ทัวร์นรก ตกสวรรค์ สัจธรรมบนพื้นดิน ณ วัดป่าหลักร้อย

 

 

 

 

 

หลายครั้ง ที่เรามักจะตั้งคำถามกับตัวเอง ในยามที่เหนื่อยล้าจากสังคมที่วุ่นวาย ว่าทำไมมนุษย์เราสมัยนี้ ถึงไม่เกรงกลัวในการทำชั่ว ไม่ละอายแก่ใจตัวที่จะทำบาป หนำซ้ำจิตใจยังหยาบช้า และเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นทุกวัน จะเป็นเพราะว่า ชาวไทยเราสมัยนี้ห่างไกลวัดมากกว่าสมัยก่อนคงไม่น่าใช่ เพราะจำนวนคนเข้าวัดนั้นไม่ได้ลดลง แต่จุดประสงค์นั้นเปลี่ยนไปจากการฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม เจริญสติและถือศีลภาวนา ไปเป็นพุทธพาณิชย์ซื้อขายศรัทธาแลกกับความเชื่อและความงมงาย

เป็นเรื่องจริงที่น่าใจหาย ซึ่งเราคงอวดอ้างไม่ได้ว่าเราเป็นเมืองพุทธ ในเมื่อเรายังคงยึดติดแต่สิ่งสมมติและเป็นเพียงผู้นับถือศาสนาพุทธตามบัตร ประชาชน

เมื่อคนรุ่นใหม่ห่างไกลจากหลักคำสอนทางศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ หนทางที่จะใช้พระธรรมเทศนาอันเป็นนามธรรมอาจเข้าไม่ถึงจิตใจที่ไร้การขัด เกลาได้เท่าที่ควร วิธีสมมติด้วยการสร้างสัญลักษณ์แห่งบุญและบาปผ่านจินตนาการออกมาเป็นรูปธรรม ให้จับต้องและมองเห็นได้และเข้าใจง่าย จึงเป็นไอเดียในการสอนเรื่องบาปบุญคุณโทษและคติธรรมให้คนรุ่นใหม่ได้ซึมซับ และรับเอาแง่คิดไปประดับสมอง

อาจมากบ้างหรือน้อยบ้าง ก็คงแล้วแต่ความตื้นลึกหนาบางของจิตสำนึกและสติปัญญาของแต่ละคนนั่นเอง ที่วัดป่าหลักร้อย อ.โนนไท จ.นครราชสีมา เขามีการจัดจำลองนรก-สวรรค์ ไว้ใน “อุทยานการศึกษา วัดป่าหลักร้อย” ผ่านการสร้างผลงานศิลปะประดับประดาเรียงรายรอบพื้นที่บริเวณวัด เรียกว่าอบอวลด้วยคติธรรมให้กำซาบสำหรับทุกเพศทุกวัย คอนเซปท์ทั่วไปคือ การสะท้อนให้เห็นผลกรรมของการทำความดีและความชั่วเคียงคู่ กันไป ผ่านลักษณะของตัวหุ่นที่ล้วนเวียนว่ายตายเกิด ทั้งยังมีที่มาของแนวคิดการจัดทำที่น่าสนใจ เพราะเป็นไอเดียจากการร่วมใจของชาวบ้านต.หลักร้อย ซึ่งแต่เดิมหวังจะทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการทำบุญระหว่างทางวัดและ ญาติโยมที่ในระยะหลังมักจะเน้นทำบุญแบบ “ทุ่มเท” จนมากเกินไป จนชาวบ้านไม่อยากให้วัดป่าที่เคยสงบร่มเย็นกลายเป็นแหล่งหากินจนเกินงาม

วัดป่าหลัก ร้อยเริ่มต้นจากการเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี 2520 ซึ่งถือเป็นวัดแห่งแรกของบ้านหลักร้อย กระทั่งต่อมาได้รับการอนุญาตให้เป็นวัดในปี 2527 ท่านเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงเห็นพ้องกับชาวบ้านว่า เมื่อเป็นวัดก็ควรจะเป็นแหล่งศึกษาธรรมและอบรมชาวบ้าน จึงมีการไหว้วานให้ชาวบ้านในหมู่บ้านมาช่วยกันก่อสร้างรูปปั้นเปรตเพื่อสอน เกี่ยวกับผลจากการทำบาป โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนภาพให้เห็นว่า การทำบาปได้รับผลตอบแทนอย่างไร เมื่อมีเปรต ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวตามมาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลนั้นจะคึกคักเป็นพิเศษ

แต่ก็คงเป็นเหมือนสัจธรรม เมื่อมีผู้คนหลั่งไหล ก็มีความมั่งคั่งจากเม็ดเงินสะพัดไม่ขาดสาย และดูเหมือนในช่วงนั้น ทางวัดและชาวบ้านที่ตั้งใจจะทำเปรตขึ้นมาโปรโมทเพียงเพื่อให้การศึกษา ก็ยังไม่อาจต้านกระแสทุนทะลักจนวูบกันไปพักใหญ่

ปัจจุบัน อุทยานการศึกษา วัดป่าหลักร้อย มีจำนวนเปรตน้อยใหญ่ทั้งหญิงและชายเรียงรายอยู่รอบ ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้า ยาวไปจนสุดพื้นที่ แขกคนสำคัญของวัดนี้นอกจากบรรดาญาติโยมหลักพันขึ้นในแต่ละวัน ก็คือคณะนักเรียนที่มาทัศนาจร กลุ่มหลังนี้ถือว่าเป็นกุศโลบาย เพราะเด็กๆ นั้นยังขัดเกลาง่าย หากมอบปัญญาและจริยธรรมในทางที่สร้างสรรค์ให้ ก็จะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดคือการทำดีซึ่งควรทำจาก “แดนสวรรค์” ที่มีหุ่นสวยงามน่าเลื่อมใสตั้งอยู่โดยรอบ และสิ่งใดคือการประพฤติชั่วซึ่งไม่ควรทำใน “แดนนรก” ที่รายล้อมไปด้วยฝูงเปรตรอบตัวกำลังทนทุกข์จากการถูกทรมานตามผลกรรมที่เคยทำ ไว้ในอดีต

อย่างไรก็ตาม แม้จะทำรายได้ดีแต่ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงวัดหรือชาวบ้านหลักร้อย ยังมองว่า ทุกวันนี้การดำเนินการให้ความรู้เรื่องนี้ยังขาดระเบียบ แม้จะสร้างรายได้ให้กับวัดและทำให้ชาวบ้านมีรายได้ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา จึงต้องการให้มีการแก้ปัญหาก่อนที่จะสายเกินไป เช่น เจ้าของร้านขายของชำหน้าวัดป่าหลักร้อย เปิดเผยว่า แม้วัดจะมีรายได้มาจากการจัดสร้างรูปปั้นเปรตและนรกขึ้นมา แต่ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า เป็นการสร้างที่มุ่งรายได้มากกว่าการสั่งสอน เพราะแม้ตัวเองจะเชื่อบ้าง แต่ก็เชื่อเพราะทำให้เกิดการศึกษาเกี่ยวกับศาสนา แต่ยังไม่เห็นว่า การทำบาปจะเป็นไปตามที่รูปปั้นสั่งสอนหรือไม่ เจ้าของร้านขายของชำรายนี้ บอกว่า สิ่งที่ต้องการให้วัดหรือผู้เกี่ยวข้องปรับปรุงคือ การจัดระบบให้เป็นสัดเป็นส่วนที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและได้ศึกษาที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะปัจจุบันวัดมีกล่องใส่เงินรอรับเงินบริจาคจากผู้ใจบุญอยู่ตรงหน้ารูป ปั้น มากกว่ามุ่งให้เกิดการศึกษาที่ชัดเจน

เช่น ข้อสังเกตหนึ่งของผู้ที่แสดงความเป็นห่วง นั่นคือ เวลานักท่องเที่ยวหยอดเงินลงในกล่อง ตัวหุ่นจะขยับได้ ทำให้เกิดความสนุกมากกว่าการศึกษา คนที่หยอดเหรียญส่วนใหญ่เห็นรูปเปรตตัวไหนชอบใจก็จะหยอดเฉพาะตัวนั้น ซึ่งวิธีการนี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เยอะจริง และสร้างรายได้ให้ทางวัดเป็นเม็ดเงินมหาศาล แต่ไม่น่าจะเป็นหัวใจหลักของสถานที่แบบนี้

วัดป่าหลักร้อย ตั้งอยู่ที่บ้านหลักร้อย ตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนนครราชสีมา-โนนไทย-ชัยภูมิ (ทางหลวงหมาย เลย 205 ไปชัยภูมิ) จากแยกจอหอ (ทางหลวงหมายเลข 205 และ A 2) ใช้ระยะทางประมาณ 17.5 กิโลเมตร ก่อนถึงวัดจะมีป้ายทางด้านซ้ายมือขนาดใหญ่พอประมาณเขียนว่า “วัดป่าหลักร้อย” สังเกตง่ายและมั่นใจว่ามาถึงแล้ว ให้เลี้ยวซ้ายตามป้ายนั้นไปตามถนนเข้าหมู่บ้าน ประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะเห็นประตูทางเข้าวัด และจุดพักรถโดยสารนำเที่ยวนับสิบคันที่เป็นภาพชินตาของวัดแห่งนี้ทุกวัน

หากมีเวลากับครอบครัว ห็ลองใช้เวลาศึกษาหาสัจธรรมแห่งบาปและบุญที่อุทยานแห่งนี้ดู เพราะบางครั้งเราอาจจะตกผลึกและมีสำนึกเกิดขึ้นในจิตใจ โดยไม่จำเป็นต้องให้ “เปรต” ที่เรียงรายภายในวัดคอยเตือนสติเราก็ได้ จากสิ่งที่เห็นและเป็นไปโดยรอบในวัดหลักร้อยนี้

 

Credit: http://travel.mthai.com/blog/61837.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...