"แสง"เป็นมลพิษ สำหรับ"เต่า"

 

 

 

 

 

เต่า "ล็อกเกอร์ เฮด" หรือเต่าหัวค้อน กับเต่าตนุ (กรีน ซี เทอร์เทิล) ในอิสราเอล ได้รับผลกระทบจากแสงไฟในยามค่ำคืน ส่งผลให้ถูกฆ่าหรือไม่สามารถหาสถานที่สำหรับวางไข่ของมันได้ตามปกติ ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาวิจัยของเทสซา เมเซอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากแสงไฟยามค่ำคืนที่สว่างไสวตามชายหาดของอิสราเอล

 

เมเซอร์ระบุว่า ตามปกติแล้ว เต่าทะเลทั้งสองชนิดจะขึ้นมาทำรังเพื่อวางไข่บนหาด ซึ่งจะเป็นจุดที่เมื่อเต่าเหล่านั้นลงทะเลไปแล้วเติบโตเจริญวัย ก็จะกลับมาทำรังเพื่อวางไข่ในบริเวณที่ตนเองเกิดมาอีกครั้ง โดยจะอยู่ในรัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตร จากจุดเดิมที่มันเจาะเปลือกไข่ออกเดินลงทะเล

ในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน ฤดูวางไข่ของเต่าทั้งสองชนิดจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน โดยตัวเมียตัวหนึ่งๆ จะสามารถขึ้นมาทำรังวางไข่ได้ถึง 8 รัง ด้วยการคลานขึ้นมายังหาด ขุดทรายเพื่อทำรัง แล้วก็ออกไข่ไว้ในนั้น 40-200 ฟองต่อรัง ก่อนกลบแล้วทิ้งไว้เช่นนั้นนานราว 2 เดือน ลูกเต่าในรังจะฟักออกมาเป็นตัวในตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าทั้งหลายแล้วคลานลงทะเลไป

ปัญหาก็คือ เมื่อแสงไฟฟ้าสว่างไสวไปทั่วหาดจะส่งผลกระทบต่อสัญชาตญาณของลูกเต่าเหล่านั้น ซึ่งเรียกกันในทางวิชาการว่า "วิช่วล คิว" ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการกำหนดทิศทางของทะเลเมื่อเต่าออกจากไข่ เมื่อวิช่วล คิวได้รับผลกระทบ จะส่งผลให้ลูกเต่าไม่สามารถหาทะเลพบ และแทนที่จะเดินลงทะเล กลับเดินผิดทิศทาง ตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าจำพวกสุนัข สุนัขจิ้งจอก นกต่างๆ แทน หรือไม่ก็เดินขึ้นถนนกลายเป็นเหยื่อของรถยนต์ที่แล่นผ่านไปผ่านมานั่นเอง

Credit: http://board.postjung.com/690839.html
12 ก.ค. 56 เวลา 08:24 1,832 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...