กรุงเทพฯ เสี่ยงจมบาดาลใน 17 ปี

ธนาคารโลกคาด กรุงเทพมหานคร จะจมน้ำภายในปี 2573 จากผลกระทบระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน 
 
 
ธนาคารโลก ออกรายงานเมื่อวันพุธที่ 19 มิถุนายน ระบุว่า กรุงเทพมหานคร จาการ์ตา และโฮจิมินห์ซิตี ถือเป็น "จุดเสี่ยง" ที่จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยยืนยันว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเสี่ยงที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้
 
  
@ภาพการกัดเซาะบริเวณบางขุนเทียน
 
รายงานฉบับนี้ระบุว่า กรุงเทพฯจะจมอยู่ใต้น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างภายในปี ค.ศ. 2030 ขณะที่ระบบควบคุมน้ำท่วมของนครโฮจิมินห์ ที่เพิ่งสร้างเมื่อทศวรรษก่อน ก็ไม่เพียงพอรับมือน้ำท่วมแล้ว ไม่สามารถป้องกันน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะป้องกันน้ำท่วมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โฮจิมินห์จำเป็นต้องใช้งบประมาณราว 61,500 ล้านบาทยกเครื่องระบบป้องกันน้ำทะเลหนุนใหม่ทั้งหมด 
 
 
ความเสี่ยงน้ำท่วมที่ว่านี้ เกิดจากภาวะโลกร้อนที่ดูจะรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ รายงานของธนาคารโลกเมื่อปีที่แล้วได้คาดการณ์ว่า โลกในศตวรรษหน้าจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียล ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและอาหารในพื้นที่บางส่วนของโลก ทำให้ผู้คนหลายล้านต้องอพยพหนีภัยสภาพแวดล้อม แต่ก่อนจะถึงศตวรรษหน้า ภาวะโลกร้อนจะทำให้ระดับน้ำทะเลท่วมสูง โดยคาดว่าภายในปี  2573 ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 6 นิ้ว และเพิ่มเป็น 1 ฟุตในทศวรรษถัดไป ทำให้หลายๆเมืองชายฝั่งทะเลที่เป็นพื้นที่ต่ำ เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมหนัก
 
 
นอกจากนี้ น้ำทะเลที่อุ่นขึ้นก็จะส่งผลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการประมง เพราะกระแสน้ำจะแปรปรวน ปลาจะอพยพย้ายถิ่นโดยไม่เป็นฤดูกาลเหมือนแต่ก่อน ขณะที่ภาวะน้ำเค็มหนุนเข้าไปในแม่น้ำ เนื่องจากระดับน้ำที่สูงขึ้น ก็จะส่งผลต่อการเกษตรในเมืองชายฝั่งทะเลอย่างแน่นอน 
 
 
การที่ธนาคารโลกต้องวิจัยและให้ความสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน โดยธนาคารโลกมีแผนจะให้เงินกู้เพื่อสร้างสาธารณูปโภค และปรับปรุงเมืองต่างๆ เพื่อให้รับมือภัยสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น เช่น วางโครงข่ายกำแพงกั้นน้ำทะเล, เตรียมพื้นที่รองรับน้ำที่หลากลงจากภูเขาหลังฝนตกหนัก, เคลื่อนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกจากชั้นใต้ดิน รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อป้องกันสถานที่สำคัญ 
 
 
ทุกวันนี้ ไม่เพียงแต่ธนาคารโลกเท่านั้น แต่ธนาคารเพื่อการพัฒนาหลายแห่งทั่วโลก ได้เพิ่มเงินสนับสนุนแก่ประเทศยากจนในการสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จาก 10,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2554 เป็น 25,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2555 และคาดว่าเงินก้อนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอนาคต
ที่มา: 
Chat Room 
voicetv
Credit: http://board.postjung.com/685855.html
20 มิ.ย. 56 เวลา 13:38 1,950 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...