บทความ "เงินถุงแดง ช่วยชาติ"

 

 

 

บทความ "เงินถุงแดง ช่วยชาติ"

 

 

 "เงินถุงแดง ช่วยชาติ"  ได้อย่างไรกัน ไม่น่าเชื่อเลย เป็นไปได้จริงๆ เหรอนี่!!         เงินถุงแดงนะคะ เป็นเงินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ที่ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับใช้ในราชการแผ่นดิน แต่มิได้พระราชทานให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ นะจ๊ะ        จากที่ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลองมาคิดประติดประต่อกันว่า ในสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีพระราชโอรสคือรัชกาลที่ 3 เนื่องจากรัชกาลที่ 3 มีความสามารถด้านการค้าขาย ซึ่งค้าขายกับต่างชาติเก่งมาก จนพระบิดา (รัชกาลที่ 2) เรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว"   และในสมัยที่รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ดำเนินการค้าขายกับต่างชาติ และมีเงินเข้าท้องพระคลังอย่างมากมายและเงินส่วนนี้แหละที่จะมีส่วนช่วยชาติ...                                                         จากที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ดู การที่รัชกาลที่ 3 ค้าขายเก่งมากๆ  พระองค์น่าจะพอมีเงินเก็บส่วนพระองค์อยู่บ้าง (เงินถุงแดง) 
มาถึงตอนที่  "เงินถุงแดง ช่วยชาติ" ได้อย่างไร                                                                                            เมื่อปี พ.ศ. 2431 นั่นเอง ประเทศไทยของเราเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จึงมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ เพราะฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยเนี่ย ไปลุกล้ำดินแดนญวณและเขมร ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นอาณานิคมไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงให้รวบรวมเมืองต่างๆ ขึ้นเป็นภาค   ครั้งนี้เริ่มหนัก   ในปี พ.ศ. 2436 ก็เกิดกรณีที่ทหารของไทยเราต่อสู้กับทหารของฝรั่งเศส *-* ซึ่งฝรั่งเศสแพ้ เมื่อเป็นเช่นนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบเข้ามาในน่านน้ำไทย รัชกาลที่ 5 จึงต้องดำเนินนโยบายการเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้ จึงได้เจรจาตกลงกันกับฝรั่งเศส ซึ่งไทยเราต้องยอมชดเชยค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส (อ่านถึงตรงนี้บางคนคงนึกออกแล้วว่าถุงแดงเกี่ยวยังไง) และไทยเราต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสไปอย่างน่าตาเฉย   สรุป เงินถุงแดงนี่แหละ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงนำมาใช้เป็นค่าเสียหายให้กับฝรั่งเศส ไทยเราจึงรอดจากภัยคุกคามของต่างชาติมาได้

 

อ้างอิง: ฐิติรัตน์ เกิดหาญ.(2550).วันสำคัญของไทย.กรุงเทพฯ:พี เอ็น เค แอนด์ สกายพรินติ๊งส์

 


Credit: http://www.learners.in.th/blogs/posts/514575
11 ก.ค. 56 เวลา 17:57 7,231 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...