พบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลาน 'ท้าวแสนปม'

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลาน ก่อนยุคไดโนเสาร์ 50 ล้านปี เผยมีขนาดลำตัวเท่าวัว ส่วนหัวเต็มไปด้วยโหนกนูนตะปุ่มตะป่ำ ใช้ชีวิตในทะเลทรายในห้วงเวลาที่พื้นดินบนโลกยังเป็นผืนเดียว 

เจ้าตัวนี้มีชื่อว่า บูนอสเตกอส (Bunostegos) เป็นสัตว์เลื้อยคลานกินพืชในสกุล พาเรียซอร์ เคยมีชีวิตบนแผ่นทวีปแพนเกียเมื่อ 250 ล้านปีก่อน ซากของมันถูกค้นพบที่ประเทศไนเจอร์ในแอฟริกา โดยเจ้าสัตว์ตัวขนาดเท่าวัวชนิดนี้ เคยท่องอยู่ในยุคเพอร์เมียน ก่อนไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกราว 50 ล้านปี กินพวกเฟิร์นกับสน

ลิ นดา ซูจี แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติล อธิบายเกี่ยวกับเจ้า Bunostegos ในวารสาร Journal of Vertebrate Paleontology ว่า ปุ่มปมตะปุ่มตะป่ำบนหัวของมัน ไม่ใช่หูดขนาดยักษ์ แต่เป็นกระดูกที่โปนขึ้นบนกะโหลก มีผิวหนังที่เป็นเกล็ดแบบสัตว์เลื้อยคลานห่อหุ้มปุ่มงอกเหล่านี้ไว้ ซึ่งเข้าใจว่า ปุ่มปมอย่างที่เห็นในภาพวาด มีไว้เพื่อช่วยให้พวกพาเรียซอร์ด้วยกันจดจำกันเองได้ว่า ตัวไหนเป็นตัวไหน

เธอบอกว่า ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตอยู่ ภูมิอากาศมีความแห้งแล้งมาก มีฝนตกหนักแค่ฤดูกาลเดียวในรอบปี แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงพืชที่เป็นอาหารของสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้ได้

แม้ นักบรรพชีวินวิทยาได้ค้นพบฟอสซิลของบูนอสเตกอสหลายตัวในที่เดียวกัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่า พวกมันอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หรือซากเหล่านี้เพียงแต่ถูกกระแสน้ำพัดพาให้มากองรวมกัน

สัตว์ เลื้อยคลานหน้าตาพิลึกชนิดนี้ได้หมดไปจากโลกในปรากฎการณ์ของการสูญพันธุ์ ครั้งใหญ่ ที่ปิดฉากยุคเพอร์เมียนเมื่อราว 248 ล้านปีก่อน และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า สาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในรอบนั้น เกิดจากอะไร อาจเป็นภูเขาไฟระเบิด อาจเป็นน้ำทะเลท่วม หรือภาวะโลกร้อน. 



Source : Los Angeles Times
ที่มา news.voicetv /thaiza
Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/53873.html
1 ก.ค. 56 เวลา 11:30 2,770 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...