ทำไม 1 สัปดาห์ต้องมี 7 วัน? ยังไม่มีใครหาเหตุผลได้ว่าทำไมต้อง 7 วัน จำนวนวันในสัปดาห์เป็นอย่างเดียวที่เราคิดกันขึ้นมาเองโดยไม่ได้อิงกับหลักการ หรือเหตุผลอะไร ในประวัติศาสตร์ก็มีคนที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงระบบในการคิดจำนวนวัน แต่ก็ยังไม่มีใครทำสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ ถ้าจะดูว่าเราเริ่มใช้ระบบ 1 สัปดาห์ เท่ากับ 7 วันกันตั้งแต่เมื่อไหร่ ต้องย้อนกลับไปกันเมื่อกว่าสองพันปีที่แล้ว
ในสมัยก่อนบางชนชาติก็ไม่ได้กำหนดให้ 1 สัปดาห์ต้องมี 7 วัน เช่น อาณาจักรแอสซีเรียให้ 1 สัปดาห์มี 6 วัน ที่อียิปต์มี 10 วัน และที่ประเทศจีนให้มี 15 วัน
มีการเริ่มใช้ 1 สัปดาห์เท่ากับ 7 วัน ครั้งแรกที่แถบตะวันออกกลาง โหราจารย์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นผู้กำหนดให้มี 7 วัน ตามจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้าทั้งหมด 7 ดวงที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
ปฏิทินในยุคอารายธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวยิวเองก็กำหนดให้ 1 สัปดาห์มี 7 วัน ยึดตามจากที่มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์ Genesis ว่าพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกขึ้นใน 7 วันโดยมี 1 วันเป็นวันพักผ่อน (Sabbath) และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดวันหยุดประจำ
คัมภีร์ Genesis กล่าวถึงเรื่องการสร้างโลกใน 7 วัน
ชาวโรมันกำหนดจำนวนวันในอาทิตย์ตามเหตุผลทางธุรกิจ เช่น ถ้าเป็นวันค้าขาย (Market day) ก็จะให้สัปดาห์หนึ่งมี 8 วัน หลังจากนั้น จักรพรรดิ์คอนสแตนตินแห่งอาณาจักรโรมันเป็นผู้แรกที่ให้ใช้ระบบ 1 สัปดาห์ เท่ากับ 7 วันอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 321
ปฏิทินของชาวโรมัน
ชาวเยอรมันโบราณ กำหนดให้ 1 สัปดาห์ มี 5 วัน และมีชื่อตามเทพต่างๆ ซึ่งต่อมาชื่อนี้ได้กลายเป็นชื่อเรียกวันที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น Odin กลายเป็น Wednesday และ Thor กลายเป็น Thursday และคำว่า สัปดาห์(Week) ภาษาอังกฤษ ก็เปลี่ยนมาจากคำว่า Vikja ซึ่งหมายถึง หมุนเวียน (To turn) นอกจากนั้น คำว่าวันอาทิตย์ (Sunday) และวันจันทร์ (Monday) ก็มาจากพระอาทิตย์ (Sun) และพระจันทร์ (Moon)
ปฏิทินของชาวเยอรมันโบราณและภาพของเทพ Thor
ในช่วงยุคปฏิวัติที่มีหลายประเทศต้องการล้มล้างความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ประเทศฝรั่งเศสพยายามเปลี่ยนแปลงปฏิทินให้มี 10 วันแทน แต่โครงการนี้ไม่เป็นผลสำเร็จ และโดนจักรพรรดินโปเลียนยกเลิกไป
นาฬิกาบอกวันที่ของชาวฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ.1929 สหภาพโซเวียตพยายามเปลี่ยนให้ 1 สัปดาห์ มี 5 วัน และมีวันหยุด 1 วัน และเปลี่ยนจากการใช้ชื่อวันเป็นเรียกเป็นสีแทน คือ เหลือง ส้ม แดง ม่วง เขียว แต่ถึงจะกำหนดให้มีวันหยุด แต่เพื่อให้เกิดงานมากที่สุด เลยบังคับให้ประชาชนแต่ละคนมีวันหยุดคนละวันกัน ซึ่งระบบนี้ทำให้เกิดความสับสน วุ่นวายมาก เลยมีการเปลี่ยนจาก 5 วัน เป็น 6 วัน และเป็นจากเรียกเป็นสี เป็นเรียกเป็นตัวเลขแทน ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นเท่าไหร่ ในปี ค.ศ. 1940 รัสเซียเลยเปลี่ยนวิธีการคิดวันกลับมาเป็น 7 วันแบบเดิม
ปฏิทินของรัสเซียในช่วงยุดปฏิวัติ
นอกจากที่รัสเซียแล้ว ในประวัติศาสตร์ก็มีคนที่พยายามจะเปลี่ยนวิธีการคิดวันอยู่เรื่อยๆ เช่น ในปี ค.ศ.1936 องค์การสันนิบาติชาติได้เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินโลกใหม่ โดยแบบที่เสนอมามีกว่า 200 แบบ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนถึงทุกวันนี้ เราก็ยังใช้ 1 สัปดาห์ มี 7 วัน
Credit:
Dominic