ฤดูเปลี่ยน.. ดอกไม้ก็เปลี่ยน เที่ยวหน้าฝน ตื่นตา!ดอกไม้งามที่อ่างขาง

การที่จะให้นักท่องเที่ยวทุกคนตื่นตาตื่นใจกับความหลากหลายและความสวยงามของไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในสวนต่างๆในบริเวณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แต่ละฤดูนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ.. การคัดเลือกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่จะปลูกซึ่งในแต่ละสวนภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขางก็จะมีการจัดปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

1. สวน ๘๐ ซึ่งถือว่าเป็นสวนที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับประเภทปีเดียวที่จะปลูกในสวนนี้ต้องปลูกให้เป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสวน เช่น ลิ้นมังกร แพนซี่ ไวโอล่า เจอราเนียม แววมยุรา กะหล่ำประดับ บีโกเนีย ไอซ์แพลนท์ เทียนนิวกินี เป็นต้น


พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิดในสวน ๘๐

2. สวนหอม โดยส่วนใหญ่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับทั้งปีเดียว ข้ามปีและหลายปี ที่มีกลิ่น เช่น คาร์เนชั่น สวีทพี พริมูล่า ลาเวนเดอร์ หญ้าหอม กุ่ยช่ายประดับ พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ อย่างเช่น โรสแมรี่ เคอรี่แพลนท์ มิ้นท์ หอมหมื่นลี้ สายน้ำผึ้งและมะลิเนปาล เป็นต้น

3. สวนคำดอย โดยจะเน้นไม้ดอกไม้ประดับประเภทไม้พุ่มและหลายปี เช่น อะเซเลีย และดอกไม้จีน

4. สวนสมเด็จ ลักษณะเป็นสวนหินธรรมชาติซึ่งไม้ดอกไม้ประดับที่จะปลูกในสวนนี้ เช่นตระกูลป๊อปปี้ ลาร์คสเปอร์ ฟ็อกซ์โกลฟ ดอกกระดาษ คาเลนดูล่า คอร์นฟลาวเวอร์ อะมาแรนทัส เป็นต้น

5. ลานจอดเฮลิคอร์ปเตอร์ โดยจะปลูกเป็นแปลงแบบขั้นบันได เช่น ดอกแคลลิฟอร์เนียป๊อปปี้ คาร์โมมายด์ และลูพิน

6. แปลงสาธิต ลักษณะเป็นการปลูกเพื่อแสดงสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เช่น สร้อยไก่ เดเลีย ลิ้นมังกร ลาเวนเดอร์ เพนสทีม่อน เดลฟิเนียม เป็นต้น

7. เรือนไม้ดอก โดยจะจัดเป็นพื้นที่รวบรวมเพื่อแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับแต่ละชนิดภายในโรงเรือน เช่นกล้วยไม้รองเท้านารี ซิมบีเดียม เจอราเนียม ฟุคเซีย บีโกเนีย มังกรคาบแก้ว เป็นต้น


ซึ่งไม้ดอกไม้ประดับแต่ละชนิดจะถูกกำหนดให้ปลูกหมุนเวียนกันตามสวนต่างๆในช่วงของการวางแผนผลิตไม้ดอกไม้ประดับในแต่ละฤดู สำหรับพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับชนิดต่างๆที่ผ่านการ วางแผนผลิตโดยเริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ด การย้ายต้นกล้า การย้ายปลูกลงถุง การดูแลรักษาทั่วไปทั้งการให้น้ำ ให้ ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลง เมื่อพร้อมที่จะปลูกลงตามแปลง ต่างๆภายในสวน โดยการเตรียมแปลงปลูกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ซึ่งมีขั้นตอนการจัดเตรียมแปลงปลูกดังนี้ 

1. การรื้อถอนพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเดิมออกให้หมดโดยจะนำเอาไปทำปุ๋ยหมักเพื่อจะกลับนำมาใช้ในช่วงการผลิตในปีถัดไป 

2. ทำการกำจัดวัชพืชภายในแปลงดังกล่าว 

3. ทำการขุดและพรวนแปลงโดยจะต้องทำการใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน และวัสดุปรับปรุงโครงสร้างดินเช่น แกลบหมัก หรือปุ๋ยหมัก 

เมื่อเตรียมแปลงเสร็จก็นำพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่ได้กำหนดแปลงปลูกและพร้อมออกดอกมาปลูกโดยมีการนับจำนวนต้นที่ใช้ในการปลูกแต่ละแปลงเพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้ในการผลิตในฤดู กาลถัดไป หลังจากปลูกไปแล้วประมาณทุก 7-10 วัน ต้องทำการให้ปุ๋ย สูตร 46-0-0หรือ15-15-15 หลังจากนั้น 1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร AB ทุกสัปดาห์ 

นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการดูแลเรื่องกำจัดวัชพืช การตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคหรือดอกที่เหี่ยวทิ้งและการป้องกันกำจัดโรคและแมลงโดยส่วนใหญ่จะใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของคน งานตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม นอกจากจะดูแลดอกให้สวยงามตลอดแล้วการดูแลรักษาสนามหญ้า การตัดแต่งไม้พุ่มชนิดต่างๆภายในสวนก็ต้องให้ความสำคัญอีกด้วย 

อีกทั้งยังต้องมีวางแผนผลิตไม้ดอกไม้ประดับชุดสำรองไว้อีกด้วยหากเกิดเหตุการณ์เหนือความคาดหมายทั้งฝนตกหนัก ขาดแคลนน้ำ หรือหนาวเย็นจัดจนเกิดเป็นน้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไม้ดอกไม้ประดับได้รับความเสียหายหรือตายได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ 

ทุกขั้นตอนเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดและการเอาใจใส่ทุกขั้นตอนเพื่อให้สถานีเกษตรหลวงอ่างขางสวยงามตลอดทั้งปีอีกทั้งนักท่องเที่ยวที่มายี่ยมชมเกิดความประทับใจเมื่อมาเยือน… แดนมหัศจรรย์..แห่งนี้ 



Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/53729.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...