ่นนั้นไปด้วยใช่ไหมล่ะ ก็กลิ่นอาหารเข้าไปกระตุ้นระบบการย่อยอาหารของเราน่ะสิครับ ทำให้น้ำย่อยในปากและท้องทำงาน เราจึงรู้สึกหิวทั้งๆที่บางครั้งเราไม่ต้องการกินอีกแล้ว
19. กระเพาะแข็งแกร่ง
ในกระเพาะอาหารของเรามีน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงมาก จนสามารถละลายสังกะสีได้ แต่กรดเหล่านี้ไม่สามารถละลายผนังกระเพาะของเราได้ เนื่องจากทุกนาทีเซลล์ผนังกระเพาะเก่า 5000 เซลล์ จะถูกเซลล์ใหม่แทนที่และเปลี่ยนเป็นเซลล์ใหม่ทั้งหมดทุกๆ 3 วัน
20. ท้องร้องจ๊อกๆ
พวกเราเคยได้ยินเสียงท้องร้องเมื่อรู้สึกหิวบ้างไหมครับ สาเหตุที่ท้องร้องก็เพราะสมองซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความรู้สึกหิวของเรา จะคอยจัดลำดับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ ถ้าในเลือดมีสารอาหารพอเพียง สมองก็จะสั่งให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง แต่เมื่อใดที่มีสารอาหารในเลือดน้อยระบบย่อยอาหารจะทำงานเร็วขึ้นเราจึงได้ยินเสียงท้องร้อง
21. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตกใจจนหน้าซีด
เมื่อเราตกใจหน้าจะซีด เนื่องจากเลือดบริเวณแก้มจะไหลย้อนกลับอย่างรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ฉุกเฉิน คือให้สารอาหารและออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อส่วนอื่น เนื่องจากร่างกายไม่ได้เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องเผชิญความตกใจ เมื่อเลือดจากแก้มไหลออกไป หน้าเราจึงซีด
22. เขินอาย
เมื่อเรารู้สึกเชินอายหน้าเราก็จะแดง โดยเฉพาะบริเวณแก้มและลำคอ เพราะขณะที่เราเขินอาย เซลล์ประสาทจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยสารเคมีที่พลังงานสูงชื่อว่า เปปไตด์ (peptide) ออกมา ทำให้เส้นเลือดที่แก้มและลำคอขยายตัว หน้าของเราจึงแดงมากกว่าปกติ
23. มาจากดวงดาว
ร่างกายของเราประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก อะตอมเหล่านี้มาจากไหน นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าอะตอมเกิดมาจากดวงดาวที่ดับแล้วเมื่อ 5000 ล้านปี ก่อนที่จะมีพระอาทิตย์เกิดขึ้น และดวงดวงนี้เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก่อนเมื่อโลกเกิดขึ้น เซลล์ของสิ่งมีชีวิตนี้ก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นคน
24. สารพัดสาร
เชื่อหรือไม่ว่าในร่างกายของเรามีสารอยู่มากมาย เช่น มีฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากพอจะทำหัวไม้ขีดไฟ 2,000 ก้าน มีไขมันพอที่จะทำสบู่ได้ 7 ก้อน มีเหล็กมากพอที่จะทำตะปูได้ 1 ตัว มีปูนขาวที่สามารถละลายน้ำแล้วนำไปทาห้องเล็ก ๆ ได้ 1 ห้อง มีซัลเฟอร์ 1 ช้อนชาและโลหะอีกประมาณ 30 กรัม
25. นอนแล้วสูง
การนอนช่วยให้เราสูงขึ้นได้ เพราะเมื่อเรายืนหรือนั่ง แผ่นกระดูกอ่อนที่กระดูกสันหลังจะถูกแรงดึงดูดของโลกกดลง การนอนช่วยให้แรงกดนี้หายไป แผ่นกระดูกอ่อนที่ถูกกดก็จะพองตัว ทำให้เราสูงขึ้นได้อีก 8 มิลลิเมตร แต่เมื่อตื่นมาเราก็จะสูงเท่าเดิม
26. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ พลังกาย
ร่างกายของคนเราแข็งแกร่งมากกว่าที่เราคิดเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการยกน้ำหนัก เช่น ถ้าเรานอนหลับโดยห่มผ้าหนัก 2.5 กิโลกรัม หายใจโดยเฉลี่ย 16 ครั้งต่อนาที และนอนนานประมาณ 8 ชั่วโมง ทรวงอกของเราสามารถยกน้ำหนักได้ถึง 20 ตัน
27. ฉันทำไม่ได้
สิ่งที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถทำได้ คือหายใจและกลืนอาหารไปพร้อม ๆ กัน เพราะกระบวนการกลืนจะไปรบกวนกระบวนการหายใจด้วยการปิดกั้นอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปขณะที่อาหารเคลื่อนจากปากไปยังคอหอยและผ่านไปที่กระเพาะอาหาร
28. หัวใจที่รัก
ในช่วงชีวิตของมนุษย์นั้น หัวใจจะสูบฉีดโลหิตประมาณ 500 ล้านลิตรและเต้น 2,000 ล้านครั้ง ดังนั้น ใน 1 วัน หัวใจจะสูบฉีดโลหิตมากกว่า 13,500 ลิตร และเต้น 100,000 ครั้ง แต่ละวันหัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้พลังงานมากพอ เชื่อหรือไม่ว่าพลังงานที่ได้นี้สามารถยกรถยนต์ได้สูงถึง 15 เมตรเลยทีเดียว
29. เรื่องของผิวหนัง
เชื่อหรือไม่ว่าพื้นที่เพียง 1 ตารางนิ้วบนผิวหนังของเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์ถึง 19 ล้านเซลล์ ขน 60 เส้น ต่อมน้ำมัน 90 ต่อม ต่อมเหงื่อ 625 ต่อม เส้นเลือดยาว 19 ฟุต และเซลล์รับความรู้สึก 19,000 เซลล์
30. เซลล์เม็ดเลือด
มีผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าถ้านำเซลล์เม็ดเลือดของเรามาต่อเป็นสายยาวจะสามารถพันรอบเส้นศูนย์สูตรได้ถึง 4 รอบเลยทีเดียว
31. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ น้ำในร่างกาย
น้อง ๆ คิดว่า ร่างกายของเรามีสถานะใดตามหลักวิทยาศาสตร์ หลายคนอาจจะคิดว่า มีสถานะเป็นของแข็ง แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่าร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ด้วยเหตุนี้ตลอดชีวิตของคน 1 คนจึงต้องดื่มน้ำเป็นจำนวนมากถึง 70,000 ลิตร
32. ความสำคัญของเกลือแร่
เกลือแร่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง หากนำเกลือแร่ออกจากกระดูกโดยนำกระดูกไปแช่ในน้ำกรด เกลือแร่จะละลายออกมาจนสามารถนำกระดูกนั้นมาผูกให้เป็นปมได้
33. หนาวสั่น
อาการหนาวสั่นเป็นอาการที่ร่างกายแสดงออกมาเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หลังจากที่ได้รับความเย็นมากเกินไป เพราะความเย็นจะทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลง และเป็นอันตรายได้หากอุณหภูมิลดต่ำลงมาก ๆ ดังนั้น กล้ามเนื้อจึงผลิตความร้อนด้วยการทำให้กล้ามเนื้อหดตัวไปมาอย่างรวดเร็ว
34. สูงและต่ำ
ตอนกลางวัน อุณหภูมิในร่างกายของเราอาจสูงขึ้นได้มาก ๆ หากเรารับประทานอาหารมื้อใหญ่ อยู่ในที่อากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ตอนกลางคืน อุณหภูมิในร่างกายของเราจะค่อย ๆ ลดลงจนต่ำที่สุดเมื่อเรานอนหลับเพื่อเป็นการรักษาสมดุล
35. ลูกผู้ชาย
การที่ผู้ชายเชื่อว่าลูกผู้ชายต้องไม่หลั่งน้ำตานั้น ส่งผลกระทบให้ผู้ชายเป็นโรคเครียดได้ง่ายกว่าผู้หญิง เพราะมีโอกาสปลดปล่อยอารมณ์ที่ถูกกดดันได้น้อย รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังเครียดก็ลองหาโอกาสปลดปล่อยอารมณ์บ้างก็ดีนะครับ แต่ไม่ใช่เอาแต่นั่งร้องไห้อยู่ล่ะ การออกกำลังกายก็สามารถช่วยคลายเครียดได้เช่นกัน
36. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตัวยารักษาโรค
การฉีดยาเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่งที่แพร่หลาย ทราบหรือไม่ว่าแพทย์ได้ตัวยามาจากไหน ในยาฉีดนั้นมีส่วนประกอบของแบคทีเรียที่ทำให้มีฤทธิ์อ่อนลง ซึ่งได้มาจากเชื้อโรคของผู้ป่วยรายอื่นที่ป่วยเป็นโรคเดียวกับเรา นอกจากนำไปทำเป็นยาฉีดแล้ว เชื้อโรคเหล้านั้นยังสามารถนำไปทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคได้อีกด้วย โดยวัคซีนจะเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันโรคชนิดนั้น ๆ ในร่างกาย
37. หาวนอน
อาการง่วงเหงาหาวนอนเกิดจากการที่เรารู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย ระบบทางเดินหายใจของเราจึงทำงานช้าลงเป็นผลให้กล้ามเนื้อคอหอยปิดโดยอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายต้องการอากาศเพิ่มขึ้น เราจึงต้องหาวเพื่อเอาอากาศเข้าไปใช้ในกระบวนการหายใจ
38. ใบหน้า
วันหนึ่ง ๆ เราอาจมีอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นถูกถ่ายทอดออกมาบ่อยครั้งทางใบหน้า เชื่อหรือไม่ว่ากล้ามเนื้อทั้งที่เป็นวงกลมและเป็นเส้นบนใบหน้าสามารถแสดงอารมณ์ที่หลากหลายได้มากกว่า 1,000 รูปแบบ
39. นอนหลับ
ขณะนอนหลับเราสามารถเรียนรู้ได้หรือไม่ ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ในขณะนอนหลับได้ แต่จากการทดลองอย่างละเอียดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังพบว่า มนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่นอนหลับสนิท แต่จะสามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่อยู่ในช่วงสะลึมสะลือ
40. ล้มตัวลงนอน
เชื่อหรือไม่ว่า ในบรรดาสิ่งมีชีวิต มีสัตว์เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่นอนหลับโดยเอนหลังแนบกับพื้น และสัตว์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็คือมนุษย์
41. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ น้ำหนักลด
ไม่ว่าเราจะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใดก็ตาม น้ำหนักของเราจะสามารถลดลงได้ 300 กรัม ทุกวันในขณะที่เรานอนหลับแต่อย่าเพิ่งดีใจไปนะครับ เพราะทันทีที่ตื่นขึ้นมา น้ำหนักของเราก็จะเท่าเดิม
42. อาณาจักรแห่งความฝัน
นักวิทยาศาสตร์พบว่า ถ้าวันหนึ่ง ๆ เรานอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมง เราจะฝัน 3-5 ครั้งต่อคืน โดยช่วงความฝันแต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 10-30 นาที และถ้าเราถูกปลุกขึ้นมาในระหว่างที่กำลังฝันอยู่ เราอาจจะจำความฝันนั้นได้หรือไม่ได้ก็ได้
43. ความฝัน
เชื่อหรือไม่ว่า ความฝันช่วยทำให้จิตใจของเราสดชื่นเบิกบานได้ ไม่ว่าเราจะจำความฝันนั้นได้หรือไม่ก็ตาม เพราะความฝันจะแสดงถึงสิ่งที่เราอยากทำเมื่อตื่น แต่เราไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลนานาประการ
44. เวลาของความฝัน
ผู้เชี่ยวชาญแสดงทัศนะเกี่ยวกับเวลาในช่วงของความฝันไว้ว่า เวลาที่เราตื่นอยู่ประสาทความรู้สึกเกี่ยวกับเวลาของเราจะเป็นแนวตั้ง ดังนั้น เราจึงรับรู้แต่ขณะปัจจุบันเท่านั้น แต่เมื่อเราหลับมันจะกลายเป็นเส้นแนวนอน
ทำให้เราสามารถเดินทางไปในอดีตและอนาคตได้
45. สร้างความฝัน
ถ้าอยากให้ความฝันสวยงามลองงดดื่มเครื่องดื่มทุกชนิดประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอนสิครับ เพราะผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจะทำให้ความฝันยิ่งใหญ่ และถ้าใครเห็นความฝันของตนเองเป็นสีต่าง ๆ ละก็แสดงว่าเป็นคนที่ไวต่อการกระตุ้นต่าง ๆ รอบตัวมากทีเดียว
46. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ จมูกของมด
ใครรู้บ้างว่ามดใช้อะไรในการดมกลิ่น คำตอบก็คือใช้เท้านั่นเอง การใช้เท้าดมกลิ่นช่วยให้มันสามารถตามกลิ่นที่เพื่อนของมันทิ้งไว้ตามทางได้ นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ข้อต่อที่หนวดรับกลิ่นได้อีกด้วย
47. นายช่างใหญ่
บีเวอร์เป็นสัตว์ที่ชอบสร้างเขื่อนและบ้านของมันมาก มันจะคาบกิ่งไม้และกินไม้เป็นอาหาร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าไม่ได้กัดไม้ทุกวัน ฟันของมันก็จะงอกและยาวขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มันกินอาหารไม่ได้และอดตายในที่สุด
48. อูฐลื่น
อูฐเป็นสัตว์ที่ขาแต่ละข้างประกอบด้วยนิ้วขนาดใหญ่ 2 นิ้ว ปกคลุมด้วยแผ่นรองเท้าที่หนาและเหนียวทั้งยังมีแผ่นหนังบาง ๆ เชื่อมนิ้วเท้าให้ติดกัน ทำให้เท้าอูฐแข็งแรงเหมาะสำหรับเดินในทะเลทราย แต่หากจับอูฐมาอยู่ในโคลนละก็ เท้าแบบนี้ก็ไร้ประโยชน์เพราะจะทำให้อูฐลื่นไถลได้ง่าย
49. หางเก็บอาหาร
มีสัตว์อยู่หลายชนิดที่มีหางและหางของมันก็ใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป อย่างเช่น แกะพันธุ์หนึ่งที่ใช้หางของมันทำหน้าที่เก็บหญ้าซึ่งเป็นอาหารของมันไว้ เมื่อหญ้าขาดแคลน หญ้าที่ถูกสะสมไว้ที่หางก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย
50. หูหนวกเต้นระบำ
หากใครเคยชมภาพยนตร์อินเดียคงจะเคยเห็นงูที่เต้นระบำเมื่อได้ยินเสียงปี่ จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เต้นระบำเพราะเสียงปี่หรอกครับ งูเป็นสัตว์ที่หูหนวกจึงไม่ได้ยินเสียงปี่ แต่ที่มันเต้นส่ายไปส่ายมาก็เพราะจังหวะการเคลื่อนไหวของหมองูต่างหาก ถ้าลองใช้ไม้แทนปี่ งูก็ยังคงเต้นระบำได้เหมือนกั
51. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ สุนัขน้ำร้อน
สุนัขเป็นสัตว์ที่คนนิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป เพราะนอกจากจะใช้เฝ้าบ้านแล้ว สุนัขยังทำหน้าที่ได้หลายอย่าง นานมาแล้วชาวอินเดียนแอซเทคนำสุนัขพันธุ์เม็กซิโกซึ่งตัวเล็กนิดเดียวและมีขนสั้นบางมาใช้แทนกระเป๋าน้ำร้อน เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่เท้าเจ้าของเมื่ออากาศหนาว
52. ช้างนักกิน
ช้างแอฟริกามีขนาดใหญ่มาก หนักถึง 7 ตัน ที่ตัวใหญ่ขนาดนี้เพราะมันใช้เวลาในการกินประมาณ 18-20 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน โดยกินพืชผักประมาณวันละ 350 กิโลกรัมและกินน้ำ 90 ลิตร
53. กินทางตา
โดยปกติสัตว์จะกินอาหารทางปาก แต่สำหรับคางคกและกบแล้ว พวกมันจะกินอาหารทางตา เมื่อกินอาหารมันจะปิดตาแน่น ดันลูกตาที่แข็งให้ชนเพดานปากทำให้เพดานปากถูกกดลงมาแนบกับลิ้นแล้วดันอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้มันยังดื่มน้ำโดยการดูดซึมน้ำผ่านทางผิวหนังด้วย
54. ปลิงป้องกันตัว
ปลิงทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกมีวิธีป้องกันตัวเองที่แปลกคือ เมื่อถูกทำร้ายมันจะหดตัวทันทีและจะดันอวัยวะภายในของมันออกมา แต่มันก็ยังไม่ตาย อวัยวะเหล่านั้นจะเป็นอาหารของผู้ที่ทำร้ายมัน แล้วมันจะค่อย ๆ หลบหนีไป จากนั้น 2 –3 สัปดาห์อวัยวะภายในของมันก็จะงอกใหม่
55. ตาเคลื่อนที่
ปลาลิ้นหมาไม่ได้มีตาเดียวอย่างที่พวกเราเห็นกัน ตอนแรกที่มันเกิดมามันจะมี 2 ตา แต่เมื่ออายุมากขึ้น ตาของมันจะย้ายตำแหน่งมารวมกัน โดยเคลื่อนที่ไปรวมกับตาอีกข้างหนึ่งซึ่งอยู่บนหัว
56. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ระเบิดควัน
ปลาหมึกยักษ์มีวิธีการป้องกันตัวคล้ายการสร้างระเบิดควันของทหาร เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู มันจะพ่นหมึกดำในถุงด้านหลังลำตัวออกมาทำให้น้ำบริเวณรอบ ๆ ขุ่นดำ แล้วมันจะรีบหนีไป นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันสามารถเปลี่ยนสีหมึกของมันให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ด้วย เช่น สีแดง สีเหลือง สีเทา เป็นต้น
57. กบหดตัว
กบพาราดอกซิคัล (Paradoxical) ในอเมริกาใต้มีความพิเศษคือยิ่งมันเจริญเติบโตขึ้นตัวก็ยิ่งเล็กลง เมื่อเป็นลูกอ๊อดมันมีลำตัวยาวถึง 10 นิ้ว แต่เมื่อโตเป็นกบลำตัวจะหดลงจนเหลือขนาดไม่เกิน 3 นิ้วเท่านั้น
58. หนอนกระสือ
หนอนกระสือตัวเมียจะมีอวัยวะที่เรืองแสงอยู่บริเวณใต้ท้องซึ่งใช้ส่งสัญญาณไปยังปีกของตัวผู้ที่บินอยู่ด้านบน หนอนกระสือตัวเมียสามารถควบคุมการเปล่งแสงได้ โดยจะใช้แสงต่อเมื่อต้องการดึงดูดตัวผู้เท่านั้น
59. แสงนำทาง
รู้ไหมทำไมผีเสื้อกลางคืนจึงชอบบินเข้าหาแสงไฟในตอนกลางคืน เพราะปกติผีเสื้อกลางคืนจะใช้แสงจันทร์นำทาง แต่แสงอื่นทำให้มันสับสนและประสาททางด้านทิศทางเสียไป ดังนั้น มันจึงพยายามปรับแสงจันทร์ปลอมให้ทำมุมเดียวกันกับแสงจันทร์จริง ๆ โดยการบินเป็นวงกลมเข้ามาใกล้แสงนั้นมากขึ้น
60. เครื่องขยายเสียง
จิ้งหรีดตัวผู้จะใช้เสียงเพลงซึ่งเกิดจากขาหน้าเสียดสีกันการดึงดูดตัวเมีย แต่จะไม่ดังนัก มันจึงสร้างเครื่องขยายเสียงชนิดพิเศษ โดยการขุดรังใต้ดินให้มีอุโมงค์ทางเข้าสองทาง แล้วก็ยืนส่งเสียงไพเราะอยู่ทางอุโมงค์ด้านหนึ่ง แต่ที่แปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ หูที่ไวต่อเสียงของมันไม่ได้อยู่ที่หัวแต่ที่อยู่ที่ขา
61. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ สัตว์มีเหงื่อหรือไม่
สุนัขก็มีเหงื่อครับ แต่เหงื่อของมันจะออกบริเวณฝ่าเท้า นอกจากนี้สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว จะมีเหงื่อออกทางจมูก ส่วนเหงื่อของฮิปโปโปเตมัสจะออกมาจากทุกส่วนของร่างกายและจะเป็นเหงื่อสีแดง ลองสังเกตนะครับว่าสัตว์อื่น ๆ มีเหงื่อออกที่ส่วนใดของร่างกาย
62. หนึ่งไม่มีสอง
คนเรามีลายนิ้วมือไม่เหมือนกัน ม้าลายแต่ละตัวก็มีแถบลายเฉพาะที่ซึ่งจะไม่ซ้ำกับม้าลายตัวอื่น ๆ เช่นกัน
63. หนูนักร้อง
หนูเป็นสัตว์ที่สามารถร้องเพลงได้ แต่เสียงร้องของมันจะเป็นเสียงซูเปอร์โซนิค (Supersonic) ซึ่งมีลักษณะเป็นเสียงสูงและรัว ทำให้เราไม่ได้ยินเสียงเพลงของมัน แต่ถ้ามันลดระดับเสียงให้ต่ำลงจนถึงระดับปกติที่เราสามารถได้ยิน เราก็จะได้ยินเสียงเพลงจากหนูได้
64. สัตว์ปากกว้าง
สัตว์ที่สามารถอ้าปากได้กว้างที่สุดคืองูเหลือมเรติคูเลเตด (Reticulated python) มันสามารถยืดตัวได้ถึง 10 เมตร และอ้าปากกว้างจนกลืนกินสัตว์ที่มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม จึงไม่แปลกที่จะมีคนพบสัตว์ใหญ่ ๆ อย่างเสือดาวในท้องของมัน
65. ไม่เอาไมโครโฟน
ไซเมียง (Simiang) เป็นสัตว์บกที่มีถุงลมขนาดใหญ่ จึงตะโกนได้เสียงดังกว่าสัตว์อื่น ๆ มันสามารถตะโกนให้สัตว์ที่อยู่ห่างออกไปถึง 8 กิโลเมตรได้ยินได้ ส่วนสัตว์น้ำที่สามารถตะโกนได้เสียงดังที่สุดคือ ปลาวาฬรอร์ควอล (Rorqual whale) มันสามารถร้องเพลงด้วยความถี่ 20 เฮิรตซ์ ให้ได้ยินไปไกลถึง 150 กิโลเมตรเลยทีเดียว
66. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ นักแม่นธนู
ปลาเสือมีวิธีจับเหยื่อที่คล้ายกับการยิงธนู โดยมันจะพ่นน้ำไปยังแมลงที่เกาะอยู่บนต้นพืชเหนือน้ำ ทำให้แมลงตกลงในน้ำ จากนั้นก็จะตรงเข้าไปฮุบแมลงนั้นไว้ทันที ปลาเสือสามารถพ่นน้ำใส่เหยื่อของมันในระยะ 3 เมตรได้อย่างแม่นยำ
67. อาวุธของทากทะเล
ทากทะเลไม่มีเปลือกห่อหุ้มร่างกาย ดังนั้น มันจึงป้องกันตัวโดยการกินเซลล์เข็มพิษของแมงกะพรุนเข้าไปเพื่อใช้เป็นอาวุธ เข็มพิษนี้จะไม่ถูกย่อยไปพร้อมกับอาหาร แต่จะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านหลัง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูมันก็จะป้องกันตัวด้วยการปล่อยเข็มพิษออกมา
68. ปลาฉลามว่ายน้ำ
ถ้าเรามีโอกาสได้เฝ้าดูปลาฉลามอย่างใกล้ชิดก็จะพบว่าปลาฉลามต้องว่ายน้ำตลอดเวลา หากหยุดว่ายน้ำมันจะตาย เพราะปลาชนิดอื่น ๆ จะมีถุงลมทำให้หายใจได้แม้ไม่เคลื่อนที่ แต่ปลาฉลามไม่มีถุงลม ดังนั้น ถ้ามันหยุดว่ายน้ำก็จะทำให้ไม่มีออกซิเจนไหลผ่านเหงือกจึงไม่มีออกซิเจนใช้ในการหายใจ
69. สุดยอดตัวอ่อน
ตัวอ่อนของสัตว์ที่กินเก่งที่สุดในโลกคือตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนในอเมริกาเหนือ เนื่องจากมันสามารถกินอาหารที่มีน้ำหนักมากถึง 86,000 เท่าของน้ำหนักตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมงแรกที่มันเกิดมา
70. หมอกเพื่อชีวิต
ด้วงแอฟริกาใต้ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายนามิบมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินหมอก ปกติมันจะอาศัยอยู่ใต้เนินทรายซึ่งอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ แต่เมื่อมันกระหายน้ำ มันก็จะบินออกมาเกาะยอดเนินแล้วปล่อยให้ลดพัดพาหมอกมาจับบนตัวของมัน เมื่อหมอกเกิดการควบแน่นจนกลายเป็นหยดน้ำมันก็จะกินน้ำนั้นแก้กระหาย