พ่อหลวงปิยมหาราช ตอนเลิกทาส

 

 

 

 

 

 

แต่เดิมในเมืองสยาม   มีทาสอยู่ ๗ ชนิด คือ

๑. ทาสสินไถ่

๒. ทานในเรือนเบี้ย

๓. ทาสได้มาแต่บิดามารดา

๔. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ

๖.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย (เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตาย ข้าวยากหมากแพง)

๗. ทาสเชลยศึก


       ด้วยน้ำพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการมีทาสอยู่จะล้าสมัย และเป็นการส่งเสริมให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง จึงทรงมีพระประสงค์เลิกทาสให้เป็นไท   แต่ทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดสงครามกลางเมืองจากการเลิกทาส พระองค์จึงเห็นสมควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ

          ๑. ให้กำหนดลดราคาค่าตัวทาสที่มีอยู่แล้วลงทีละน้อยจนเจ้าตัวทาสสามารถไถ่ถอนได้


       ๒. ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ร.ศ.๙๓ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ ให้คิดค่าเกษียณอายุลดค่าตัวลงทุกๆ เดือนไป จนอายุครบ ๘ ปี ก็ให้ถือว่าค่าตัวเต็มคา จากนั้นให้เริ่มเกษียณอายุลงไปทุกปี จนอายุ ๒๑ ปีเป็นขาดค่าตัว ถือว่าเป็นไท เมื่อเป็นอิสระแล้วห้ามการเป็นทาสอีก โดยทรงระบุโทษผู้ซื้อและผู้ขายไว้ด้วย

                 ๓. ราษฎรที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นต้นไปห้ามซื้อขายเป็นทาส หากเข้าอาศัยในบ้านเรือนหรือสถานที่ใดให้มีฐานะเป็นลูกจ้างเท่านั้น


       ๔. เมื่อมีพระชนมพรรษาครบ ๒ รอบ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ช่วยทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ ๒๕ ปี รวมทั้งลูกหลานของทาสนั้น มีทาสเป็นไทได้ถึง ๔๔ คนอีกทั้งพระราชทานที่ทำกินให้ด้วย


       ๕. โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.๑๑๙ ให้ลดค่าตัวทาสเชลยทั้งปวงในเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ ๖๐ ปีก็ให้เป็นไท       ส่วนทาสสินไถ่   ถ้าอายุครบ ๖๐ ปีหาเงินมาไถ่ตัวไม่ได้ ก็ให้เป็นไทเช่นกัน


       ๖. โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ ๔ บาท จนกว่าจะหมด และห้ามซื้อทาสอีก


       ๗. โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทานร.ศ. ๑๒๔ ให้ทุกมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ยกเว้นไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู กำหนดให้นายเงินปล่อยลูกทาสของตนทุกคนให้เป็นอิสระตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.  ๒๔๔๘

           ส่วนทาสอื่นๆที่ มิใช่ลูกทาสให้นายเงินลดค่าตัวให้กับทาสที่ยังไม่หลุดพ้นค่าตัวลงเดือนละ ๔ บาท และห้ามนำคนไปเป็นทาสอีก และถ้าทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ห้ามทำกรมธรรม์ขึ้นค่าตัวสูงกว่าเงินค่าตัวเก่า


       ๘. และในปีพ.ศ. ๒๔๕๒ จึงโปรดเกล้าฯให้ตราประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ กำหนดว่าผู้ใดจะเอาคนเป็นทาส นอกจากที่ได้รับการยกเว้น อีกไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องจำคุกตั้งแต่ ๑-๗ ปี ปรับตั้งแต่ ๑๐๐-๑๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นการปลดปล่อยทาสอย่างเด็ดขาด



                 ในระหว่างที่ทรงดำเนินการปลดปล่อยทาสอยู่นั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาตามแบบใหม่ควบคู่กันไป เพื่อส่งเสริมความรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้

       ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมี เพียงระยะเวลา ๓๕ ปี  ก็สามารถทำให้ทาสหมดไปจากเมืองไทย

 

Credit: http://women.postjung.com/687045.html
25 มิ.ย. 56 เวลา 17:04 3,479 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...