ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2442
ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์
ที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5
ประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีน
ได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม
โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา
ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน
ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย
พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว
ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่น
ใน "แผ่นดงรัก" ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน
ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา
โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วง
ความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี
ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5
อันได้แก่ ลาว และกัมพูชา
ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของไทยมาก่อนคืนจากฝรั่งเศส
ทำให้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน
เป็นการรบกันระหว่างประเทศไทยกับรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส
ในช่วง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484
ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย
4 จังหวัด คือ
จังหวัดพิบูลสงคราม ... คือ เสียมราฐ ...
จังหวัดพระตะบอง จังหวัดนครจัมปาศักดิ์
และจังหวัดลานช้าง ... คือดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง
อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ก็คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามที่เดียนเบียนฟู
ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน
ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา
ไทยจึงได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
เข้าใจว่าเป็นงูแม่ตะงาว
Read more:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=09-06-2013&group=44&gblog=117#ixzz2Wube2pkP