1.ข้าวต้มกุ๊ยแรกเริ่มเรียกกันว่า ข้าวต้มพุ้ย โดยเรียกจากอากัปกริยา เวลาคนจีนกิน มักจะนั่งยองๆ แล้วใช้ตะเกียบพลุ้ยข้าวเข้าปาก
คำว่า ข้าวต้มกุ๊ย จริงๆแล้วคนไทยเรียกเพี้ยนมาจากข้าวต้มพุ้ย
คำว่า "พุ้ย" เป็นคำแต้จิ๋ว คือลักษณะการเอาตะเกียบเขี่ยข้าวเข้าปาก
ส่วนคำว่า "กุ๊ย" แปลว่า ผี หรือใช้เรียกเด็กวานซืนจอมแสบ
คนไทยไปได้ยินคนจีนพูดแล้วเอามาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไป
2."จับกัง" ผู้ใช้แรงงาน รับจ้างแบกหาม ยกของ แต่เดิมเรียกว่า "กุ๊ย" ด้วยรายได้ไม่มาก จึงทานอาหารง่ายๆ ราคาถูก เช่น ไข่เค็มหนึ่งซีก กับข้าวต้มเต็มถ้วยก็อิ่มท้อง และราคาเบา (ไม่กี่สตางค์ / เมื่อราว 50 ปีก่อน)
3.ในช่วงก่อสร้างถนนแถวราชดำเนิน และถนนเลียบคลองหลอด มีการเกณฑ์แรงงานคนจีนที่เข้ามาเมืองไทย และทำงานโดยใช้แรงงานมารับจ้าง หัวหน้าที่คุมงานแสนแล้งน้ำใจ นำค่าจ้างที่ได้จากการรับเหมามาจัดสรรเลี้ยงข้าว กุ๊ย ด้วยข้าวต้ม ส่วนกับมักจะผัดก้อนกรวดกับเกลือให้คนงานได้อมเพื่อแกล้มกับข้าว นานๆ ครั้งจึงจะมีผัดผักกาดดองบ้าง หรือเต้าหู้ยี้ ให้กินแกล้ม เป็นเช่นนี้จนกระทั่งงานก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ
นับแต่นั้น จึงเรียกข้าวต้มขาวๆ ในน้ำใสบ้าง ข้นบ้าง นี้ว่า "ข้าวต้มกุ๊ย"
และต่อมา ได้มีการพัฒนาเรื่องกับข้าวที่ทานคู่กัน พร้อมความนิยมที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนจีนก็นิยมกิน...บ้างก็ยกชั้นเมนูนี้ถึงระดับอาหารเหลา ดังที่เราพบในปัจจุบัน
ข้าวต้มกุ๊ย...กินคล่องคอ....กินแล้วเรียกเหงื่อ..
ที่บ้านจะชอบทานกันไม่ว่าจะเป็นมื้อเช้า มื้อเย็น ทานอะไรที่เบา ๆ ย่อยง่าย แต่ทานได้เยอะ
ข้าวต้มกุ๊ย ทานกับเครื่องได้หลากหลายอย่าง แล้วแต่จะชอบ แต่ละครั้งจะเปลี่ยนตามวัตถุดิบที่มีอยู่
ยำไข่เค็ม ยำไข่ดาว ยำกุ้งแห้ง ยำปลาสลิด ยำเกี้ยมฉ่าย ไข่เยี่ยวม้ากระเพรากรอบ ผัดหอยลาย ไข่ไช้โป้ว หมูกรอบ ผัดปวยเล้ง (ผักโขม) ปลาผัดขิงคึ่นช่าย คะน้าหมูกรอบ ไข่เจียวกระเทียมดอง, ไข่เจียวหอมหัวใหญ่ ไข่เจียวมะระ ผัดกุยช่ายขาวหมูกรอบ ผัดถั่วงอกกับเต้าหู้อ่อน ผักบุ้งไฟแดง มะเขือยาวผัดเต้าเจี้ยว ผัดใบปอ หมูสับผัดหนำเลี๊ยบ ไส้พะโล้ กุ้งหวาน ปลาหมึกแห้งทอด ปลาสลิดทอด ปลาข้าวสารทอด หมูหยอง หมูสามชั้นทอด ผัดผักกระเฉดไฟแดง ปลาอินทรีย์ทอด หมูสับผัดหน่ำเลี๋ยบ ถั่วลิสงคั่วเกลือ ฯลฯ
ใครชอบกับข้าวต้มไหนก็ช่วยแนะนำด้วยนะ