การรำแก้บนเป็นสิ่งคู่กับคนไทยกันมาช้านาน พบเห็นได้ที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสถานที่คนเคารพนับถือ
ผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรามองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยใจ มักมากราบไหว้ขอพร
และบนบานขอในสิ่งที่ตนปรารถนา ครั้นเมื่อสมปรารถนาแล้วก็จะมาแก้บนด้วยการปิดทอง ถวายสิ่งของ และรำแก้บน
การรำแก้บน มาจากรำละครแก้บนในสมัยกรุงเก่า โดยดัดแปลงจากละครรำชาตรี เพียงแต่ไม่มีการแสดง
เป็นเรื่องเป็นราวเท่านั้นเอง และไม่ว่าจะเป็นละครชาตรี ละครโนรา ละครใน ละครนอกใน หรือว่าจะเป็น
การรำแก้บนเองก็ตาม นาฏศิลป์เหล่านี้ต่างบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของ
ประชาชนชาวไทยที่มีความเชื่อต่อสิ่งศักด์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือ
การ “ยกเครื่อง” จัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของละครแก้บน โดยทำให้เสร็จในช่วงเที่ยงวัน
ละครแก้บนในอยุธยามีหลายคณะในระบบครอบครัว งานแสดงจะมีมากในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นการแก้บนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย
การให้ได้มาในสิ่งที่ตนปรารถนากลายเป็นแก้บนในเรื่องอื่น
ศาลท้าวมหาพรหม สถานที่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการบนบานศาลกล่าว
ขอพรมักสำเร็จสมปรารถนามาตลอดโดยเฉพาะเรื่องการงาน การเรียน
ด้วยความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นเทพแห่งความสำเร็จนั่นเอง
ละครแก้บนกับวัดโสธรวรวิหาร เป็นสิ่งคู่กันมาช้านาน ผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาในอภินิหารของหลวงพ่อโสธร
มักมากราบ ไหว้และบนบานขอในสิ่งที่ตนปรารถนา ครั้นเมื่อสมปรารถนาแล้วก็จะมาแก้บนด้วยการปิดทอง
ถวายสิ่งของ และหาละครรำแก้บนบริเวณหน้าอุโบสถวัด
ละครรำแก้บนแต่ละชุดใช้เวลารำประมาณ ๕-๑๐ นาที มีนางรำ ๔-๖ คน แต่งเป็นพระและนางคู่กัน
เนื้อเรื่องมักตัดตอนมาจากวรรณคดี เช่น แก้วหน้าม้า รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น
การรำแก้บนเป็นวิถีชีวิตแบบไทยที่สะท้อนความเชื่อ และเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดนี้
การรำแก้บนที่เป็นนาฏศิลป์ซึ่งปฏิบัติคู่วิถีชีวิตแบบไทย ที่สะท้อนความเชื่อและเอกลักษณ์
เฉพาะที่บ่งบอกถึงความสวยงาม ความล้ำค่า ของวัฒนธรรมไทยด้วย
เพราะฉะนั้นการรำแก้บนจึงสมควรที่จะถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ควรที่ทุกคนควรรู้จักกันอย่างแพร่หลาย
และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามนี้ให้คงอยู่สืบต่อไป